เช็ครายชื่อส.ว.และรัฐบาลลงมติแบบไม่แตกแถวคว่ำร่างฉบับประชาชน ขณะที่ผบ.เหล่าทัพยกทีมลาประชุมโหวตรธน.
เมื่อวันที่ 17 พ.ย.64 นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาลงมติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม ที่นายพริษฐ์ วัชรสินธุ กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 135,247คน เป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมใช้วิธีการขานชื่อรายบุคคลตามลำดับตัวอักษรในการลงคะแนนโหวตวาระรับหลักการ ใช้เวลายาวนาน 2.10 ชั่วโมง กระทั่งเวลา 12.10 น.
ที่ประชุมรัฐสภาลงมติไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวด้วยคะแนน 473 เสียงต่อ 206 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง ถือว่า ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม เนื่องจากมีคะแนนเสียงเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งหรือ 362เสียง จากจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 723คน ทั้งนี้ในส่วนคะแนนรับหลักการ206 เสียง เป็นของส.ส. 203 เสียง ส.ว.3 เสียง คะแนนไม่รับหลักการ 473เสียง เป็นของส.ส. 249เสียง ส.ว.224 เสียง ขณะที่คะแนนงดออกเสียง 6 เสียง เป็นของส.ส.และส.ว.ฝ่ายละ 3เสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในส่วนผลการลงคะแนนไม่รับหลักการ 473 เสียงนั้น พบว่า เป็นเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมดที่ลงมติไม่รับหลักการไปแนวทางเดียวกัน รวมถึงเสียงของส.ว.อีก 224เสียง ตลอดจนเสียงส.ส.งูเห่า พรรคก้าวไกลกลุ่มขาประจำ อาทิ นายขวัญเลิศ พานิชมาท ส.ส.ชลบุรี นายคารม พลพรกลาง ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายเอกภพ เพียรวิเศษ ส.ส.เชียงราย นายพีระเดช คำสมุทร ส.ส.เชียงราย
สำหรับผลลงคะแนนรับหลักการ 206 เสียง พบว่าเป็นของพรรคร่วมฝ่ายค้านที่ลงมติรับหลักการไปในแนวทางเดียวกันทั้งหมด รวมถึงมีเสียงของส.ว.อีก 3 เสียงที่ลงมติรับหลักการร่วมด้วยได้แก่ นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นายมณเฑียร บุญตัน และ นายพิศาล มาณวพัฒน์ ซึ่งนายเนาวรัตน์และนายพิศาลเป็นส.ว.หน้าเดิมที่เคยลงมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์ เมื่อวันที่ 19พ.ย.2563 มาแล้ว
สำหรับคะแนนงดออกเสียงแทรกมา 6 เสียง เป็นของส.ส. 3เสียงคือ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา นายพนิต วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ และนางศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลเมืองไทย และส.ว. 3 เสียงได้แก่ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ฐานะรองประธานรัฐสภา นายนายเจน นำชัยศิริ และนายอำพล จินดาวัฒนะ
ส่วนสมาชิกที่ขาดประชุมมีทั้งหมด 38 คน มีทั้งส.ส.และส.ว. โดยในส่วนส.ว.มีผู้ขาดประชุมอาทิ ผบ.เหล่าทัพ ทั้ง 6 คนที่เป็นส.ว.โดยตำแหน่งได้แก่ พล.อ.วรเกียรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. พล.ร.อ.สมประสงค์ นิลสมัย ผบ.ทร. พล.อ.อ.นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผบ.ทอ. และพล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. นอกจากนี้ยังมีนางกาญจนรัตน์ ลีวิโรจน์ ว่าที่ร.ต.เชิดศักดิ์ จำปาเทศ ร.อ.ทินพันธุ์ นาคาตะ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ นายพีระศักดิ์ พอจิต พล.อ.เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ นายธานี อ่อนละเอียด นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์
ขณะที่ส.ส.ที่ขาดประชุม เป็นรัฐมนตรี 4คน ได้แก่นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน
สำหรับส.ส.จากหลายพรรคขาดประชุม อาทิ นายภาควัต ศรีสุรพล ส.ส.ขอนแก่น ลาประชุม เพราะติดเชื้อโควิด-19 นายศักดา คงเพชร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย นายวัฒนา สิทธิวัง ส.ส.ลำปาง พรรคพลังประชารัฐ นายศิริพงษ์ รัสมี ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ นายสะถิระ เผือกผ่องพันธุ์ ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังประชารัฐ นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ ส.ส.ตาก พรรคประชาธิปัตย์ นายสราวุธ อ่อนละมัย ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ นายอันวาร์ สาและ ส.ส.ปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ นายอนุมัติ ซูสารอ ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาติ