“วิโรจน์” บอก “ฝ่ายค้าน” ซักฟอกทำได้ตามแผน “สส.ปชน.” ทำหน้าที่ได้ดีตรงเป้าข้อมูลลับ-จุดใต้ตำตอ-เรียบเรียงข้อเท็จ โยนประชาชนตัดสิน ชี้ “กาสิโน” หากเกิดปย.จริงรับได้ จ่อคุย “สรรพากร” ปม “แพทองธาร” ซื้อขาย “หุ้น PN” ถูกกฎหมายหรือนิติกรรมอำพราง พรุ่งนี้ ยอมรับเป็นช่องโหว่ของกฎหมาย ทำกันหลบๆซ่อนๆ
วันที่ 27 มี.ค. 2568 เวลา 13.45 น.ที่รัฐสภา นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา ว่า เราทำได้ตามแผน ตามเที่เราคาดหวัง ส่วนจะดีหรือไม่ดีอย่างไร เราก็น้อมรับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานในสภาฯต่อไปอยู่แล้ว คนที่ประเมินได้ดีที่สุดน่าจะเป็นประชาชน รวมถึงเราก็ได้ฟังจากสื่อมวลชนต่างๆ ด้วย การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ นำข้อมูลลับออกมาเปิดเผย อย่างกรณีของนายชยพล สท้อนดี สส.กทม.พรรคประชาชน ซึ่งก็โดนห้าม จากนายพิเชษฐ์ เชื้อมองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธาน จากการที่เราหลงลึกถึงระดับปฏิบัติ IO ซึ่งมีบุคคลสำคัญหลายคนอยู่ในนั้นด้วย สะท้อนว่ามีกลุ่มองค์กรไอโม่ง ที่ไม่ได้อยู่ในหน่วยงานหรืออำนาจใดตามรัฐธรรมนูญ ถึงขั้นก่อการวางเป้าหมายเป็นนายกรัฐมนตรีที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล สำหรับกลุ่มที่สอง ตนมองว่า เป็นการเรียบเรียงข้อมูล และเหตุการณ์ต่างๆ แล้วตั้งเป็นข้อสงสัย หรือมีพฤติการณ์แบบจุดใต้ตำตอ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว เราเห็นว่า ไม่ปฏิบัติ
เมื่อถามว่ามองอย่างไรกับผลคะแนนการลงมติไม่ไว้วางใจ นายวิโรจน์ กล่าวว่า เมื่อตกลงกันได้แล้วก็ไปต่อ อย่าไปคิดกังวลอะไรขนาดนั้นเลย เพราะชีวิตต้องทำงานต่อ หากให้พูดตรงๆ ตนเป็นคนตำหนิติติงรัฐบาลด้วยเหตุผล ถ้าวันนี้รัฐบาลหยุด เราก็ไปตำหนิเขาอีก ว่าเมื่อวานนี้อภิปรายไม่ไว้วางใจ แล้ววันนี้หยุดเลยหรือ ต่างฝ่ายต่างต้องทำงานต่อ
นายวิโรจน์ ยังกล่าวถึงมติครม.เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติสถานบันเทิงครบวงจรงว่า ก็ต้องดูว่าประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับประชาชนคืออะไร หากเกิดประโยชน์ และมีความเป็นธรรมก็คงไม่มีใครขัด แต่หากเกิดผลกระทบในเชิงลบต่อสังคมตามที่หลายฝ่ายกังวล และยังไม่มีข้อชี้แจง หรือแนวทางควบคุมกำจัดผลกระทบเชิงลบก็ต้องมีการทบทวน รวมถึงความเป็นธรรม เรื่องการประมูล หรือเสนอราคา มีความโปร่งใสหรือไม่
นายวิโรจน์ เปิดเผยว่า ตนจะไปที่กรมสรรพากรในวันที่ 27 มี.ค. เวลา 08.00 น. เนื่องจากขณะนี้ เจ้าของกิจการหลายคนถามว่าใช้ “แพทองธารโมเดล” ได้หรือไม่ ในกรณีหุ้น PN แต่คนที่จะงอน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนแรก ตนคิดว่าน่าจะเป็นนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เพราะนายเศรษฐา ก็เคยโอนหุ้นในลักษณะนี้ให้กับลูกสาว เช่นเดียวกัน ขณะที่อธิบดีกรมสรรพากรที่ออกมาระบุว่าสามารถทำได้ คิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ตรงประเด็น เนื่องจากพูดถึงกันคนละกรณี สิ่งที่ทุกคนสงสัย คือการมีพฤติกรรมแบบนี้ คือการติ๊งต่างทำเป็นซื้อหรือหรือไม่
“เนื่องจากกรณีที่ตั๋วนี้ไม่มีการระบุว่า จะจ่ายวันไหน แต่เมื่อไปถามน.ส.แพทองธาร ก็บอกว่าจะจ่ายปีหน้า และการที่ดอกเบี้ยไม่มีนั้น ก็เหมือนเป็นการแลก และหากไม่มีตรงนี้ ก็คือการให้ที่ชัดเจน เพราะเป็นการเปลี่ยนมือจากคนอื่นมาอยู่ที่น.ส.แพทองธาร แต่น.ส.แพทองธารไม่ได้จ่ายสักบาท ซึ่งหากถือว่าเป็นการให้ ก็ต้องไปจ่ายภาษีการรับให้อีกอยู่ดี จึงทำให้สงสัยว่าเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ ซึ่งผมมองว่า นี่คือช่องว่างทางกฎหมาย หากจะบอกว่าเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายใครก็ทำกัน ผมก็ไม่เห็นว่ามีใครจะแสดงตัวในเรื่องนี้ มีแต่การทำแบบหลบๆ ซ่อนๆ กันทุกคน และยิ่งหากมีการทำกันเยอะ ก็จะส่งผลเสียต่อสาธารณะ”นายวิโรจน์ กล่าว