วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS‘’ไทยสร้างไทย’’ซัดสลายม็อบ‘จะนะรักษ์ถิ่น’อาจทำให้รัฐล่มสลาย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘’ไทยสร้างไทย’’ซัดสลายม็อบ‘จะนะรักษ์ถิ่น’อาจทำให้รัฐล่มสลาย

“กัณวีร์” คณะทำงานมนุษยธรรมฯ ไทยสร้างไทย ชี้การสลายการชุมนุม หมู่บ้าน ‘จะนะรักษ์ถิ่น’ อาจเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ ‘รัฐราชการนำการเมือง’ ต้องล่มสลาย แนะรัฐใช้‘มนุษยธรรมนำการเมือง’ฟังเสียงประชาชน

นายกัณวีร์ สืบแสง ว่าที่ผู้สมัครส.ส.เขตสะพานสูง และคณะทำงานด้านมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน พรรคไทยสร้างไทย กล่าวถึงกรณีการใช้กำลังตำรวจควบคุมฝูงชนเข้าสลายการชุมนุม หมู่บ้าน ‘จะนะรักษ์ถิ่น’ บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล และคุมตัวชาวบ้าน 36 คน เป็นหญิง 30 คน ชาย 6 คน  เมื่อคืนวันที่ 6 ธันวาคม 2564 ว่าเป็นตอกย้ำความพยายามในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับรัฐราชการ ที่นำการเมืองมาอย่างยาวนานแบบหยั่งรากลึก โดยเฉพาะรัฐบาลที่นำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้ทำลายระบบพื้นฐานสำคัญของการเมืองในระบอบประชาธิปไตยไปอย่างสิ้นเชิง จึงมีความจำเป็นในการนำประชาชนมาเป็นศูนย์กลางในทุกมิติ

การไม่เปิดโอกาสในการสร้างบทสนทนาและหารือกับกลุ่มภาคประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่น อย่าง หมู่บ้าน ‘จะนะรักษ์ถิ่น’ อีกทั้งยังใช้กำลังเข้าสลายและจับกุมผู้ชุมนุม อาจกลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ ‘รัฐราชการนำการเมือง’ ต้องล่มสลาย และจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องใช้ ‘มนุษยธรรมนำการเมือง’

“หากใครคุ้นเคยกับงานด้านมนุษยธรรมแล้ว จะทราบดีว่าผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม ต้องทำงานอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความเสี่ยงสูงในการเข้าไปให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งต้องประสานงานติดต่อกับกลุ่มทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่เผชิญหน้า เพื่อสามารถหาทางเข้าถึงกลุ่มคนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างมีทันท่วงที ทุกนาทีที่นั่งรอไฟเขียวในการให้เข้าพื้นที่เพื่อไปให้ความช่วยเหลือ หมายถึงชีวิตคนที่สูญเสียจากการรอคอยคำว่า “อนุญาต” 

ความสุ่มเสี่ยงในการทำงานด้านมนุษยธรรม จากข้อจำกัดด้านเวลา ทรัพยากรที่มี และความละเอียดอ่อนในการทำงานในพื้นที่ โดยเฉพาะเรื่องการเผชิญหน้าของกลุ่มติดอาวุธที่ขัดแย้งกัน รวมทั้งการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในด้านการเมืองและการทหาร ทำให้การทำงานด้านมนุษยธรรมต้องยึดหลักการการทำงานอย่างเคร่งครัดในการปฏิบัติภารกิจ หลักการดังกล่าวเปรียบเสมือนโล่ป้องกันชีวิตที่ดีที่สุดท่ามกลางสมรภูมิรบ”

นายกัณวีร์ กล่าวเพิ่มเติมว่าหลักการมนุษยธรรม มีทั้งหมด 4 ข้อประกอบด้วย “Humanity” เอาบุคคลในความห่วงใยเป็นศูนย์กลางในการพิจารณาการให้ความช่วยเหลือ “Neutrality” หลักความเป็นกลางไม่เข้าข้างใดข้างหนึ่งแม้ในสภาวะเปราะบางที่มีกระแสกดดันจากทุกฝ่ายในเรื่องการให้ความช่วยเหลือ “Impartiality” การพิจารณาถึงหลักความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดลำดับความสำคัญในการช่วยเหลือเนื่องจากข้อจำกัดด้านทรัพยากรและเวลา และ “Independence” การดำเนินการด้านมนุษยธรรมต้องเป็นอิสระจากทุกฝ่าย

ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงการเมืองไทยในปัจจุบัน จะเห็นว่าการเมืองไทยถึงขั้นวิกฤตที่จำเป็นต้องมีการยกระบบปรับปรุงตัวแปรขับเคลื่อนการเมืองไทยอย่างเร่งด่วน วิกฤตการเมืองไทยนี้ถูกครอบงำโดยการเป็น “รัฐราชการนำการเมือง” มาอย่างช้านาน จากประสบการณ์ในการทำงานด้านมนุษยธรรมในพื้นที่สงครามและได้นำหลักการมนุษยธรรมไปปรับใช้ เพื่อสร้างสันติภาพในหลายประเทศแล้วนั้น จึงเห็นว่าหากนำหลักการมนุษยธรรมทั้ง 4 ข้อ มาพิจารณาปรับใช้กับการเมืองไทยแล้ว จะทำให้ระบบการเมืองสามารถนำประโยชน์สูงสุดมาสู่สังคมได้

“การปรับใช้หลักมนุษยธรรมนำการเมือง” คือนำประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพิจารณาในเรื่องต่างๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ต่อกลุ่มหรือพวกพ้องใดๆ ต้องยึดหลักผลประโยชน์สูงสุดเป็นของประชาชน และต้องใช้หลักการจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของพี่น้องประชาชนเป็นหลัก โดยไม่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ และการตัดสินใจทางการเมืองต้องเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำจากกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ โดยสิ่งเดียวที่จะครอบงำการตัดสินใจทางการเมืองได้คือผลประโยชน์ส่วนรวมของพี่น้องประชาชนโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพิจารณาเท่านั้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img