วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightโอกาสไทยเป็นประเทศพัฒนา“ริบหรี่” หากยังไม่“ปฏิรูปวัฒนธรรมการเมือง”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

โอกาสไทยเป็นประเทศพัฒนา“ริบหรี่” หากยังไม่“ปฏิรูปวัฒนธรรมการเมือง”

กษิต” เทียบการเมืองเยอรมันกับไทย  ระบุโอกาสที่เราจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วริบหรี่ ชี้หากไม่มีการปฏิรูปวัฒนธรรมทางการเมือง นักการเมืองไทยก็จะฮั้วกันอยู่ดี

เมื่อวันที่ 1 ต.ค.64 นายกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้โพสต์ข้อความ แสดงความเห็นเปรียบเทียบการเมืองเยอรมนีกับไทย ระบุว่า การเลือกตั้งใหญ่ของประเทศเยอรมันนี้เพิ่งจะผ่านพ้นไปเมื่อวันที่ 26 กันยา 64 และเป็นที่รู้ๆ กันว่า ประเทศแห่งนี้มักจะใช้เวลาฟอร์มรัฐบาลนานมากกว่าประเทศอื่นๆ เขา

แต่นั่นก็เป็นเพราะพรรคการเมืองเขามีการถกเถียงกันอย่างเอาเป็นเอาตายในเรื่องที่ว่า นโยบายใดบ้างของพรรคต่างๆ ที่จะมาร่วมรัฐบาลนั้น จะได้รับการนำไปเป็นนโยบายหลักๆ ในการบริหารบ้านเมือง ซึ่งจะสะท้อนออกมาว่า พรรคนั้นคือผู้คุมกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของตนในรัฐบาล

กระบวนการนี้กว่าจะตกผลึกกันได้ ย่อมผ่านการถกเถียงกันเป็นเวลานาน และต้องยืนอยู่บนพื้นอุดมการณ์ของพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเป็นหลักอีกด้วย ทำให้พรรคที่มีอุดมการณ์การเมืองคนละฝั่งกันไม่มีทางจะจับมือกันตั้งรัฐบาลอย่างแน่นอน

ต่างกับประเทศไทย ที่สื่อและประชาชนแทบจะสามารถเดากันได้ทันทีเลยว่า พรรคใดจะคุมกระทรวงใด และได้กี่กระทรวง โดยดูจากผลจำนวน ส.ส.ที่ชนะเลือกตั้งของแต่ละพรรค ผสมกับ การตัดเกรดกระทรวงต่างๆ ด้วยจำนวนงบประมาณของกระทรวงนั้นๆ ซึ่งจะมีการต่อรอง สลับแลกเปลี่ยนระหว่างพรรคกันพอเป็นพิธี ซึ่งก็กินเวลาไม่นานมาก

ที่สำคัญคือ พรรคไหนจะผสมพันธุ์กับพรรคใดเพื่อตั้งรัฐบาล ประชาชนอย่าได้มาถามหาอุดมการณ์พรรคที่ได้ประกาศเอาไว้สวยหรูแต่ตั้งพรรค ทำให้แม้จะเป็นพรรคขั้วตรงกันข้ามกัน ก็อาจร่วมจับมือกันเป็นรัฐบาลได้ โดยไม่มีอาการเคอะเขิน เพราะมันขึ้นกับ เลขจำนวน ส.ส.แต่ละพรรคที่ได้เป็นหลัก พ่วงกับความยืดหยุ่นในการแบ่งเค้กกระทรวงอีกนิดหน่อย

นั่นจึงเป็นเหตุว่า ประชาชนร้องขอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตย แต่นักการเมืองกลับไปสนใจเพียงประเด็นที่ว่า จะใช้บัตรเลือกตั้งกี่ใบ เนื่องจากมันส่งผลต่อการเลือกตั้ง ส.ส. เรื่องความได้เปรียบเสียเปรียบของแต่ละพรรค อันไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ที่ประชาชนต้องการ

ในกรณีนี้ ได้บ่งบอกว่า ผลในการบริหารประเทศระหว่างไทยและเยอรมันที่ต่างกันลิบลับ ไม่ได้มาจากกระบวนการ หรือกติกาประชาธิปไตยแต่อย่างใด หากแต่เป็นผลมาจาก จิตสำนึก และวัฒธรรมทางการเมือง ของพรรคการเมือง และผู้ที่อาสาเข้ามาทำงานทางการเมืองต่างหาก ว่ามีจิตวิญญาณแห่งประชาธิปไตยขนาดไหน

หากไม่มีการปฏิรูปวัฒนธรรมทางการเมืองแล้ว จะพยายามแก้กฏหมายรัฐธรรมนูญไปอีกแค่ไหน พรรคการเมือง และนักการเมือง ก็จะหาช่องทางในการหลบเลี่ยง และร่วมกันฮั้วกันทางการเมืองได้อยู่ดี

โอกาสในการก้าวไปเป็นประเทศพัฒนาแล้วของประเทศไทย ก็คงจะริบหรี่เช่นเคย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img