วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS"รัฐสภา" เดือด! เสรี" ไล่ "พรเพชร" ลงจากบัลลังก์ "ชวน" สอนให้เกียรติประธานด้วย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“รัฐสภา” เดือด! เสรี” ไล่ “พรเพชร” ลงจากบัลลังก์ “ชวน” สอนให้เกียรติประธานด้วย

“รัฐสภา” เดือด! ส.ว ทะเลาะกันเองปม “ปฏิรูปตำรวจ” เสรี” ไล่ “พรเพชร” ลงจากบัลลังก์ ทำให้ “ชวน” ออกโรงหย่าศึก ด้าน “ชัชวาลย์” ลั่นชัดค้าน พ.ร.บ.สอบสวนคดีอาญา

“รัฐสภา” เดือด! ส.ว ทะเลาะกันเองปม “ปฏิรูปตำรวจ” เสรี” ไล่ “พรเพชร” ลงจากบัลลังก์ ทำให้ “ชวน” ออกโรงหย่าศึก ด้าน “ชัชวาลย์” ลั่นชัดค้าน พ.ร.บ.สอบสวนคดีอาญา

วันที่ 9 มิ.ย.65 ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีการพิจารณาพ.ร.บ.) ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ…. ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญ ของรัฐสภา ซึ่งพล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ส.ว. ได้ชี้แจงรายละเอียดว่า การพิจารณาเนื้อหาของกมธ. ได้นำรายละเอียดร่างพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ฉบับที่ผ่านการพิจารณาของกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ชุดที่มีพล.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตสปช. , ฉบับของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ และฉบับที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาประกอบร่วมกัน รวมถึงนำเอกสาารงานวิจัยและงานสัมมนาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อสังเกตขององค์กรต่างๆ และรับฟังความเห็น คำชี้แจงของผู้ที่เกี่ยววข้อง โดยผลการพิจารณาของกมธ. ฉบับที่รับหลักการ มี จำนวน 172 มาตรา แก้ไขเพิ่มเติม จำนวนว 69 มาตรา เพิ่มขึ้นใหม่ จำนวน 10 มาตรา และคงไว้ตาม ร่างเดิม จำนวนว103 มาตรา และมีข้อสังเกตที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรทราบและปฏิบัติจึงบันทึกไว้ให้พิจารณา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการพิจารณาในวาระสอง นั้นดำเนินไปอย่างเชื่องช้า เนื่องจากมีสมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นกมธ.เสียงข้างน้อย ได้สงวนคำอภิปราย และมีสมาชิกรัฐสภาขอแปรญัตติไว้เกือบทุกมาตรา ซึ่งรวมถึงคำปรารถและคำนิยาม จนถูกทักท้วงโดยนายวีรกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ ทักท้วงให้ลดการอภิปราย เนื่องจากเป็นการพิจารณาวาระสอง ตามเนื้อหาที่กมธ.พิจารณาปรับปรุง ไม่ใช่การอภิปรายตามวาระรับหลักการ

ทั้งนี้ที่ประชุมใช้เวลาพิจารณาเกือบ 2 ชั่วโมง ผ่านการพิจารณาไปเพียง 5 มาตรา และทั้งหมดได้รับความเห็นชอบตามที่กมธ.เสียงข้างมากแก้ไข

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงบ่ายบรรยากาศการอภิปรายดังกล่าวเป็นไปอย่างตึงเครียด เพราะ กมธ.ที่สนับสนุนการปฏิรูปตำรวจ เช่น นายคำนูณ สิทธิสมาน, นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน ส.ว. รวมถึงนายวิชา มหาคุณ อดีตกรรมการป.ป.ช. ย้ำว่า หากตัดคำว่ากฎหมายอื่น จะทำให้การปฏิบัติงานของพนักงานไม่เกิดการปฏิรูป อีกทั้งยังมีกฎหมายปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่สำคัญ อีกฉบั บคือ ร่างพ.ร.บงสอบสวนคดีอาญา

ทั้งนี้ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ ชี้แจงว่า การตัดคำว่ากฎหมายอื่นออกจากเนื้อหาไม่มีความเสียหาย เพราะการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจนั้น เป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่เจ้าพนักงานใช้ทำงานมาทั้งชีวิต ทั้งงานสืบสวน สอบสวน จับกุม ผู้กระทำผิด ซึ่งการใช้กฎหมายอาญานับพันฉบับไม่เคยมีปัญหา

“กฎหมายอื่น ไม่ใช่ปฏิรูปตำรวจ แต่เป็นปฏิรูปกระบวนการตำรวจ ใส่ไว้จะเสียหาย เพราะเป็นเชื้อ เป็นจุดที่นำไปสู่การทำลายองค์กรตำรวจ ในร่างพ.ร.บ.ตำรวจ จึงตัดไฟต้นลม ไม่ให้เกิดความเสียหาอีกมาก โดยการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายอื่นคือสิ่งที่ซ่อนไว้ สิ่งที่ผมมองว่า ร่างพ.ร.บ.การสอบสวนคดีอาญา ไม่ใช่ปฏิรูปตำรวจ เพราะตัวร่างที่ผมศึกษา การอ้างมาตรา 258 ง (2) ไม่ใช่การปฏิรูปตำรวจ จึงตัดออกไป” พล.ต.อ.ชัชวาลย์ ชี้แจง

พล.ต.อ.ชัชวาลย์ ชี้แจงด้วยว่า ตนพยายามค้าน ร่างพ.ร.บ.การสอบสวนคดีอาญา แต่ไม่ใช่ไม่เห็นด้วย หากเป็นกฎหมายที่เป็นกลางใช้กับพนักงานสอบสวนทั้งระบบในกระบวนการยุติธรรมเบื้องต้น ทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศไทย ทั้ง ฝ่ายปกครอง, อัยการ และตามกฎหมายฉบับอื่นๆ ทั้งนี้ต้นทาง ของกระบวนกรยุติธรรมไม่ใช่ตำรวจองค์กรเดียว มีกฎหมายอื่นที่รองรับไว้ด้วย ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะให้มีกฎหมายอื่น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่พล.ต.อ.ชัชวาลย์ ชี้แจงดังกล่าว ทำให้ ส.ว. ที่คาใจ พยายามใช้สิทธิซักถาม อาทิ นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน แต่ถูกพล.ต.อ.ชัชวาลย์ ตอบโต้กลับ ว่า “เวลาพูดตัวเองก็อยากพูด แต่พอคนอื่นพูดแล้วไม่ฟัง ก็เป็นแบบนี้” ทำให้นายเฉลิมชัย ประท้วงและให้ถอนคำพูดเพราะว่าเสียดสี

อย่างไรก็ดีต่อจากนั้นนายเสรี สุวรรณภานนท์ ส.ว. ที่ขอใช้สิทธิ์สมาชิกรัฐสภาอภิปราย แต่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมไม่อนุญาต เนื่องจากไม่ได้ลงชื่อไว้ ทำให้นายเสรี แย้งขึ้นว่าไม่มีข้อบังคับใดที่ห้ามตนอภิปราย เพราะมาตราดังกล่าว กมธ.มีการแก้ไข และหากไม่ได้อภิปรายเท่ากับว่าไม่ได้ทำหน้าที่

ทำให้เกิดการโต้เถียงระหว่างนายเสรี และนายพรเพชร จนทำให้นายเสรี ขอให้เปลี่ยนตัวประธานที่ทำหน้าที่พร้อมจะขอมติจากที่ประชุม ทำให้นายพรเพชร ทักท้วงว่าไม่มีข้อบังคับให้ทำแบบนั้นได้ ทั้งนี้ในการโต้เถียงดังกล่าว สิ้นสุดคือนายพรเพชรได้เชิญนายเสรีออกจากห้องประชุม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการพิจารณาในประเด็นดังกล่าวใช้เวลานาน กว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง ก่อนจะลงมติ ปรากฎว่าเสียงข้างมากของที่ประชุม 430 เสียงไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาที่กมธ.แก้ไข ต่อ 42 เสียง และงดออกเสียง 5 เสียง ทำให้เนื้อหามาตรา 6 เป็นไปตามฉบับที่รัฐสภารับหลักการ

จากนั้นนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้สลับทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้กล่าวขึ้นว่า การทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ต้องสลับกันระหว่างตนและนายพรเพชร ขอให้สมาชิกให้เกียรติรองประธานรัฐสภาด้วย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img