วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“เลิศรัตน์”ฟาดคนอ้างส.ส.พึงมี-คะแนนไม่ตกน้ำทำเพื่อประโยชน์ตัวเอง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เลิศรัตน์”ฟาดคนอ้างส.ส.พึงมี-คะแนนไม่ตกน้ำทำเพื่อประโยชน์ตัวเอง

“อดีตกก.ยกร่างรธน.” ฟาดคนอ้างส.ส.พึงมี-คะแนนไม่ตกน้ำทำเพื่อประโยชน์ตัวเอง ตะเพิดพรรคเล็กรวมพรรคไปแข่งลงเลือกตั้ง

วันที่ 10 มี.ค.65 พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว. ในฐานะอดีตโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) ชุดของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโร เป็นประธาน กล่าวต่อกรณีที่มีข้อเสนอของพรรคการเมืองและส.ส.​ต้องการให้ใช้สูตรคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ แบบปันส่วนผสม หรือ MMP ว่า ในสมัยที่กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญและบัญญัติความให้มีส.ส.พึงมีนั้น สาระสำคัญ ที่เขียนไว้ชัดเจน คือ ให้คำนวณหา ส.ส.จากคะแนนทั้งหมดที่มีและหารด้วยจำนวนส.ส.ที่มี 500 คนจากนั้นให้นำคะแนนเฉลี่ยที่ไปคำนวณหากส.ส.ที่พรรคจะได้ โดยหักจากส.ส.เขตเลือกตั้ง ต่อมาในสมัย นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ทำหน้าที่เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้นำวิธีคิดดังกล่าวไปใช้ แต่ปรับให้เป็นบัตรใบเดียว ดังนั้นจากที่จะนำคะแนนทั้งหมด ไปคำนวณหาส.ส. ให้ใช้แค่คะแนนเลือกตั้งเขต เพราะมีบัตรเลือกตั้งใบเดียว และคำว่าพึงมี คือ หมายถึงเป็นแต่ละกรณี ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564 นั้นหมายถึง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ดังนั้นการหาคะแนนเฉลี่ยต้องใช้จำนวน 100 หาร และไม่สามารถย้อนไปใช้สูตรแบบ MMP ได้อีก เพราะรัฐสภาได้เห็นชอบให้ใช้ระบบคำนวณแบบคู่ขนานแล้ว อีกทั้งร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่…) พ.ศ… ที่รัฐสภารับหลักการทั้ง 4 ฉบับเขียนเนื้อหาไว้เหมือนกัน คือ ให้คำนวณโดยใช้ 100 หารส่วนที่มีคนเสนอให้ใช้ 500 หารนั้นเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง

พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ส่วนประเด็นทุกคะแนนเสียงไม่ตกน้ำ ความหมายคือ ไม่ตัดเศษ หรือใช้เปอร์เซ็นต์คะแนนขั้นต่ำ เช่น 1% กำหนดเกณฑ์ที่พรรคจะได้ส.ส. ดังนั้นทุกคะแนนที่ประชาชนเลือกส.ส.จะนำมาคิดคำนวณทั้งหมด ส่วนที่มีบางพรรคนำคำว่าเสียงไม่ตกน้ำไปใช้ เพราะต้องการให้ตนเองได้ประโยชน์ ได้คะแนนเลือกตั้งแค่ 3หมื่นคะแนน แต่อยากได้ส.ส. ซึ่งกรณีดังกล่าวตนมองว่าเป็นการทำลายการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย

“ผมขอย้ำว่าคะแนนไม่ตกน้ำ คือ ไม่นำเปอร์เซ็นต์ขั้นต่ำมาใช้ หากเอามาใช้จะทำให้คะแนนที่เลือกพรรคไม่ครบตามเกณฑ์ไม่นำมานับด้วย อย่างประเทศเยอรมันที่ใช้ระบบ MMP เขามีการตัดเปอร์เซ็นต์ ที่ 5% ทำให้ปัจจุบันมีพรรคการเมืองแค่ 5 พรรคเท่านั้น และหากพรรคเล็กต้องการได้ส.ส. ควรไปรวมกับพรรคการเมืองอื่น แข่งขันเลือกตั้ง หากได้คะแนน 2-3แสนคะแนน จะได้ส.ส. 1 คน”พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าว

เมื่อถามว่ายังมีวิธีคำนวณส.ส.รูปแบบอื่นที่ทำให้ พรรคได้ส.ส.ตามคะแนนนิยมที่แท้จริง และไม่บวกเพิ่ม เหมือนระบบคู่ขนานหรือไม่ พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ระบบคิดคะแนนในการเลือกตั้ง มี 2 ระบบใหญ่ คือ 1.แบบ MMP ที่ใช้ใน 10 ประเทศทั่วโลก เช่น เยอรมัน, ตุรกี, ญี่ปุ่น ใช้กับการเลือก ส.ว. ซึ่งรัฐธรรมนูญ ฉบับของนายมีชัยนำมาใช้ และ 2.ระบบคู่ขนาน โดยเคยใช้เมื่อรัฐธรรมนูญ 2540 และนำกลับมาใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขปี 2564 เพราะในกรรมาธิการฯ ได้ตกลงกันว่าจะใช้ระบบดังกล่าว ดังนั้นหากจะให้กลับไปใช้แบบ MMP ตอนนี้ทำไม่ได้ หากจะย้อนกลับไปต้องแก้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง ซึ่งตนมองว่าไม่มีเวลา เพราะอีก 1 ปีจะมีการเลือกตั้งส.ส.แล้ว คนที่จะเสนอคำแปรญัตติให้กมธ.พิจารณา สามารถเสนอได้ หากเขาชนะในชั้นกรรมาธิการ ต้องเข้าสู่รัฐสภาให้ลงมติอีก หากเขาแพ้อีกต้องส่งไปศาลรัฐธรรมนูญ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img