วันพุธ, ตุลาคม 2, 2024
spot_img
หน้าแรกUncategorized"สุรพงษ์"จี้ขนส่งตรวจสอบรถโดยสารใช้เชื้อเพลิง CNG ขู่ไม่ผ่านมาตรฐานยึดใบอนุญาตทันที
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สุรพงษ์”จี้ขนส่งตรวจสอบรถโดยสารใช้เชื้อเพลิง CNG ขู่ไม่ผ่านมาตรฐานยึดใบอนุญาตทันที

“สุรพงษ์” ขีดเส้นขนส่งภายใน2เดือน ตรวจสอบรถโดยสารใช้เชื้อเพลิง CNG ทั้งหมด 13,426 คันใหม่ ชี้ไม่ผ่านการตรวจสอบถูกยึดใบอนุญาต พร้อมปรับกฎเกณฑ์ ให้ผู้ประกอบการถโดยสารไม่ประจำทาง มีเด็กท้ายรถ ด้าน “จิรุตม์” เด้งรับเตรียมแก้กฎหมายคุมมาตรฐานรถ

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เพื่อกำหนดมาตรการและแนวทางป้องกันอุบัติเหตุ กรณีการเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้รถโดยสารไม่ประจำทางหมายเลขทะเบียน 30-0423 สิงห์บุรี (รถโดยสารชั้นเดียว ปรับอากาศ) ซึ่ง บรรทุกเด็กนักเรียนและครูจำนวน 45 ราย เดินทางออกจากจังหวัดอุทัยธานีว่า

เบื้องต้นทางกรมการขนส่งทางบก(ขบ)ได้ยกเลิกใบอนุญาติผู้ประกอบการของผู้ประกอบการรถคันที่เกิดเหตุทั้งหมดแล้ว ขณะเดียวกันเพื่อเป็นมาตรการป้องกันได้สั่งการให้ ขบ. เรียกรถโดยสารสาธารณะทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง ที่ใช้เชื้อเพลิง CNG ทั้งหมดจำนวน 13,426 คัน แบ่งเป็น รถโดยสารประจำทาง จำนวน 10,491 คัน และรถไม่ประจำทาง ประเภท 30 จำนวน 2,935 คัน ให้กลับเข้ามารับการตรวจสภาพรถภายใน 60 วัน ทั้งนี้หากพบว่ารถดังกล่าวไม่ผ่านการตรวจสภาพจะถูกยึดใบอนุญาตรถทันที

นอกจากนั้น เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการประกอบการขนส่งรถโดยสารไม่ประจำทาง (30) ทั้งระบบ ให้ ขบ.ออกกฎหมายบังคับให้ รถ30 จะต้องมีพนักงานขับรถ และเด็กประจำรถ(เด็กท้ายรถ)1คน จากเดิมไม่มีกฎหมายบังคับควบคุมว่าต้องมีเด็กท้ายรถเหมือนกับรถโดยสารประจำทาง นอกจากนี้ ให้ ขบ.บูรณาการร่วมกับกระทรวงศึกษาและสถานศึกษาทั่วประเทศ กรณีที่ต้องมีการนำรถโดยสารไม่ประจำทางในการทัศนาจร ศึกษา ก่อนออกรถจะต้องนำรถเช่าเหมาหรือรถโดยสารไม่ประจำทางให้เจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งจังหวัด ตรวจสอบความปลอดภัยก่อนออกเดินทางทุกครั้ง

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า เพื่อให้การให้บริการรถโดยสารไม่ประจำทางมีความปลอดภัยและสร้างความเข้าใจมากขึ้นของผู้โดยสาร ขบ.จะออกกฎหมายบังคับพนักงานประจำรถ ต้องได้รับการอบรมและผ่านการทดสอบหลักสูตรการเผชิญเหตุและการช่วยเหลือผู้โดยสาร (Crisis Management) ขณะเดียวกันพนักงานประจำรถจะต้องแนะนำข้อมูลทางออกฉุกเฉิน และอุปกรณ์ช่วยเหลือที่ต้องใช้ในกรณีฉุกเฉินให้ผู้โดยสารรับทราบ เช่นเดียวกับกรณีสายการบินที่แนะนำผู้โดยสารก่อนออกเดินทาง

“กระทรวงคมนาคมขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ วันนี้เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกระดับมาตรฐานทุกมิติ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก และฝากถึงผู้ประกอบการขอให้ช่วยตรวจสอบรถ พนักงานขับรถ และผู้ประจำรถ ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียอีกต่อไป”

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กล่าวว่า การตรวจสอบสภาพรถและถังแก๊ส CNG นั้น ตามปกติกรมฯจะมีการตรวจสภาพรถ 2 ครั้งต่อปี โดยกำหนดให้ในรอบปีภาษีผู้ประกอบการต้องผ่านการตรวจสภาพจากวิศวกรผู้ดูแล 1 ครั้ง และเมื่อครบสิ้นปีการชำระภาษีรถต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากกรมฯ อีก 1 ครั้ง เช่น รอยรั่วของก๊าซ,อายุการใช้งาน ตลอดจนการตรวจเช็คการเสียดสีของถังแก๊ส

“ในทางปฎิบัติตามมติคณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง 3/2568 ระบุว่ารถโดยสารไม่ประจำทาง 30 ไม่มีการกำหนดอายุการใช้งานเลขตัวถังรถ (คลัทซี) แต่รถโดยสารประจำทางที่มี ระยะทางไม่เกิน 300 กม. กำหนดให้มีอายุการใช้งานของคัสซีรถไม่เกิน40 ปี ,รถโดยสารประจำทางที่มี ระยะทางไม่เกิน 300-500 กม.จะกำหนดอายุ คลัทซี ไม่เกิน 35 ปี, รถโดยสารประจำทางที่มี ระยะทางเกิน500 กม.จะกำหนดอายุ คลัทซี ไม่เกิน30 ส่วนรถหมวด 1 ที่วิ่งในเมืองอายุคลัทซีไม่เกิน 50ปี ซึ่งทาง ขบ.จะมีการประชุมในรายละเอียดเพื่อกำหนดกรอบและมาตรฐานรถโดยสารไม่จำทาง 30 ในเรื่องของข้อกำหนด อายุการใช้งานรถ รวมถึงคนรถเพิ่มเติม หากต้องมีการแก้กฎหมายก็จะเร่งดำเนินการ ”

ด้านนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ประกอบด้วยสภาวิศวกร และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางและมาตรการในการทบทวนมาตรฐานรถโดยสารสาธารณะทั้งระบบ ทั้งรถตู้ รถทัวร์ รถบัส ต่างๆ ซึ่งจะดูทั้งข้อกฎหมาย มาตรฐานรถ อายุการใช้งานรถโดยสารสาธารณะใหม่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img