วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSสภาทนายความลุยฟ้อง "กรมประมง-เอกชน"ทำปลาหมอคางดำระบาด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สภาทนายความลุยฟ้อง “กรมประมง-เอกชน”ทำปลาหมอคางดำระบาด

‘สภาทนายความ’ แถลงปม ‘ปลาหมอคางดำ’ ดำเนินคดีแพ่งแบบกลุ่ม เรียกค่าเสียหายกับผู้ก่อให้เกิดการแพร่ระบาด จากการขาดรายได้ของชาวประมง พร้อมดำเนินคดีปกครองกับกรมประมงที่ละเลย-ละเว้นในการปฏิบัติหน้าที่จนเกิดการแพร่ระบาด เป็นการละเมิดทางปกครอง

เมื่อเวลา 12.00 น.วันที่ 31 ก.ค. ณ ห้องประชุมชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ , นายสุนทร พยัคฆ์ เลขาธิการสภาทนายความ , ว่าที่ร้อยตรี สมชาย อามีน ประธานอนุกรรมการสิ่งแวดล้อมฝ่ายคดีและปฏิบัติการ นายปรเมษฐ์ แดนดงยิ่ง รองประธานกรรมการคดีปกครอง ร่วมแถลงข่าว

ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ เปิดเผยว่า ตามที่สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ได้รับหนังสือร้องเรียนจากชาวบ้านในตำบลยี่สาร ตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ว่าได้รับความเสียหายจากการระบาดของปลาหมอคางดำที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ และในพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งและบ่อเลี้ยงปลาของชาวบ้าน และสภาทนายความ ได้ตั้งประธานสภาทนายความทนายความจังหวัดรวม 16 จังหวัด เป็นผู้แทนของสภาทนายความ เพื่อร่วมประชุมกับส่วนราชการ กำหนดวิธีแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน

ต่อมา มีชาวบ้านในจังหวัดอื่นๆ ได้ยื่นขอความช่วยเหลือทางกฎหมายเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ ได้พิจารณาบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่ก่อให้เกิด หรือเป็นต้นเหตุของการระบาดของสัตว์น้ำต่างถิ่น

ในกรณีนี้สภาทนายความโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมได้จดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อปีพ.ศ. 2545 และเป็นสมาชิกของสมัชชาองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม สามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนผู้ได้รับอันตรายหรือความเสียหายจากภาวะมลพิษอันเกิดจากการรั่วไหลหรือแพร่กระจายของมลพิษ รวมทั้งเป็นผู้แทนในคดีที่มีการฟ้องร้องต่อศาล เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้ที่ได้รับอันตรายหรือได้รับความเสียหายนั้นด้วย ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

จากการสอบข้อเท็จจริงของคณะทำงานสภาทนายความ พบว่าปลาหมอคางดำซึ่งเป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นที่ได้รับอนุญาตจากกรมประมง ให้นำเข้าเพื่อการทดลองศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำ โดยมีผู้ประกอบการแห่งหนึ่งเป็นผู้ขออนุญาตนำเข้า และมีการนำเข้ามาศึกษาทดลองเลี้ยงในปีพ.ศ. 2553 ที่ศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของบริษัทผู้ประกอบการแห่งหนึ่งย่านจังหวัดสมุทรสงคราม และพบการระบาดของปลาหมอคางดำในปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นมา โดยเริ่มระบาดครั้งแรกที่ตำบลยี่สาร ตำบลแพรกหนามแดง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และจากการศึกษาพบว่าสายพันธุ์การระบาดของปลาหมอคางดำมาจากจุดร่วมสายพันธุ์เดียวกัน

จากกรณีดังกล่าว คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมสภาทนายความ และคณะกรรมการสำนักงานคดีปกครอง จึงกำหนดแนวทางให้ความช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมายในสองแนวทาง คือ

1) การดำเนินคดีแพ่งกับผู้ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทย โดยดำเนินคดีแบบกลุ่ม เรียกค่าเสียหายจากการขาดรายได้ของชาวประมง และเรียกค่าเสียหายจากการที่ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย ตามหลัก “ผู้ก่อให้เกิดมลพิษเป็นผู้จ่าย”

2) การดำเนินคดีปกครองกับหน่วยงานอนุญาตที่ละเลย ละเว้นในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ เป็นการทำละเมิดทางปกครอง และให้หน่วยงานอนุญาตขจัดการแพร่ระบาดและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่สูญเสียไป โดยให้เรียกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจากผู้ก่อให้เกิดการระบาดของปลาหมอคางดำ รวมทั้งค่าเสียหายจากการที่ต้องสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img