กูรู “ไพศาล”แนะ 5 ข้อ ถึงเวลา‘รัฐ-กองทัพ’ปรับแผนเสริม‘แสนยานุภาพ’ ไม่เช่นนั้นรบกี่ครั้งก็แพ้
เมื่อวันที่ 3 ก.ค.65 นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์เฟซบุ๊ก Paisal Puechmongkol หัวข้อ “รัฐและกองทัพต้องปรับแผนเสริมสร้างแสนยานุภาพใหม่” มีเนื้อหาดังนี้…
รัฐและกองทัพต้องปรับแผนเสริมสร้างแสนยานุภาพใหม่
ประการที่ 1.รัฐมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการส่งเสริมสนับสนุนให้กองทัพมีแสนยานุภาพเพียงพอต่อการป้องกันและรักษาเอกราชอธิปไตย
ถ้าไม่ทำหรือทำไม่ได้ ต้องถือว่ารัฐบกพร่องและทำให้ประเทศตกอยู่ในความเสี่ยง และทำให้กองทัพไม่มีขีดความสามารถเพียงพอในการพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตย
จะไปว่า พวกกาเหว่าหรือฝ่ายค้านไม่ได้ เพราะถ้าทำอะไรที่ถูกต้องแล้วรัฐบาลมีเสียงข้างมากในสภา สามารถผ่านงบประมาณได้
ประการที่ 2.รูปแบบสงครามยุคใหม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแทบจะสิ้นเชิงแล้ว
การจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์และการฝึกทหารจะต้องปรับให้เป็นไปตามลักษณะและความเปลี่ยนแปลงของสงครามยุคใหม่
การกำหนดแผนการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกัน วันนี้กล่าวได้ว่าแผนการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ยังเป็นแบบเก่า ซึ่งกองทัพเองก็ต้องทบทวนเรื่องนี้
ประการที่ 3.แสนยานุภาพทางนาวีของไทยวันนี้สู้พม่าไม่ได้ สู้เวียดนามไม่ได้
ส่วนแสนยานุภาพทางบก เมื่อการจัดเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์ยังเป็นแบบเก่า ในขณะที่เพื่อนบ้านปรับตัวเป็นแบบใหม่แล้วก็มีความเสี่ยงมาก
ส่วนแสนยานุภาพทางอากาศนั้น ก็เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ขีปนาวุธและระบบต่อต้านการโจมตีทางอากาศแบบใหม่ อาจทำให้กองทัพอากาศของเรา ซึ่งเราภาคภูมิใจนักหนาอาจจะไม่สามารถรับมือได้ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องทบทวนปรับปรุงและปรับแผนการจัดหาใหม่ทั้งสิ้น
ประการที่ 4.นสถานการณ์ในภูมิภาคนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว หากเกิดสงครามขึ้นจะไม่ใช่สงครามแบบตัวต่อตัว แต่จะเป็นสงครามแบบมวยหมู่ ดังนั้นจึงต้องประเมินสถานการณ์ว่ามวยหมู่ฝ่ายไหนเป็นอย่างไร
ที่สำคัญมวยหมู่ฝั่ง #นาโต้2 นั้น ประเทศที่เกี่ยวข้อง ต้องซื้อหาอาวุธในราคาแพงลิบลิ่วมาใช้เอง จะทำให้ระบบเศรษฐกิจของชาติพังพินาศ ไม่อาจต้านสงครามได้นานวัน ชะตากรรมก็จะซ้ำรอยแบบยูเครน!!!!
แต่มวยหมู่อีกฝ่ายหนึ่งนั้น เขาสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์แบบให้เปล่าเกือบทั้งหมด และเป็นอาวุธยุทโธปกรณ์แบบใหม่ที่ข่มอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เรามีอยู่
ไม่เห็นหรือว่าเมื่อเราจัดหารถถังสไตรเกอร์มา 100 คัน กัมพูชาก็ขอรับการสนับสนุนขีปนาวุธเล็กสำหรับทำลายรถถังสไตรเกอร์จากจีนมาใช้ถึง 200 ชุด ที่ใช้ต่อสู้กันมาแล้วทั้งในแอฟริกา อิรัก ซีเรียและอัฟกานิสถาน จนสหรัฐต้องถอนรถถังพวกนี้ออกมาทั้งหมดเพราะถูกยิงถล่มกระจุยเหมือนขนมปัง
ดังนั้นเบื้องแรกนอกจากการปรับแผนการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์และแผนการฝึกทหารแล้ว ยังต้องประเมินสถานการณ์ว่าควรรบหรือไม่ควรรบ?เป็นหลักการข้อแรกของพิชัยสงคราม
หากไม่ประเมินข้อนี้หรือประเมินไม่ถูกต้อง ก็เสี่ยงต่อการนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่ความดับสูญ
ประการที่ 5.หลักยุทธวิธีในสงครามยุคใหม่ก็เปลี่ยนแปลงไปแล้วไทยเรายอมรับนับถือหลักยุทธวิธีแบบตะวันตก ซึ่งใช้ 2 หลักเท่านั้น คือ ใช้มากเอาชนะน้อย ใช้แข็งเอาชนะอ่อน ซึ่งเป็นหลักที่ใช้มาตั้งแต่ยุคโรมัน และล้าหลังสิ้นเชิงแล้ว
ในขณะที่ กลุ่มประเทศ sco นั้น เขาใช้หลักยุทธวิธีแผนใหม่ ที่น้อยสามารถเอาชนะมากได้ แข็งสามารถเอาชนะอ่อนได้ในเรื่องนี้มีพูดไว้ตั้งแต่สมัยสามก๊กแล้ว
ขงเบ้ง กล่าวว่า “คนถ่อย คิดแต่เอามากชนะน้อย เอาแข็งชนะอ่อน เพราะเข้าไม่ถึงมรรควิถีแห่งยอดขุนพล ผู้เข้าถึงมรรควิถียอดขุนพล สามารถใช้พลังจักรวาลได้”
จะมีใครสักกี่คนในกองทัพของเรา ที่เข้าถึงมรรควิถียอดขุนพล??
านี่คือสิ่งที่เราจะต้องปรับการเรียนรู้ ปรับยุทธศาสตร์ หลักกลยุทธ์ หลักยุทธวิธี แผนยุทธการ แผนการยุทธ และแผนการรบ ให้สอดคล้องกับสงครามยุคใหม่
หาไม่แล้วรบกี่ครั้งก็มีแต่ปราชัย”