วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“หมอชลน่าน”ตั้ง 3 ไทม์ไลน์ถล่มรัฐบาล “ศึกซักฟอก-งบฯ 66-วาระ 8 ปี”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“หมอชลน่าน”ตั้ง 3 ไทม์ไลน์ถล่มรัฐบาล “ศึกซักฟอก-งบฯ 66-วาระ 8 ปี”

ดีเดย์ 23 สิงหาถล่มรัฐบาล! “หมอชลน่าน” ตั้ง 3 ไทม์ไลน์ถล่มรัฐบาล เชือดซักฟอก ช่วงงบฯ 66 ก่อน ถ้ายังผ่านไปได้เจอวาระ 8 ปี “บิ๊กตู่” ก่อนปล่อยหมดเวลาไปเองหลัง “เอเปค” เชื่ออยู่ไม่ครบเทอม ไล่เช็คเสียงส.ส.แตกแถวทิ้งกันเพียบ

วันที่ 7 เม.ย.65 ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงการยื่นขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 ตั้งแต่ช่วงเปิดสมัยประชุมเป็นต้นไปว่า เรามีการประชุมร่วมกันตลอด โดยจะมีการยื่นให้เร็วที่สุด แต่มีเงื่อนไขเพียงว่าต้องดูบริบทโดยรวม ว่าการยื่นขอเปิดอภิปรายฯจะเป็นประโยชน์กับประชาชน ประเทศชาติ และสภาฯหรือไม่ เช่น การยื่นในช่วงที่มีการพิจารณากฎหมายสำคัญ และทำให้กฎหมายพิจารณาล่าช้าไป หรือขัดขวาง เราก็จะนำเหตุผลเหล่านั้นมาพิจารณากำหนดเวลาในการยื่น ส่วนในวันที่23พ.ค.นี้ จะมีการยื่นขอเปิดอภิปรายฯ เลยหรือไม่นั้น เรายังไม่กำหนดถึงขนาดนั้น เราดูภาพอื่นๆประกอบไปด้วย เช่น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง และพรรคการเมือง ที่กำลังพิจารณาอยู่ จะได้เข้าพิจารณาในช่วงใด หรือพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566ที่ชัดเจนแล้วว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ วาระรับหลักการ วันที่ 1-2 มิ.ย.นี้ ถือเป็นจังหวะคาบเกี่ยวพอสมควร เดิมเราตั้งใจจะยื่นก่อนการพิจารณาพ.ร.บ.งบประมาณฯ พอกำหนดไทม์ไลน์พ.ร.บ.งบฯมาอย่างนี้ ก็ทำให้จังหวะการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเรา ทำได้ไม่ต่อเนื่องอย่างแน่นอน เว้นแต่งบประมาณผ่านไปแล้วและนำกลับมาพิจารณาในวาระ2-3 ช่วงปลายเดือนส.ค.นี้ เราคิดว่าช่วงกลางๆนี้น่าจะเหมาะสม

เมื่อถามว่า จะยื่นในช่วงปลายเดือนมิ.ย.นี้หรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ยังไม่กำหนดถึงขั้นนั้น แต่เราเตรียมพร้อมตลอด นัดประชุมเกี่ยวกับเนื้อหาสาระอย่างต่อเนื่อง

เมื่อถามถึงการประเมินสถานการณ์ของรัฐบาล จะอยู่ครบเทอมหรือไม่ ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวว่า เป็นเจตจำนงค์ของรัฐบาลที่จะอยู่ให้ครบ 4 ปี หรือดึงเวลาให้อยู่ครบเทอมมากที่สุด แต่เท่าที่ดู ตนมั่นใจว่า รัฐบาลไม่น่าจะอยู่ครบเทอม ด้วยปัจจัย 1.ผลงานความต้องการของประชาชนในการแก้ปัญหา 2.รัฐบาลจะยุบสภาก่อนและไปเลือกตั้งช่วงใกล้ครบเทอม อย่างที่เขาแพลนออกมาว่าหลังการประชุมเอเปค เพราะต้องการผลงานในช่วงการประชุมเอเปค รวมถึงถ้าปล่อยให้ครบเทอม จะมีการย้ายพรรคของส.ส. ดังนั้นการยุบสภาหลังเอเปคจะเหมาะสม เพราะกฎหมายกำหนดให้มีการเลือกตั้งไม่เกิน60วัน จึงเป็นจุดสำคัญ

“แต่กฎหมายพรรคการเมืองระบุว่า กรณีที่มีการยุบสภาให้สังกัดพรรคภายใน30วัน ฉะนั้นมีเวลา30วันที่จะโยกย้ายเปลี่ยนพรรคการเมืองกันแบบสะดวกกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับอยู่ครบเทอมต้องสังกัดพรรคใน90วัน และต้องเลือกตั้งภายใน45วัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่คิดว่ารัฐบาลมีโอกาส และประโยชน์สูงสุดเขาก็จะเลือกทำแบบนี้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้รัฐบาลตัดสินใจยุบสภาได้ เช่น ครบวาระ8ปีนายกรัฐมนตรีในวันที่23ส.ค.นี้ ก็อาจเป็นประเด็นที่จะนำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ แต่แน่นอนว่าเราจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจก่อนวันที่23ส.ค.นี้อย่างแน่นอน แต่จะยื่นช่วงไหนต้องดูอีกที”นพ.ชลน่าน กล่าว

“ถือเป็น 3 จุดสำคัญ 1.จุดที่เรายื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่เราทดสอบเบื้องต้นคือพ.ร.บ.งบประมาณฯ วาระรับหลักการ จะมีประเด็น หรือร่อยรอยใดที่ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของส.ส. และไม่เป็นอันหนึ่งเดียวกันกับรัฐบาล โดยเราจะยื่นหลังจากนั้นซึ่งเป็นจุดสำคัญ แต่หากผ่านช่วงนี้ไปได้ ก็จะไปเจอจุดที่ 2.วาระครบ8ปีของนายกฯ 23ส.ค.นี้ และจุดที่3หลังการประชุมเอเปค”นพ.ชลน่าน กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img