วันพฤหัสบดี, กุมภาพันธ์ 13, 2025
หน้าแรกHighlightมติรัฐสภา275เสียงไม่เลื่อนญัตติส่งศาล เดินหน้าถกแก้ม.256-“พท.-ปชป.”หนุน!!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

มติรัฐสภา275เสียงไม่เลื่อนญัตติส่งศาล เดินหน้าถกแก้ม.256-“พท.-ปชป.”หนุน!!

เกมพลิก!! มติรัฐสภา 275 เสียง ไม่เลื่อนญัตติส่งศาลรธน. เดินหน้าถกแก้รธน.256 ด้าน “พท.-ปชป.” โดดหนุนญัตติ อ้างป้องกันแก้รธน.เสียของ

เมื่อวันที่ 13 ก.พ.68 ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยมีวาระสำคัญ เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พ.ศ…. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1) ต่อมาเวลา 10.15 น.ได้กลับมาพิจารณาอีกครั้งหลังจากที่พักการประชุมเพื่อให้สมาชิกรัฐสภา ได้ศึกษาญัตติของ นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว. ที่เสนอให้รัฐสภามีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา แจ้งต่อที่ประชุมถึงขั้นตอนว่า ที่ประชุมต้องพิจารณาและลงมติว่าจะเลื่อนญัตติด่วนดังกล่าวซึ่งบรรจุในลำดับที่ 3 ขึ้นมาพิจารณาก่อนญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากเลื่อนและพิจารณาแล้วต้องลงมติว่าจะส่งหรือไม่ โดยหากมีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญต้องหยุดการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับออกไปจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

ทั้งนี้ นพ.เปรมศักดิ์ เสนอญัตติตอนหนึ่งว่า ญัตติดังกล่าว เสนอโดยสส. และสว. รวม 60 คน โดยเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 นั้นขัดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 4/2564 อีกทั้งมองว่า ประธานรัฐสภาไม่สามารถบรรจุเข้าสู่วาระได้ จึงเกิดปัญหาว่า รัฐสภามีอำนาจพิจารณาและลงมติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย 4/2564 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีผลยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2560 แก้ไขหลักการสำคัญที่ผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญปกป้อง หากรัฐสภาจะต้องจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องให้ประชาชนออกเสียงประชามติก่อนว่าสมควรมีรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ หากประชามติเห็นชอบจึงจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเมื่อทำรัฐธรรมนูญใหม่แล้วเสร็จต้องทำประชามติว่าจะเห็นชอบหรือไม่อีกครั้ง

“จากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญต้องทำประชามติ 3 ครั้ง ก่อนการเสนอรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภา หลังจากที่รัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติม และหลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดำเนินการแล้วเสร็จ การที่ประธานรัฐสภาบรรจุก่อนการออกเสียงประชามติ ไม่สอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้รัฐสภาไม่มีอำนาจพิจารณา ขณะที่ผู้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมองว่าทำได้ จึงถือเป็นความขัดแย้งต่ออำนาจและหน้าที่ จึงขอส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่ารัฐสภาสามารถพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ก่อนมีการทำประชามติหรือไม่” นพ.เปรมศักดิ์ อภิปราย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภานั้นพบว่า มีการแบ่งความเห็นเป็น 2 ฝ่าย โดยนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒนสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน อภิปรายว่า พรรคประชาชนไม่เห็นด้วยกับการเสนอญัตติของนพ.เปรมศักดิ์ เพราะการบรรจุวาระแก้รัฐธรรมนูญเป็นอำนาจโดยแท้ของประธานรัฐสภา นอกจากนั้นแล้วสมาชิกรัฐสภายังมีหน้าที่โดยแท้ต่อการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

“ผมมองว่าเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อยืนยันในอำนาจของสมาชิกรัฐสภา ไม่ใช่ยื่นเรื่องถามศาลรัฐธรรมนูญ ที่เชื่อว่าเป็นการขัดต่อการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายยตุลการ ทั้งนี้หากสมาชิกรัฐสภาไม่กล้าทำหน้าที่ของตนเอง ไม่ต้องเสนอตัวเป็นตัวแทนของประชาชน” นายปกรณ์วุฒิ อภิปราย

ขณะที่ นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ตนสนับสนุนญัตติของนพ.เปรมศักดิ์ แต่ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของญัตติดังกล่าว เพราะประธานรัฐสภามีอำนาจบรรจุวาระประชุม ในการส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเห็นชอบกับการทำหน้าที่ก็ดีไป ทั้งนี้ สส. ฝ่ายค้านหรือรัฐบาล รวมถึงสว. ไม่มีอำนาจชี้ว่า ชอบหรือไม่ เมื่อมีปัญหาต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ หากจะเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญอาจจะมีปัญหาหรือสุญญากาศ ดังนั้นตนเห็นชอบต่อการเลื่อนญัตติดังกล่าว

ส่วนนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายสนับสนุนการเลื่อนญัตติที่เสนอโดย นพ.เปรมศักดิ์ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในประเด็นที่เป็นปัญหา โดยไม่ทำให้การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียของ และซ้ำรอยเหตุการณ์คว่ำร่างรัฐธรรมนูญเหมือนปี2564

จากนั้นเวลา 11.13 น.ได้ลงมติว่าจะเลื่อนญัตติของนพ.เปรมศักดิ์ ขึ้นมาพิจารณาก่อนหรือไม่ หรือเป็นไปตามข้อบังคับ ด้วยคะแนน ปรากฏว่า ที่ประชุมเห็นด้วย 247 ต่อ 275 งดออกเสียง 4 ทำให้ที่ประชุมไม่เห็นด้วยกับการเลื่อนญัตติของนพ.เปรมศักดิ์ที่จะขอมติส่งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาพิจารณา แต่ญัตติก็ยังอยู่เหมือนเดิม ถ้าพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก็พิจารณาวาระของนพ.เปรมศักดิ์ ต่อ

จากนั้นนายพิสิษฐ์ อภิวัฒนานนท์ สว. ลุกขึ้นกล่าวว่า ขอวอร์คเอ้าท์ออกจากห้องประชุมทันที

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img