วันอาทิตย์, กันยายน 29, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight'ภูมิธรรม'อัดปี 63 เป็นความเสื่อมทรุดของผู้นำรัฐบาล
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ภูมิธรรม’อัดปี 63 เป็นความเสื่อมทรุดของผู้นำรัฐบาล

ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ชี้ปี 64 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่น่าจะเกิดขึ้น แต่’’บิ๊กตู่’’ยังเป็นต้นทางของปัญหา

เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. นายภูมิธรรม เวชยชัย ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Phumtham Wechayachai ว่า “ไม่ออก…แล้วผมทำผิดอะไรหรือ” วาทะแห่งปี 2563  ของนายกรัฐมนตรี สะท้อน”วุฒิภาวะ”ของผู้นำรัฐบาล โดยเนื้อหาระบุว่า ปี 2563 ปีแห่งความเสื่อมทรุดของผู้นำรัฐบาล ทุกครั้งที่เกิดสถานการณ์วิกฤติ เราได้เห็นวุฒิภาวะของผู้นำรัฐบาลที่อ่อนด้อยต่อการบริหารจัดการปัญหาชัดเจนมากขึ้น การนำและภาวะผู้นำที่สร้างความเสื่อมถอยให้ตนเองผู้นำที่ขาดวิสัยทัศน์ทั้งทางเศรษฐกิจและการขับเคลื่อนสังคม

ผู้นำที่บริหารแบบไร้การบริหารโดยปัดปัญหาไปให้พ้นตัว ผู้นำที่ไม่เคยสนใจความทุกข์และความรู้สึกที่แท้จริงของประชาชน ในทางกลับกันเมื่อมีปัญหาหรือความผิดพลาดใดๆเกิดขึ้น  ก็จะโทษหรือโยนความผิด ความล้มเหลวต่างๆไปให้ประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบแทน โดยไม่เคยมองย้อนกลับไปที่ความล้มเหลว หรือความไร้ศักยภาพในการเป็นผู้นำรัฐบาลของตนในยามสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 หัวหน้ารัฐบาลไม่เคยสร้างความหวังใด ๆ ให้แก่ประชาชน ไม่ว่าโอกาสและเงื่อนไขทางบวกด้านเศรษฐกิจต่อประชาชนเป็นผู้นำทางการเมืองของประเทศ ที่ขาดหลักนิติธรรม (Rule of Laws)ในการบริหารงาน เป็นนายกรัฐมนตรีที่สะท้อนถึงภาวะ “กลวง” ไม่เคยตระหนักรู้ว่าตนเองเป็นปัจจัยลบ ที่ทำให้สังคมไทยยากแก่การฟื้นตัว และขาด”ความเชื่อมั่น” ทั้งในประเทศและนอกประเทศ

ปี2564 ปีแห่งการเผชิญหน้าที่ไม่อาจหยุดยั้ง พลังการเปลี่ยนแปลง ความขัดแย้งในทุกมิติจะยิ่งปะทุและ ขยายตัวมากขึ้น และยิ่งจะลุกลามออกไปมากขึ้น เมื่อปัจจัยหลัก ผู้นำรัฐบาลคนปัจจุบัน ยังคงอยู่อย่างไร้ประสิทธิภาพ และวางตัวเหนือความขัดแย้ง แถมยกตนข่มผู้คนอย่างไร้ความรับผิดชอบ ปัจจัยจากตัวผู้นำเป็นการสร้างเงื่อนไขด้านลบและเป็นปมเงื่อนสำคัญต่อการรักษาอำนาจจากโครงสร้างที่กดทับและซ้ำเติมความรุนแรงที่กระทำต่อประชาชน และ ปี2564

ปัญหาเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชีวิตประชาชน จะยังคงเสื่อมทรุดและขยายวงออกไปทั้งในด้านปริมาณของผู้ได้รับผลกระทบ และระดับความรุนแรงที่ซับซ้อนมากขึ้น หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำวิธีคิดและการจัดการในรูปแบบเดิมยิ่งไม่สามารถแก้ปัญหาใด ๆ ได้ ตรงข้ามกลับกระหน่ำซ้ำให้ประชาชนตกอยู่ในภาวะรับไม่ได้ ทนไม่ไหว และจะไม่ทนอีกต่อไป

ปี2564 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่น่าจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นเพราะข้อสรุปปัจจุบัน ค่อนข้างชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีคนนี้ คือต้นทางของปัญหาทั้งปวง เงื่อนไขการปฏิรูปใด ๆ ที่สังคมเรียกร้อง ยังคงมีเป้าหมายที่ การบริหารจัดการการเมืองใหม่ และ การเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี และการแก้ไขกติกาที่หยุดยั้งการสืบต่ออำนาจของคณะผู้นำชุดนี้  ซึ่งถือเป็นก้าวตั้งต้นสำคัญในการออกจากวิกฤติของประเทศ ปี 2564 นายกรัฐมนตรี พล.อ. ประยุทธ จันทร์โอชายังคงเป็นหมุดหมายสำคัญของการจัดการวิกฤตประเทศ.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img