วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“โฆษก ศบศ.” แจง 4 ช่วยประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“โฆษก ศบศ.” แจง 4 ช่วยประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจ

 “โฆษก ศบศ.” แจง 4 มาตรการเริ่มใช้สิทธิวันนี้ คนละครึ่ง ยิ่งใช้ยิ่งได้ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ชี้หวังช่วยประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจ เผยมาตรการช่วยแรงงานผู้ประกอบการ 6จังหวัด ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจกลางคืนและบันเทิงด้วย

เมื่อวันที่  1 ก.ค. 64 นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกประจำศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) เปิดเผยว่า มติครม.เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือในระยะเร่งด่วนสำหรับกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการ ในกิจการ 3 หมวด ประกอบด้วย ก่อสร้าง  ที่พักแรม และบริการด้านอาหาร ศิลปะ บันเทิง และนันทนาการ ทั้งที่อยู่ในระบบและนอกระบบประกันสังคม ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 6 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร)

ซึ่งเป็นมาตรการเร่งด่วนที่จะชดเชย เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการชั่วคราว เป็นระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งรวมถึงข้อร้องเรียนจากสมาพันธ์ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิง ผับ บาร์ ร้านอาหาร ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งตนได้เป็นผู้แทนของรัฐบาลรับหนังสือร้องเรียนไปเมื่อวานนี้ โดยมาตรการดังกล่าวครอบคลุมข้อร้องเรียนของสมาพันธ์ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจกลางคืนที่ได้รับความเดือดร้อนถูกสั่งปิดกิจการด้วย

นายธนกร กล่าวต่อว่า สำหรับมาตรการเร่งด่วน มีดังนี้ 1.กลุ่มแรงงานที่อยู่ในระบบประกันตนตามมาตรา 33 สัญชาติไทย จะได้รับเงินช่วยเหลือ 2,000 บาท/คน เพิ่มเติมจากการที่ลูกจ้างได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) ส่วนผู้ประกอบการหรือนายจ้าง จะได้รับความช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้าง สูงสุดไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาท /คน 2.ผู้ประกอบการหรือนายจ้างที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม  ให้นายจ้างลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือนกรกฎาคม 2564 จะได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุด ไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน และลูกจ้างที่เป็นสัญชาติไทยจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 2,000 บาทต่อคน

3.กรณีที่เป็นผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ผ่านโครงการคนละครึ่ง ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยผู้ประกอบการจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 3,000 บาท และ 4.ผู้ประกอบการในหมวดร้านอาหาร เครื่องดื่ม ของโครงการคนละครึ่งที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม เนื่องจากไม่มีลูกจ้างจะได้รับการช่วยเหลือในอัตรา 3,000 บาท  อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักดนตรีอิสระ และผู้เดือดร้อนรับค่าจ้างแบบรายวัน รัฐบาลก็จะหามาตรการที่เหมาะสมมาช่วยต่อไป

นายธนกร กล่าวอีกว่า 4 มาตรการนั้นจะเริ่มใช้สิทธิวันนี้ ประกอบมาตรการเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  ครอบคลุมผู้มีสิทธิจำนวน 13.65 ล้านคน รัฐบาลสนับสนุนให้ลนละ 200 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน มีเม็ดเงินสู่ระบบเศรษฐกิจ 16,380 ล้านบาท มาตรการเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ผู้ป่วยติดเตียง ครอบคลุมผู้มีสิทธิจำนวน 2.5 ล้านคน รัฐบาลสนับสนุนให้ลนละ 200 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน เม็ดเงินสู่ระบบเศรษฐกิจ 3,000 ล้านบาท โครงการคนละครึ่ง เฟส 3 ครอบคลุมผู้มีสิทธิจำนวน 31 ล้านคน เปิดให้มีการลงทะเบียนแล้วกว่า 28 ล้านคน

โดยรัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายครึ่งหนึ่ง 150 บาทต่อวันต่อคน ตลอดโครงการ 3,000 บาท ใช้เม็ดเงิน 93,000 ล้านบาท เม็ดเงินสู่ระบบเศรษฐกิจ 186,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ท่านนายกฯ เป็นคนต้นคิด และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศผ่านผู้ที่มีกำลังซื้อ ครอบคลุมผู้มีสิทธิจำนวน 4 ล้านคน มีเม็ดเงินสู่ระบบเศรษฐกิจ 268,000 ล้านบาท ลงทะเบียนแล้วกว่า  400,000 คน ทั้งนี้ เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยเยียยยาและกระตุ้นเศรษฐกิจ เกิดการจับจ่ายใช้สอยในประเทศได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img