วันอังคาร, เมษายน 8, 2025
หน้าแรกNEWS"อิทธิพร"เผย มี 27 คำร้องเข้าข่ายฮั้วเลือกสว. ชี้ร้องม. 157 เอาผิดเลขาฯกกต.ทำได้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“อิทธิพร”เผย มี 27 คำร้องเข้าข่ายฮั้วเลือกสว. ชี้ร้องม. 157 เอาผิดเลขาฯกกต.ทำได้

“ประธานกกต.” เผย มี 27 คำร้องเข้าข่ายฮั้วเลือกสว. ยันดีเอสไอตั้งสอบฮั้วสว.ไม่กระทบ ไทม์ไลน์การทำงานของกกต. เชื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน มองสว.สำรองร้อง 157 เลขาฯกกต.เป็นสิทธิ แต่กกต.ทำตามกฎหมายแจงได้

เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ที่โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงกรณีการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการฮั้วเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ที่หลายฝ่ายอยากให้ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ว่า กกต.ดำเนินการไม่ชักช้า จะพยายามรีบเร่ง แต่ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนเกี่ยวทั้งผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง เปิดโอกาสให้ได้รับทราบและชี้แจ้งข้อเท็จจริงพยานหลักฐาน การตรวจสอบบางครั้งใช้เวลาเพราะเกี่ยวข้องกับหลายคน หากมีพยานหลายคน หรือมีข้อสงสัย มีผู้เกี่ยวข้องเยอะเป็นร้อยคนก็ต้องใช้เวลา ถ้าไปสรุปก็จะไม่ได้รับความยุติธรรม หรือถ้าเร่งดำเนินการและเรื่องมาถึงสำนักงาน เลขาฯกกต.เห็นว่าการสอบสวนไม่ครบถ้วน อาจจะสั่งให้ไปสอบเพิ่มเติม เมื่อมาถึงคณะอนุกรรมการไต่สวน ก็อาจจะบอกว่าประเด็นนี้ยังไม่มีความชัดเจนอาจให้ไปทำเพิ่ม มาถึงกกต.ก็มีหลายกรณีที่บอกว่าต้องไปสอบเพิ่มอีก ซึ่งกระบวนการก็จะเร่งรัดอยู่เสมอว่าทำโดยไม่ชักช้า แต่ไม่กระทบสิทธิผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

เมื่อถามว่าระยะเวลาในการเลือกสว.ผ่านมานาน จะเป็นอุปสรรค มีข้อจำกัดในการรวบรวมพยานหลักฐานในการตรวจสอบการฮั้วสว.ด้วยหรือไม่ นายอิทธิพร กล่าวว่า กกต.เริ่มรับคำร้อง หลังการเลือกระดับอำเภอเมื่อ 9 มิ.ย.2567 เมื่อรับเรื่องกระบวนการรวบรวมพยานหลักฐานก็เริ่มตั้งแต่ตอนนั้น แต่ถ้าเมื่อมาร้องหลังการเลือกสว. การรวบรมพยานหลักฐานก็จะยากขึ้น หากมีพยานบุคคลที่ต้องสอบเยอะก็ต้องใช้เวลา เพราะถ้าไม่ครบจะไม่เกิดความยุติธรรมกับใคร

เมื่อถามอีกว่า คณะสว.สำรองไปร้องให้ตรวจการทำหน้าที่ของเลขากกต.ตามมาตรา 157 นายอิทธิพร กล่าวว่า ก็เป็นสิทธิของทุกคน เพราะว่ากกต.ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการ หรือสำนักงาน เจ้าหน้าที่ ถ้าปฏิบัติหน้าที่แล้วคนอื่นหรือใครก็ตาม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นว่าปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ก็เป็นสิทธิของเขาที่จะใช้สิทธิ และกกต.หากทำตามกฎหมายก็สามารถชี้แจงได้

เมื่อถามว่ากรณีการตรวจสอบการฮั้วสว. ไม่ใช่ถือเรื่องไว้ให้ผ่านไป 1 ปี แล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ยกเรื่องไปใช่หรือไม่ นายอิทธิพร กล่าวว่า ทุกอย่างที่ทำอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายไม่เกี่ยวกับเรื่องอื่น ส่วนกรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จะตรวจสอบ จะทำให้การทำงานของกกต.ล่าช้าหรือไม่ หรือยังอยู่ในกรอบเวลา นายอิทธิพร ระบุว่า อำนาจหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวน การกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายสว. เป็นหน้าที่ของกกต. การกระทำใดที่เป็นความผิดตามกฎหมายอื่นก็เป็นหน้าที่หน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่รักษากฎหมาย จะไม่เกี่ยวกัน

เมื่อถามย้ำว่าการดำเนินการจะไม่ล่าช้าไปกว่าดีเอสไอ เพราะดีเอสไอเพิ่งตั้งเรื่อง ถ้าเขาเสร็จก่อนจะไม่เป็นการเสียหน้าใช่หรือไม่ นายอิทธิพร กล่าวว่า ดีเอสไอเพิ่งแจ้งให้กกต.ทราบว่ามีผู้มาร้อง เกี่ยวกับการกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายสว. กกต.ก็มาดูว่าเรามีมติให้รับมาทำเอง สืบสวนไต่สวน เรารับด้วยเหตุผลที่ว่าความปรากฎต่อกกต.มีผู้มาร้องต่อดีเอสไอ จึงรับมาทำเอง ด้วยเหตุความปรากฎตามกฎหมาย และกกต.ก็สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ดีเอสไอทำนำมารวมกันกับที่กกต.พิจารณา ซึ่งมี 3 เรื่องที่อยู่กับดีเอสไอ โดยคำร้องการเลือกสว.ฝ่าฝืนตามมาตรา 77 (1) หรือที่เรียกว่าฮั้ว มีผู้มาร้องต่อกกต.ทั้งสิ้น 220 เรื่อง และกกต.จะรับจากดีเอสไออีก 3 เรื่อง เมื่อรับมาแล้วก็ตั้งเจ้าหน้าที่ดีเอสไอเป็นคณะสืบสวนไต่สวนร่วมกับกกต.ด้วย เมื่อทำเช่นนี้แล้วก็มีความมั่นใจว่า กระบวนการไม่ได้เริ่มต้นจากหนึ่ง แต่จะดำเนินการต่อเนื่องจาก 3 เรื่อง ของดีเอสไอ

เมื่อถามว่าคำร้อง 220 เรื่อง มีหลักฐานอะไรที่จะมองได้ว่าเป็นการฮั้วสว. นายอิทธิพร กล่าวว่า เรื่องยังไม่ถึงที่ประชุมกกต. บางเรื่องก็มาถึงแล้ว แต่หลักฐานไม่ชัดเจน ยังไม่ถึงขั้นจะเป็นการฮั้ว แต่ดูแล้วเรื่องที่จะเข้าข่ายการฮั้วมี 27 เรื่อง แต่เรื่องยังมาไม่ถึงที่ประชุมกกต. เมื่อมาถึงแล้วกกต.ก็สามารถพูดได้ว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอในการตัดสิน หรือไม่จะต้องสอบสวนต่อ เพราะถ้าเป็นการฮั้วก็จะทราบดีว่าจะทำเป็นกระบวนการใช้คนเยอะ ดังนั้นพยานบุคคล และผู้สอบก็มีเยอะ ถ้าสอบสวนมีการนัดแล้วแต่เจ้าตัวไม่สะดวกก็ต้องนัดใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะต้องใช้เวลาแต่ไม่ได้ตั้งใจที่จะทำให้ช้าต้องทำให้เร็วเพราะกกต.กำหนดกรอบเวลาไว้แล้ว ก็พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้แล้วเสร็จด้วยความรวดเร็ว แต่บางครั้งก็ไม่สามารถทำให้เสร็จเร็วได้ เพราะจะกระทบกับความยุติธรรม ส่วนเรื่องการกันบุคคลไว้เป็นพยาน หรือขอความคุ้มครอง ขณะนี้ยังไม่มีพยานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเลือกสว. และไม่คิดว่าจะมี เพราะถ้ามีต้องเข้าสู่ที่ประชุมกกต.ให้ความเห็นชอบ ซึ่งขณะนี้ยังไม่เห็น.

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img