วันพฤหัสบดี, เมษายน 3, 2025
หน้าแรกHighlight‘สว.อังคณา’ชงญัตติถก‘ป่วยทิพย์ ชั้น 14’ ชี้‘ผู้ต้องขัง’ต้องได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘สว.อังคณา’ชงญัตติถก‘ป่วยทิพย์ ชั้น 14’ ชี้‘ผู้ต้องขัง’ต้องได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียม


เดือดแน่จับตา! 18 ก.พ.นี้ประชุมวุฒิสภา “สว.อังคณา” ชงญัตติถก ป่วยทิพย์ ชั้น 14 ลั่นสิทธิ “ผู้ต้องขัง”ต้องได้รับการรักษาอย่างเท่าเทียม

เมื่อวันที่ 17 ก.พ.68 ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ในวันที่ 18 ก.พ.นี้ ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 16 (สมัยสามัญประจำปี ครั้งที่สอง) เวลา 09.30น. มีวาระที่น่าสนใจ เป็นเรื่องที่เสนอใหม่ ลำดับที่6.2 ญัตติ เรื่อ ขอให้วุฒิสภาพิจารณาหาแนวทางปฏิบัติในการให้สิทธิแก่ผู้ต้องขังที่จะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกัน โดยนางอังคณา นีละไพจิตร สว. เป็นผู้เสนอ โดยมี สว.ผู้รับรองญัตติ 4 คน ได้แก่ นาวาตรี วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ นายธนกร ถาวรชินโชติ นายโชติชัย บัวดิษ นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย นายเดชา นุตาลัย

โดย นางอังคณา ระบุในเอกสารญัตติ ว่า ตามที่ปรากฏในสื่อทั่วไปว่า เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครได้มีการนำตัวผู้ต้องขังคนสำคัญส่งไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลตำรวจ เนื่องจากแพทย์มีความเห็นว่าผู้ต้องขังดังกล่าวป่วยเป็นโรคหัวใจ ซึ่งต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อชีวิตอีกทั้งต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที แต่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ยังขาดเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีศักยภาพโดยโรงพยาบาลตำรวจได้รับตัวผู้ต้องขังคนสำคัญดังกล่าวไว้เพื่อทำการรักษา ซึ่งกรมราชทัณฑ์รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องได้ชี้แจงต่อสังคมว่าการส่งตัวผู้ต้องขังคนสำคัญไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจนั้น เป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามกระบวนการขั้นตอนของกฎหมายแล้ว

อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็ยังมีข้อกังขาว่า ผู้ต้องขังคนสำคัญนี้ป่วยจริงหรือไม่ หรือป่วยเป็นโรคอะไร มีการผ่าตัดหรือไม่ และโรงพยาบาลดำเนินการรักษาอย่างไร จึงต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจเป็นเวลานาน รวมถึงได้นอนพักรักษาที่ ชั้น 14 ซึ่งเป็นหอผู้ป่วยระดับสูงของโรงพยาบาลตำรวจจริงหรือไม่ และไม่เปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้สังคมเกิดความสงสัยเพิ่มมากขึ้น
นางอังคณา ระบุ ต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่เห็นว่า โทษจำคุกเป็นการกันผู้กระทำความผิดออกจากสังคมชั่วคราวเพื่อให้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และปรับพฤติกรรมให้สามารถกลับมาอยู่ร่วมในสังคมได้ และเมื่อเป็นนักโทษจากการกระทำความผิดย่อมต้องถูกตัดสิทธิและเสรีภาพหลายประการ ไม่สามารถใช้ใด้อย่างเต็มที่เหมือนคนทั่วไป แต่ผู้ต้องขังคนสำคัญดังกล่าวกลับได้รับสิทธิในการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่พิเศษกว่าผู้ต้องขังคนอื่น ๆ ที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม จึงสมควรที่วุฒิสภาจะได้มีการอภิปรายระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางปฏิบัติในการให้สิทธิแก่ผู้ต้องขังที่จะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมกันและเสนอไปยังรัฐบาลเพื่อพิจารณาดำเนินการ

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าจึงขอเสนอญัตติตามนัยแห่งข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.2562 ข้อ 35 เพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภาได้พิจารณาญัตติดังกล่าว และมีมติส่งข้อสังเกตหรือข้อเสนอแนะไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

สำหรับเหตุผลและรายละเอียดเพิ่มเติม จะชี้แจงในที่ประชุมวุฒิสภาต่อไป.

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img