วันจันทร์, กรกฎาคม 1, 2024
หน้าแรกPRไทยพีบีเอสดันซอฟต์พาวเวอร์รสแซ่บ“ในรอยรสพริก”สู่เรียลลิตี้ “ยกพลคนน้ำพริก”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ไทยพีบีเอสดันซอฟต์พาวเวอร์รสแซ่บ“ในรอยรสพริก”สู่เรียลลิตี้ “ยกพลคนน้ำพริก”

ไทยพีบีเอส จัดเสวนา “ในรอยรสพริก” ตามเส้นทางประวัติศาสตร์ของพริกในไทย พร้อมชิมน้ำพริก 4 ภาค อาหารรสจัดจ้านด้วยวิถีอัตลักษณ์ไทย ผลักดันซอฟต์พาวเวอร์รสแซ่บ สู่เรียลลิตี้ “ยกพลคนน้ำพริก” โชว์นิทรรศการเจาะลึกความเผ็ด  และร่วมถอดรหัสรส Workshop Sensory Test สร้างความยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหาร

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส จัดกิจกรรมศิลป์สโมสรเสวนา “ในรอยรสพริก” โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้าน “น้ำพริก” ในหลากหลายด้าน ทั้งประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา ความหลากหลายของนิเวศน้ำพริก ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อขับเคลื่อนองค์ความรู้กระตุ้นให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับน้ำพริก นำไปสู่การขับเคลื่อนผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ของไทย  

รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. กล่าวว่า ในปี 2567 ไทยพีบีเอส ได้กำหนดวาระหลักในการขับเคลื่อนประเด็นซอฟต์พาวเวอร์ หรือที่ไทยพีบีเอส ใช้ชื่อว่า ภาคภูมิไทย (Soft Power) ภายใต้แคมเปญใหญ่ More than TV #เป็นมากกว่าสถานีโทรทัศน์ เพื่อสนับสนุนทุนทางวัฒนธรรมของไทย และเป็นส่วนหนึ่งในการนำความภาคภูมิทางวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น ชุมชน รวมถึงกลุ่มต่างชาติพันธุ์ ไปเป็นความภาคภูมิใจของคนทั้งประเทศ และยกระดับสู่สากล

ศูนย์สื่อศิลปวัฒนธรรม ไทยพีบีเอส เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันผลักดัน “น้ำพริกไทย” ไปสู่อาหารเครื่องจิ้มในระดับสากล และเหตุที่เลือก “น้ำพริก” เพราะเป็นอาหารที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน ในทุกยุคทุกสมัย ในทุกครัวเรือน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจาก การที่ทุกภูมิภาคของประเทศไทยต่างมีน้ำพริกในภูมิภาคของตัวเอง  มากกว่านั้น “น้ำพริก” ยังเป็นอาหารที่สะท้อนวัฒนธรรมการกินของคนใน ชุมชน สังคม ทรัพยากรที่มีความหลากหลาย วัฒนธรรมความเป็นอยู่ การสร้างความยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร\

ทั้งนี้ ตลอดทั้งปี มีกิจกรรมต่อเนื่อง ทั้งกิจกรรมสัญจรเสวนา “น้ำพริก” โภชนวัฒนธรรมแห่งยุค ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั้งภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมในระดับท้องถิ่นได้สัมผัสประสบการณ์และความรู้จากน้ำพริกท้องถิ่นอย่างใกล้ชิด  กิจกรรมแคมป์ “เปิดครก ยกสำรับ น้ำพริก พื้นบ้าน” เรียนรู้ ถอดบทเรียนน้ำพริกในระดับตำนานจากกูรู แม่ครัวเอก ยอดฝีมือด้านน้ำพริก ระดับท้องถิ่นในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ กิจกรรมเสวนา/นิทรรศการและการเปิดตัวรายการ “ยกพลคนน้ำพริก” และหนังสือ “น้ำพริก” ที่จะนำเสนอความลึกซึ้งและประวัติศาสตร์ของน้ำพริกในแง่มุมต่างๆ ซึ่งทุก ๆ กิจกรรมจะช่วยสร้างสรรค์ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ความยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหาร  รวมถึงการผลักดันให้ “น้ำพริก” เป็นหนึ่งใน Soft power ด้านอาหารของไทยในตลาดระดับโลก

สำหรับเวทีเสวนา “ในรอยรสพริก” มีผู้เชี่ยวชาญมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบ่งปันประสบการณ์มากมาย ได้แก่ คุณกฤช เหลือลมัย นักโบราณคดี นักเขียน คอลัมนิสต์ และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อาหาร, คุณอนุสรณ์ ติปยานนท์ Food activist นักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารในมิติประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม, รศ.ดร.วีระศักดิ์ สุระเรืองชัย นักวิจัยหัวหน้าโครงการ “เครื่องวัดความเผ็ด”, คุณจิรัศยา บุญคน แม่ครัวงานบุญ กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง หนองหญ้าปล้อง, คุณสนชัย อุ่ยเต็กเค่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุดิบอาหารพื้นถิ่น เมืองระนอง และ คุณโตมร ศุขปรีชา นักเขียนและคอลัมนิสต์ชื่อดัง

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม Workshop ทดสอบประสาทสัมผัสด้วย Sensory Test ถอดรหัสรส & กลิ่น เรียนรู้เกี่ยวกับน้ำพริก ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ปฏิกิริยาสะท้อนผ่านน้ำพริกจับคู่กับเครื่องเคียง นิทรรศการประวัติศาสตร์ “น้ำพริก” เล่าเรื่องการเดินทางของพริกสู่ประเทศไทย และตัวอย่างน้ำพริกจาก 4 ภาค, นิทรรศการ/สาธิต เครื่องวัดความเผ็ด ชวนมาไขปริศนาของ “แคปไซซิน” (Capsaicin) สารกระตุ้นที่อยู่ใน “พริก” ที่ทำให้รู้สึกเจริญอาหารที่อธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ และบูธกิจกรรม ปักหมุด “ถิ่นน้ำพริกไทย กับ C -Site” โดยสำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ไทยพีบีเอส ที่จะทำให้ได้รู้ว่า น้ำพริกในประเทศไทยมีความหลากหลาย ทั้งรสชาติ วัตถุดิบ ที่สามารถสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจน

ติดตามทุกกิจกรรมของ “น้ำพริก” และรับชมเวทีเสวนา “ในรอยรสพริก”  ย้อนหลัง  และได้ทางช่องทางออนไลน์ Facebook Fan page : Thai PBS , ไทยบันเทิง Thai PBS , Artclub Thai PBS, Localist, The North องศาเหนือ, อยู่ดีมีแฮง, แลต๊ะแลใต้ และ นักข่าวพลเมือง Thai PBS

สามารถติดตามไทยพีบีเอสทุกช่องทางออนไลน์ ได้ที่

▪ Website : www.thaipbs.or.th
▪ Application : Thai PBS

▪ Social Media Thai PBS : FacebookYouTubeX (Twitter)LINETikTokInstagramThreads

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img