วันอาทิตย์, กันยายน 29, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightองคมนตรี ติดตามความก้าวหน้าสนามบินท่าใหม่ จ.จันทบุรี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

องคมนตรี ติดตามความก้าวหน้าสนามบินท่าใหม่ จ.จันทบุรี

องคมนตรีติดตามความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงสนามบินท่าใหม่จ.จันทบุรีรองรับปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและประชาชนในภาคตะวันออก

เมื่อวันที่ 4 ต.ค. พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี และประธานกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง พร้อมด้วย พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง องคมนตรี ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการปรับปรุงสนามบินท่าใหม่ จ.จันทบุรี พร้อมรับฟังบรรยายสรุป  ผลการดำเนินงานการปฏิบัติการทำฝนหลวงในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นหนึ่งในฐานบินปฏิบัติการฝนหลวงของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดในความรับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก 8 จังหวัดได้แก่นครนายก ปราจีนบุรี  สระแก้ว ฉะเชิงเทราชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 จนถึงปัจจุบัน

โดยจากเดิมมีพื้นที่รันเวย์เป็นดินลูกรังบดอัดแน่น ประกอบกับประสบปัญหาเป็นฝุ่นในฤดูแล้งและลื่นในช่วงหน้าฝน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร จึงมีแผนการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาเป็นรันเวย์ราดแอสฟาติกส์คอนกรีต เพิ่มระยะทางทั้งหมด จากรันเวย์ดินลูกรัง 1,500 เมตร เป็นรันเวย์คอนกรีต 1,300 เมตร และเพิ่มระยะวิ่งจาก 980 เมตร ที่รองรับได้เพียงเครื่องบินขนาดเล็กคาราแวน (CARAVAN) เป็นระยะ 1,200 เมตร เพื่อรองรับเครื่องบินขนาดกลางคาซ่า (CASA) และเกิดความปลอดภัยในการบินขึ้น-ลง ของเครื่องบินกรมฝนหลวงและการบินเกษตร

อีกทั้งเพื่อให้มีความเป็นมาตรฐานของสนามบิน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้วยความมั่นใจ เกิดผลสัมฤทธิ์จากการปฏิบัติการฝนหลวงที่มีประสิทธิภาพ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรและแหล่งเก็บกักน้ำต่าง ๆได้มากขึ้น ซึ่งได้เริ่มดำเนินการสร้างตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 และขณะนี้อยู่หว่างการดำเนินการปรับปรุงสนามบินท่าใหม่ในระยะที่ 1 (ก.ค.63-พ.ย.63) ดำเนินการแล้วเสร็จประมาณ 71% มีการปรับพื้นผิวเพื่อปูยางชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 บริเวณ Overrun และขุดลอกระบายน้ำขนานกับ R/W ได้ระยะทางประมาณ 500 เมตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว 

การดำเนินงานเกิดความล่าช้าเล็กน้อย เนื่องจากหน้างานมีสภาพอากาศ ฝนตกชุกตลอดทั้งวัน ทำให้มีน้ำขังบริเวณก่อสร้างและเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงาน แต่คาดว่าจะแล้วเสร็จทันกำหนดเวลาในวันที่ 30 พ.ย.63 โดยใช้งบประมาณของกองทัพอากาศPhase ที่ 1 ทอ.ใช้งบประมาณของ ทอ.เองเพียง 32 ล้านบาทเศษ โดยใช้ เจ้าหน้าที่ทอ.เองทั้งหมด 40 คน รวมทั้งเครื่องจักรของ ทอ.ทั้งหมด ทั้งนี้คิดว่าภายในเดือนต.ค.ก็ดำเนินการแล้วเสร็จ และเฟส 2 โดยของบกลางจำนวน 54 ล้านบาท (ระบบไฟ+ทางวิ่ง+ลานจอด+อาคาร) คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2564 อย่างไรก็ตาม ต้องดูสถานการณ์ฝนที่จะตกด้วย

นอกจากนี้ประธานกรรมการได้มีข้อคิดในที่ประชุมว่าหากสามารถดำเนินการแล้วเสร็จตามกำหนดแล้ว ควรมีการนำอุปกรณ์เครื่องช่วยเดินอากาศแบบเคลื่อนที่มาใช้งานเพื่อให้สามารถใช้งานสนามบินได้ในทันที 

ทั้งนี้ สนามบินท่าใหม่จะเป็นฐานบินปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่เดือนมี.ค.ถึงเดือนพ.ค.เนื่องจากสนามบินอยู่ทางด้านต้นลมในฤดูแล้งช่วงเดือนมี.ค. – เดือน พ.ค.ทำให้สามารถบินปฏิบัติการทำฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้งและขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรของภาคตะวันออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมพื้นที่ปลูกไม้ผลของจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด และสระแก้วตอนล่างได้ทั้งหมด 

ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรของภาคตะวันออกมีจำนวน 12.8 ล้านไร่ หรือร้อยละ 56 ของพื้นที่ทั้งหมด 22.8 ล้านไร่ ซึ่งได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมาก มีพื้นที่การเกษตรในเขตชลประทานจำนวน 884,354 ไร่ และพื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทานจำนวน12 ล้านไร่ ปลูกพืชเศรษฐกิจมูลค่าภาคการเกษตรจำนวน 7.2 หมื่นล้านบาทต่อปี

สำหรับ สนามบินท่าใหม่ นอกจากจะเป็นฐานบินปฏิบัติการฝนหลวงแล้วยังสามารถเป็นสนามบินสำรองหรือสนามบินฉุกเฉิน และสนับสนุนภารกิจทางการทหารและความมั่นคงได้เป็นอย่างดี อันจะเป็นการดำเนินงานตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการฝนหลวง ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรต่อไป.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img