วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightพิษโควิด'ธุรกิจค้าปลีก'ระส่ำ แนะใช้ Retail Solution เฟ้นหาทำเลทอง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

พิษโควิด’ธุรกิจค้าปลีก’ระส่ำ แนะใช้ Retail Solution เฟ้นหาทำเลทอง

พิษโควิด-19 ส่งผลธุรกิจค้าปลีก 2 ไตรมาส หดตัว 24.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ESRI แนะธุรกิจค้าปลีกยุค New Normal รีบปรับตัวใช้เทคโนโลยี ชู Retail Solution เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจค้าปลีก ด้วยซอฟต์แวร์ ArcGIS ดึง 2 โซลูชันหลัก “Market Planning and Site Analysis” และ “Trade Area and Zone Planning” เพื่อเฟ้นหาทำเลทอง

นางสาวธนพร ฐิติสวัสดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ในกลุ่มบริษัท ซีดีจี ผู้นำด้าน Location Intelligence ด้วยการวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศในมุมมองใหม่ เปิดเผยว่า สภาวะเศรษฐกิจแปรผันในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ โดยข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในปี 2563 ชี้ตัวเลขดัชนีค้าปลีกลดลง 13.7% ในช่วงครึ่งปีแรก และไตรมาสที่สองหดตัวประมาณ 24.7% จากปีที่ผ่านมา สอดคล้องกับการคาดการณ์จากสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ระบุว่าธุรกิจโดยรวมในไตรมาสหนึ่งลดลงกว่า 3-7% และในไตรมาสสองจะเห็นการเติบโตติดลบมากถึง 20-50% โดยคาดว่าจะพลิกฟื้นกลับมาจุดเดิมต้องใช้เวลา 8-24 เดือน ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ

“ธุรกิจค้าปลีกมีการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องใช้ “Data & Asset” ในการสร้างรายได้และลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ จากผลวิจัยของ Forrester ธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยมีความพร้อมเพียง 5% และกว่า 91% ของค้าปลีกไทย ยังขาดความสามารถด้านเทคโนโลยี บุคลากร และกระบวนการนำข้อมูลเชิงลึกของลูกค้ามาใช้สร้างรายได้ใหม่ ๆ ซึ่งการใช้งาน Retail Solution ผ่านเทคโนโลยี GIS ที่นำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ผ่านซอฟต์แวร์ ArcGIS ช่วยเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบัน และแสดงข้อมูลคาดการณ์อนาคต จะเป็นเครื่องมือสำคัญในอุตสาหกรรมค้าปลีก เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ที่ตั้งสาขาที่มีอยู่ในปัจจุบันและการขยายสาขาในอนาคต ดูแนวโน้มพฤติกรรมและพื้นที่กระจุกตัวของผู้บริโภค จัดการเส้นทางขนส่ง ตอบโจทย์ธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีกในประเทศ” นางสาวธนพร กล่าวและว่า Retail Solution เพื่อการวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 2 โซลูชัน ดังนี้

1.Market Planning and Site Analysis วิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่เพื่อเพิ่มโอกาสทางการขาย โดยการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ (Target Customer) เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน แสดงผลบนแผนที่ตามค่าความหนาแน่นของจำนวนกลุ่มเป้าหมาย ประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ข้อมูลตำแหน่งที่สนใจ (Evaluate Sites) เพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลจำนวนประชากร หรือสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อยอดขายของสาขา เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ นอกจากนี้ ยังเสนอการวิเคราะห์ทำเลศักยภาพของที่ตั้งสาขา (Suitability Analysis) จากปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพของพื้นที่ ทั้งปัจจัยเชิงบวก เช่น ตำแหน่งลูกค้า สถานีรถไฟฟ้า ที่อยู่อาศัย หรือปัจจัยเชิงลบ เช่น ตำแหน่งคู่แข่ง ตำแหน่งพื้นที่กำจัดขยะ เพิ่มศักยภาพในการเลือกพื้นที่ที่เหมาะกับการตั้งสาขา รวมถึงการปรับ-รวม-ย้ายสาขาไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการหาข้อมูลและการสำรวจ

2.Trade Area and Zone Planning วิเคราะห์พื้นที่ให้บริการจากตำแหน่งสาขาหรือจุดให้บริการ เช่น การกำหนดขอบเขตการให้บริการตามระยะเวลา ทำให้เห็นภาพพื้นที่ที่ครอบคลุม หรือพื้นที่ทับซ้อนกินพื้นที่กันเอง (Cannibalization) ซึ่งส่งผลกับยอดขายของธุรกิจ การวิเคราะห์โดยกำหนดตัวแปรจากเกณฑ์ยอดขาย (Threshold) เพื่อให้เห็นขนาดพื้นที่ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ สามารถนำมาประกอบการตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มตำแหน่งสาขา รูปแบบการให้บริการ หรือเพิ่มบริการ delivery รวมถึงการเลือกตำแหน่งจุดกระจายสินค้าที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง ตอบโจทย์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ รวมทั้งการวิเคราะห์ขอบเขตพื้นที่การขาย (Territory Design) สามารถกำหนดเงื่อนไขตามปัจจัยที่ต้องการ ช่วยให้ฝ่ายขายแบ่งพื้นที่การขายได้อย่างชัดเจน ลดการทับซ้อนของพื้นที่ปฏิบัติงาน เสริมประสิทธิภาพการขายนำมาซึ่งยอดขายที่เพิ่มขึ้น

“จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้ธุรกิจค้าปลีกอีคอมเมิร์ซโตสวนกระแส จากผลสำรวจของ Priceza เผยตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซไทยอาจพุ่งสูงถึง 220,000 ล้านบาท โดยในปี 2563 มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น 35% จากปีก่อนหน้าและยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากพฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนไป ด้านธุรกิจค้าปลีกก็เริ่มปรับกลยุทธ์ เพิ่มการขายสินค้าออนไลน์ เพิ่มบริการในรูปแบบ Delivery และบริหารจุดกระจายสินค้าที่เหมาะสมเพื่อรองรับความต้องการที่มากขึ้นและลดต้นทุนค่าขนส่ง บริหารสต็อคสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ ปรับจำนวนคนทำงานหรือย้ายไปยังตำแหน่งที่ตั้งที่ดีกว่า ใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพิ่มจุดให้บริการ self-service ให้ตรงกับความต้องการของแต่ละสาขา ตามเทรนด์ลูกค้าที่ปรับมาใช้รูปแบบการให้บริการตัวเองมากขึ้น จะเห็นว่าธุรกิจค้าปลีกต้องมีการปรับตัว เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ และใช้ประโยชน์จากโซลูชันวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลไม่ว่าจะเป็น สาขา ลูกค้า หรือแม้กระทั่งคู่แข่ง และการมองภาพรวมของสาขาที่มีอยู่และรูปแบบการให้บริการของแต่ละสาขามากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจก้าวทันความต้องการของลูกค้า และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ” นางสาวธนพร กล่าวทิ้งท้าย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img