วันจันทร์, กันยายน 30, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“ปชป.”ค้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯฉบับ“ก.ก.” ย้ำชัดเจน“ต้องไม่ล้างผิดคดีม.112”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ปชป.”ค้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯฉบับ“ก.ก.” ย้ำชัดเจน“ต้องไม่ล้างผิดคดีม.112”

ปชป.ไม่เอาด้วย ค้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษฯฉบับ “ก.ก.”ย้ำต้องไม่ล้างผิดคดี 112 เพราะจะกลายเป็นปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

เมื่อวันที่ 3 ก.พ.67 นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กรณีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การนิรโทษกรรมคดีทางการเมืองนั้น พรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยกับการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางเรื่องของกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้เกิดความชัดเจน ทั้งเรื่องเจตนารมณ์ในการนิรโทษกรรม ฐานความผิดที่อยู่ในข่ายจะได้รับการนิรโทษกรรม และกระบวนการการพิจารณาพิจารณาวินิจฉัยว่าบุคคลใดบ้างที่จะได้รับประโยชน์จากกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งจำเป็นต้องแยกให้ชัดว่าคดีประเภทใดที่เกิดขึ้นจากมูลเหตุจูงใจทางการเมือง เหตุเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองความคิด ความคิดทางการเมือง ต้องพิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบ

โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า สำหรับร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับของพรรคก้าวไกลที่ถูกบรรจุอยู่ในระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเข้าสู่การพิจารณาในวาระหนึ่งนั้น พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยในหลายประเด็น ทั้งเรื่องการกำหนดความผิด อำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด บุคคลที่จะได้รับการนิรโทษกรรมจากร่างพ.ร.บ.นี้ซึ่งจะรวมคดีเกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพราะเป็นการตั้งใจกระทำความผิดโดยมีมูลเหตุจูงใจมาจากวาระที่ซ่อนเร้น และจะกลายเป็นปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมให้กับผู้ที่มีคดีทุจริตและคดีอาญาสำคัญๆที่เป็นความผิดต่อชีวิตความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ และความผิดในทางแพ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ร้ายแรงดังกล่าว

นายราเมศ กล่าวว่า นอกจากนี้ การที่บทบัญญัติในมาตรา 5 ของร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด ซึ่งมีนักการเมืองผู้มีส่วนได้เสีย ผู้พิพากษา และตุลาการ ร่วมเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการนี้ จะทำให้ขัดต่อกระบวนการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายตุลาการ อีกทั้งจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ถ้าไปดูอำนาจของคณะกรรมการชุดนี้ จะเห็นได้ว่ามีการกำหนดอำนาจไว้มากกว่าอำนาจตุลาการ ไม่ว่าจะเป็นการวินิจฉัยฐานความผิดการวินิจฉัยในข้อสงสัยว่าคดีใดจะอยู่ภายใต้ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมนี้หรือไม่ กำหนดให้มีอำนาจสั่งให้ศาลระงับการพิจารณาคดี สั่งให้มีการปล่อยตัวจำเลย ร่างกฎหมายฉบับนี้ส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั้งระบบ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img