วันเสาร์, เมษายน 12, 2025
หน้าแรกHighlight‘กมธ.สธ.’รุมสับ‘สปส.’ใช้งบฯต่อหัวสูงกว่า แต่มีสิทธิประโยชน์รักษาต่ำกว่า‘บัตรทอง’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘กมธ.สธ.’รุมสับ‘สปส.’ใช้งบฯต่อหัวสูงกว่า แต่มีสิทธิประโยชน์รักษาต่ำกว่า‘บัตรทอง’

“กมธ.สาธารณสุข สภาฯ รุมสับประกันสังคม “เฉลิมชัย” ลั่น งบฯมากกว่า-รายจ่ายต่อหัวสูงกว่า 500 บาท แต่สิทธิประโยชน์ต่ำกว่าบัตรทองอย่างมีนัยยะสำคัญ จี้โอนให้สปสช.ดูแลระบบประกันสุขภาพทั้งหมด ด้าน “หมิว สิริลภัส” บี้ ขอเอกสารบันทึกประชุมเหตุผลขยายกำหนดกรอบสิทธิรักษา ย้อนหลัง 23 ปี  ขณะสปส. แจงสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่า ยืนยันเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาพยาบาลใกล้เคียงได้โดยไม่ต้องวางเงินสำรอง  พร้อมยืนยันพยายามเพิ่มสิทธิให้ทุกปี

วันที่ 6 ก.พ.2568 เวลา 09.30 น.ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการสาธารณสุข โดยนพ.ทศพร เสรีรักษ์ สส.แพร่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การสาธารณสุข ได้พิจารณาศึกษาสิทธิประโยชน์ดด้านการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตน ซึ่งได้เชิญผู้แทนจากด้วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานประกันสังคม(สปส.) สำหนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และตัวแทนจากภาคประชาสังคม โดยกรรมาธิการส่วนใหญ่ตั้งคำถามถึงสิทธิการรักษาของผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิน้อยกว่าสิทธิบัตร ทั้งที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายเข้ากองทุนเอง ในขณะที่บัตรทองใช้งบประมาณของรัฐที่มาจากภาษีของประชาชน

 โดยนางวราภรณ์ สุวรรณเวลา รองเลขาธิการสปสช. ชี้แจงว่า ทั้ง 2 สำนักงานถือกฎหมายคนละฉบับ แต่สิทธิการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีเพียงรายละเอียดปีกย่อยที่ต่างกัน อาทิ การรักษาโรคมะเร็งที่ผู้ประกันตนจะสามารถใช้สิทธิได้แค่โรงพยาบาลคู่สัญญาเท่านั้น ซึ่งการรักษาพยาบาลบางอย่างสปส. ยังต้องจ่ายเพิ่มให้ด้วย และหน่วยงานจะดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก ซึ่งงบประมาณจะเป็นเงินจากภาษี 100% พร้อมยืนยันว่าขณะนี้ได้เพิ่มสิทธิต่างๆเข้ามาให้สอดคล้องกับปัจจุบันแล้ว เพื่อให้แก่ผู้ประกันตนเข้าถึงการรักษา จึงได้เพิ่มหลายๆโรคเข้ามาในสิทธิประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง นิ่วในไต หรือโรคมะเร็ง

ทั้งนี้น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์ กรรมาธิการฯ ตั้งคำถามถึงวงเงินค่ารักษาฟัน 900 บาท/ปี รวมถึงการรักษาฉุกเฉินผู้ประกันตนต้องสำรองจ่ายก่อน 1 หมื่นบาทจริงหรือไม่ และการรักษาอาการ 23 กลุ่มโรคที่มีการเหมาจ่ายผู้ประกันตนต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองท่าที่มีค่าใช้จ่ายสูงใช่หรือไม่

นางชณิการ์ โกวะประดิษฐ์ ผอ.สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์ ชี้แจงว่า การรักษาฟัน ในคลีนิคทันตกรรมมีทั้งแบบสำรองจ่าย หรือ การเข้ารับการรักษาในคลินิกที่อยู่ในข้อตกลงจะไม่ต้องสำรองจ่าย ซึ่งหากเป็นการอุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน  มีวงเงิน 900บาท/ปี แต่ถ้าเป็นการรักษาอื่นๆ จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม ส่วนการรักษากรณีฉุกเฉินจะต้องใช้โรงพยาบาลตามสิทธิ และสถานพยาบาลตามสิทธิใกล้ที่เกิดเหตุโดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้ทำเรื่องเบิกค่ารักษาพยาบาลกับสปส.โดยตรงได้ โดยผู้ประกันตนไม่ต้องวางเงินก่อนเข้ารับการรักษา น่าจะเป็นปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างผู้ประกันตนกับสถานพยาบาล ซึ่งหากเจอปัญหาด้านการรักษาพยาบาลสามารถติดต่อมายังสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศไทยได้โดยตรงจะมีเจ้าหน้าที่ไปดูแล และถ้าเข้าโรงพยาบาลรัฐก็จะเบิกค่ารักษาตามบิลตามความจำเป็น ส่วนรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ยืนยันว่า สปส. เป็นผู้ที่จ่ายโดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้ทำเรื่องเบิกแทน

ขณะที่นายเฉลิมชัย กุลาเลิศ กรรมาธิการ ตั้งคำถามถึงงบประมาณในส่วนของรายจ่ายรายหัว สปสช. 3,856 บาท/คน/ปีขณะที่บริการทางการแพทย์ ของสปส. อยู่ที่4,400 บาท/คน/ปี ต่างกันประมาณ 500 บาท แต่สิทธิการรักษาพยาบาลของบัตรทองเหมือนจะมากกว่าของผู้ประกันตน ทั้งที่ผู้ประกันตนส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงาน อายุ ตั้งแต่ 20-60 ปี ขณะที่บัตรทองส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ที่มีโอกาสป่วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงมากกว่า แต่กลับมีรายจ่ายน้อยกว่าผู้ประกันตนอย่างมีนัยยะสำคัญ จึงสงสัยว่ามีปัญหาในการเบิกจ่ายงบประมาณหรือไม่ ซึ่งหากยังมีปัญหาเช่นนี้ควรโอนให้สปสช.ดูแลเรื่องระบบสุขภาพดีกว่าหรือไม่

ด้านนายนายอลงกต มณีกาศ กรรมาธิการ ได้ตั้งคำถามถึง สิทธิ์รักษาพยาบาลของประกันสังคม ว่าเหตุใดสิทธิ์การรักษาทุกวันนี้ ถึงด้อยกว่าสิทธิ์บัตรทอง หรือเพราะทุกวันนี้ สปส.ยังไม่ปรับตัว ประกันสังคมตามไม่ทัน เหมือนหยุดนิ่งอยู่กับที่ ซึ่งผู้ประกันตน ที่เสียเงินทุกเดือน ควรจะได้รับบริการที่ดีกว่านี้ ให้ดีกว่าบัตรทอง

ด้านตัวแทนประกันสังคม กล่าวยืนยันว่า 1 ปี ที่ผ่านมา พยายามเพิ่มสิทธิ์การรักษา และการบริการให้กับผู้ประกันตนเพิ่มขึ้น เช่นการเข้าถึงการรักษาโรคสำคัญ 5 โรค ภายใน 15 วัน ซึ่ง สปส. พยายามเพิ่มสิทธิ์การบริการให้กับผู้ประกันตน ในทุกปี และทั้ง 2 สำนักงานก็ทำงานร่วมกันมาโดยตลอด  งบประมาณของประกันสังคม มีทั้งที่บูรณาการโดยใช้สิทธิพื้นฐานที่ สปสช. เบิกให้คนไทยทุกคน แต่หากเป็นคนต่างด้าวจะเบิกกับสำนักงานประกันสังคม ส่วนเรื่องการให้สิทธิทำทันตกรรม 900 บาทต่อคนต่อปีนั้น ย้ำว่าคลินิกที่อยู่ในความตกลงสามารถเบิกกับสำนักงานประกันสังคมได้โดยตรง ส่วนคลินิกที่ไม่ได้อยู่ในความตกลงสามารถนำมายื่นเบิกได้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทางโรงพยาบาลก็สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้โดยตรง โดยที่ประชาชนไม่ต้องวางเงินก่อน

น.ส.สิริลภัส กองตระการ สส.กทม. พรรคประชาชน ในฐานะกรรมาธิการ ได้ตั้งคำถามถึง พ.ร.บ.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่มาตรา 66 ระบุว่าต้องประชุมภายใน 1 ปี หากไม่แล้วเสร็จสามารรถขยายได้ ซึ่งหากขยายแล้ว ต้องให้ สปส.หรือ สปสช. เป็นผู้ชี้แจง ว่าเหตุผลการขยายเป็นอย่างไร ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2545 ก็ยังไม่มีการชี้แจงถึงเหตุผลขยายระยะเวลา ที่จะพิจารณาของเขต สิทธิ์การเข้ารับบริการทางด้านสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันควรมีความชัดเจนเรื่องของสิทธิ์ได้แล้ว จึงอยากขอเอกสาร 23 ปีย้อนหลัง ในการบันทึกการประชุม เพราะหากไม่มีให้ แสดงว่าไม่มีการประชุมเลย รวมถึงการควบรวม 3 กองทุน ที่กำลังเป็นข่าว แต่ทาง สปสช. ได้ออกมาชี้แจงว่า ยังไม่มี่ความพร้อม ต้องศึกษาก่อน ตนจึงอยากทราบกรอบระยะเวลา จะศึกษานานเท่าใด พร้อมตั้งคำถามสิทธิ์การรักษาฟัน 900 บาทต่อปี ขณะที่การรักษาต่อครั้ง อยู่ที่ 700-1200 บาท แต่ทันตแพทย์ มีคำแนะนำว่า คนเราควรต้องเข้าคลินิก ดูแลฟัน อย่างน้อย 4 ครั้ง ต่อปี เช่นขูดหินปูน เพราะฉะนั้น 900 บาทไม่ครอบคลุม แต่หากเป็นสิทธิ์บัตรทอง สามารถใช้สิทธิ์รักษาเรื่อย ๆ ส่วนเรื่อง คู่สาย สปส. ที่มีอยู่ 400 คู่สาย แต่ผู้ประกันตนมี 24 ล้านคน มองว่าอาจจะไม่เพียงพออต่อการรับฟังปัญหา จะแก้ไขปัญหาอย่างไร

ทั้งนี้ยังมีการซักถามในหลายประเด็นอย่างกว้างขวาง ซึ่งทางหน่วยงานยังไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจน จึงจะขอส่งเป็นเอกสารชี้แจงให้ทางกรรมาธิการภายหลังอีกครั้งหนึ่ง

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img