นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ปัจจัยในการชนะการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. พบคนกรุงเชือกจากนโยบายอันดับหนึ่ง รองลงมาคือชื่อเสียง
เมื่อวันที่ 17 เม.ย.65 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ปัจจัยในการชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4-8 เมษายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,325 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัจจัยในการชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงสถานการณ์การเมืองระดับชาติกับการส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม.พบว่า ร้อยละ 31.25 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจอย่างมาก รองลงมา ร้อยละ 30.41 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลย ร้อยละ 24.38 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผลต่อการตัดสินใจ และร้อยละ 13.96 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผลต่อการตัดสินใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนถึง ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. พบว่า ตัวอย่าง
1.ร้อยละ 44.75 ระบุว่า นโยบายของผู้สมัคร
2.ร้อยละ 28.91 ระบุว่า คุณสมบัติ/ชื่อเสียงส่วนตัวของผู้สมัคร
3.ร้อยละ 9.36 ระบุว่า ฐานเสียงจัดตั้งของผู้สมัคร
4.ร้อยละ 6.19 ระบุว่า อิทธิพลของบุคคล/กลุ่มบุคคลที่สนับสนุนผู้สมัคร
5.ร้อยละ 6.04 ระบุว่า กลยุทธ์/แนวทางการหาเสียงของผู้สมัคร
6.ร้อยละ 4.00 ระบุว่า การสนับสนุนของสื่อมวลชนที่มีต่อผู้สมัคร
และ 7.ร้อยละ 0.75 ระบุว่า งบประมาณในการหาเสียงของผู้สมัคร
เพศ-ศาสนา
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่กรุงเทพมหานคร ตัวอย่าง ร้อยละ 45.74 เป็นเพศชาย และร้อยละ 54.26 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 12.68 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 16.75 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.55 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.34 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 24.68 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 93.21 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 4.38 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.73นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.68 ไม่ระบุศาสนา
สถานภาพ
ร้อยละ 40.75 สถานภาพโสด ร้อยละ 56.08 สมรส ร้อยละ 3.02 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.15 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 12.38 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 27.02 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.17 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 42.11 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 10.87 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.45 ไม่ระบุการศึกษา
อาชีพ
ร้อยละ 7.17 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 25.96 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 25.58ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 0.45 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 6.42 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 26.19 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 7.70 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุอาชีพ
รายได้
ร้อยละ 28.75 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 4.98 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 21.28 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 15.55 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 8.15 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 12.08รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.21 ไม่ระบุรายได้