วันอาทิตย์, พฤษภาคม 18, 2025
หน้าแรกHighlight‘สวนดุสิตโพล’ชี้‘ใจถึง พึ่งได้ เข้าถึงปชช.’ ทำ‘บ้านใหญ่’ครองพื้นที่‘เลือกตั้งท้องถิ่น’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘สวนดุสิตโพล’ชี้‘ใจถึง พึ่งได้ เข้าถึงปชช.’ ทำ‘บ้านใหญ่’ครองพื้นที่‘เลือกตั้งท้องถิ่น’

“สวนดุสิตโพล”เผยผลสำรวจความเห็นประชาชน ที่เชื่อว่า’บ้านใหญ๋”มีอิทธิพลกับการเลือกตั้งท้องถิ่นและเช้าถึงประชาชน

เมื่อวันที่ 18 พ.ค.68 “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ เรื่อง “ผลการเลือกตั้งท้องถิ่นในสายตาประชาชน” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,104 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 13-16 พฤษภาคม 2568 พบว่า เรื่องที่อยากให้นายกเทศมนตรีคนใหม่ดำเนินการมากที่สุด คือ ปราบปรามอบายมุข ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ร้อยละ 57.25  โดยมองว่าผู้ที่ได้รับเลือกตั้งน่าจะทำได้ตามนโยบายที่หาเสียงไว้ ร้อยละ 37.32 ทั้งนี้ ร้อยละ 78.80 เห็นด้วยว่า “บ้านใหญ่” ยังมีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งในพื้นที่  เหตุผลสำคัญที่ทำให้บ้านใหญ่ยังมีอิทธิพล คือ การเข้าถึงประชาชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เช่น งานบุญ งานศพ งานประเพณี ร้อยละ 45.13  เมื่อถามว่าหากกลุ่มการเมืองท้องถิ่นไม่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองระดับชาติ จะมีผลต่อการบริหารและพัฒนาพื้นที่หรือไม่ร้อยละ 37.50 ตอบว่า ส่งผลกระทบอยู่บ้าง แต่ยังพอบริหารจัดการภายในพื้นที่ได้       

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลโพลสะท้อนว่าประชาชนต้องการผู้นำท้องถิ่นที่สร้างความปลอดภัยและเป็นธรรม โดยเฉพาะการจัดการยาเสพติด อบายมุข และผู้มีอิทธิพล ขณะเดียวกัน “บ้านใหญ่” ยังคงเป็นกลไกอำนาจสำคัญตั้งแต่ระดับเทศบาลถึงระดับชาติ ทำหน้าที่ทั้งเป็นเจ้าของพื้นที่และผู้กำหนดเกม การเมืองในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ฝังรากลึกนี้ เป็นทั้งผลดีต่อการบริหารงานและอาจเป็นทั้งอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงที่ประชาชนคาดหวังได้ด้วยเช่นกัน

รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งภพ คงฤทธิ์ระจัน รองคณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ความน่าสนใจของผลโพลในครั้งนี้ คือ การเลือกตั้งท้องถิ่นในระดับเทศบาลที่ผู้ชนะเลือกตั้งล้วนมาจากสังกัดพรรคการเมืองขนาดใหญ่ที่มีอำนาจในการควบคุมระบบการเมืองท้องถิ่นอยู่ก่อน การชนะเลือกตั้งจึงชี้ให้เห็นว่า การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองท้องถิ่นต้องอาศัยอำนาจทางการเมืองในระดับชาติเข้ามามีส่วนในการสนับสนุนให้การเมืองท้องถิ่นดำเนินต่อไปได้   

การได้พรรคการเมืองที่มิได้เป็นฝ่ายบริหารโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดความเจริญงอกงามจะเป็นไปได้น้อยมาก อีกทั้งการผูกพันทางวัฒนธรรมการเมืองในระดับท้องถิ่นเป็นเรื่องความผูกพันทางปากท้องกินอยู่และบุญคุณ จึงทำให้ผู้รับสมัครเลือกตั้งที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองใหญ่ได้รับชัยชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ แต่เมื่อพิจารณาจะเห็นว่า การเมืองไทยจึงอยู่ในภาวะถดถอยโดยเฉพาะการเมืองในเขตพื้นที่เฉพาะ มิได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองหน้าใหม่เข้ามามีโอกาสในการเป็นตัวแทนเพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาพื้นที่แบบปราศจากการแจกบุญคุณ

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img