วันอาทิตย์, เมษายน 13, 2025
หน้าแรกHighlight“การโจมตี-ปล่อยข่าวปลอม-ดิสเครดิต” โพลชี้ปชช.มองเป็นเรื่อง“เกมการเมือง”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“การโจมตี-ปล่อยข่าวปลอม-ดิสเครดิต” โพลชี้ปชช.มองเป็นเรื่อง“เกมการเมือง”

‘’สวนดุสิตโพล’’เผยประชาชนมองเกมการเมืองเป็นเรื่องปกติ ด้วยการโจมตีกันไปมา ปล่อยข่าวปลอม ดิสเครดิต เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า  “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “เกมการเมืองไทย ณ วันนี้”กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,227 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 4-7 มีนาคม 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มองว่าลักษณะของ”เกมการเมือง” คือ การแบ่งเค้ก แบ่งตำแหน่งสำคัญทางการเมือง ร้อยละ 62.75 ในรัฐบาลแพทองธาร กรณีที่เป็นการเล่นเกมการเมือง คือ การโจมตีกันไปมา ปล่อยข่าวปลอม ดิสเครดิต ร้อยละ 60.46 โดยมองว่า เกมการเมืองนั้นเป็นเรื่องปกติของการเมืองไทย เพราะมีมานาน เห็นมาทุกยุคสมัย มุ่งหวังแต่อำนาจและผลประโยชน์

ทั้งนี้มองว่ามีผลต่อการพัฒนาประเทศมาก เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ ร้อยละ 42.95 สุดท้ายกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 79.63 เห็นด้วยกับแนวคิดที่ว่าเกมการเมืองทำให้การเมืองไทยล้าหลังประเทศอื่น ๆ

นางสาวพรพรรณ ระบุว่า ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยค้นชินชินกับเกมการเมืองที่มีมานานและรับรู้ถึงโครงสร้างการเมืองที่ขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์และการแข่งขันเชิงอำนาจ แม้หวังพึ่งการเลือกตั้งให้การเมืองเปลี่ยน แต่สุดท้ายก็ต้องเผชิญกับ “เกมการเมืองเดิม” ในรูปแบบใหม่ หมุนวนซ้ำซากทำให้สังคมติดหล่ม กลายเป็นพลวัตทางสังคนแบบบปกติใหม่ที่ไม่ควรจะปกติ การจะทำให้ประชาชนเชื่อมากขึ้นก็จงจะต้อง “ลดเกมการเมือง เพิ่มการทำงาน” เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับประชาชน

ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เขมภัทท์ เย็นเปียม หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า จากผลโพลเกี่ยวกับประเด็น “เกมการเมืองไทย” ประชาชนมองว่าการเมืองเรื่องของของผลประโยชน์ที่นักการเมืองเมื่อเข้ามาสู่อำนาจแล้วจะเข้ามาจัดสรรผลประโยชน์เพื่อตัวเองและพวกพ้องมากว่าการจัดสรร ผลประโยชน์และกระจายผลประโยชน์ให้แก่ประชาชน โดยแท้จริงแล้วประชาชนอยากเห็นเกมการเมืองที่แต่ละพรรคแข่งขันกัน ในเชิงนโยบายและการแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมากกว่าเกมการเมืองที่เข้ามาช่วงชิงอำนาจ โดยการพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อสกัดกั้นขั้วอำนาจทางการเมืองฝั่งตรงข้าม และพร้อมที่จะหักหลังจัดการฝ่ายเดียวกันเองเพื่อรักษาฐานอำนาจทางการเมืองของตัวเองไว้

การที่นักการเมืองมุ่งแต่จะแก้เกมทางการเมืองเพื่อต้องการกุมความได้เปรียบทางการเมืองจึงส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม ของประเทศและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองที่ประชาชนรู้สึกว่าล้าหลังและไม่มีพัฒนาการที่ดีขึ้น สิ่งที่ประชาชนคาดหวังและอยากเห็นคือเกมการเมืองที่แข่งกันแก้ปัญหาด้วยนโยบายมากกว่าการแก้เกมทางการเมือง

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img