วันอังคาร, ตุลาคม 1, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightฟันเปรี้ยง!“พิธา”รอดคดีหุ้น “ดร.พิชาย”เชื่อ “กกต.”ยุติดำเนินการตามม.151
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ฟันเปรี้ยง!“พิธา”รอดคดีหุ้น “ดร.พิชาย”เชื่อ “กกต.”ยุติดำเนินการตามม.151

ดร.พิชาย”ฟันเปรี้ยง 6 ปมทำคดีหุ้นไอทีวีจบ “พิธา”รอด คาดกกต.จะยุติการดำเนินการตามม.151 และคงไม่มีใครกล้าเสี่ยงยื่นนี้ต่อศาลรธน. เพราะดีไม่ดีต้องจบชีวิตในคุก

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ผศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อดีตรองคณบดีคณะพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้โพสต์ข้อความระบุว่า คดีหุ้น itv จบแล้ว

ประการที่ 1. นายพิธา เป็นผู้จัดการมรดก หุ้น itv เป็นของกองมรดก ไม่ใช่ของนายพิธา แม้ว่านายพิธา เป็นหนึ่งในทายาท แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้แบ่งมรดกส่วนนี้ให้ใคร ก็หมายความว่ายังไม่มีทายาทคนใดเป็นเจ้าของหุ้นนี้ ดังนั้นที่ผ่านมาจะถือว่านายพิธาครอบครองหุ้นไม่ได้ (ปัจจุบันหุ้นส่วนนี้ได้โอนให้ทายาทคนอื่นไปแล้ว)

ประการที่ 2. แม้อาจมีใครที่ ตีความว่านายพิธา ถือหุ้นสื่อ และส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญก็อาจยกคำร้องด้วยเหตุผลในข้อ 1 แต่ถ้ารับคำร้อง นายพิธาก็ยังคงมีโอกาสรอดสูง เพราะบรรทัดฐานของคดีปกครองและคดีรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา มีความสอดคล้องกัน ดังนี้

“การที่จะพิจารณาว่า บุคคลใดเป็นหรือเคยเป็นกรรมการ หรือผู้ถือหุ้น #ในบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียง หรือไม่ นั้น #จะต้องพิจารณาตรวจสอบตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏ ว่า บริษัทได้ประกอบกิจการจริงหรือไม่ #มิใช่พิจารณาเพียงวัตถุประสงค์ของบริษัท เท่านั้น”

ศาลรัฐธรรมนูญในเดือนตุลาคม 2563 ก็พิพากษากรณีถือหุ้นสื่อของน.ส.ภาดาท์ วรกานนท์ ส.ส.กทม. เขต 6 พรรคพลังประชารัฐ ตามแนวนี้ และในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 963/2565 (ประชุมใหญ่) ระบุชัดว่า

“การพิจารณาวัตถุประสงค์ของบริษัทตามที่ระบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิแต่เพียงอย่างเดียว แล้วมีมติว่า บริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการโทรคมนาคม โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐานอื่นใดที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทดังกล่าวได้ประกอบกิจการโทรคมนาคม กรณีจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย”

( เพจบรรทัดฐานคดีปกครองและคดีรัฐธรรมนูญ 7 มิถุนายน 2566)

ประการที่ 3. ล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2566 กรณีถือหุ้นสื่อของ นายชาญชัย ผู้สมัคร ส.ส. จ.นครนายก พรรค ปชป. ศาลฎีกา ก็ใช้แนวทางนี้ และยังได้นำเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาร่วมวินิจฉัยด้วย นั่นคือหากถือหุ้นในสัดส่วนน้อย จะไม่สามารถครอบงำสื่อได้ จึงคืนสิทธิการสมัคร ส.ส.แก่นายชาญชัย

ประการที่ 4. ด้วยข้อเท็จจริงเหล่านี้ จึงทำให้ขบวนการสกัดนายพิธา พยายามที่จะรื้อฟื้นความเป็นสื่อแก่ itv โดยหวังว่าจะเพิ่มน้ำหนักแก่ข้อกล่าวหา แต่ก็ถูกเปิดโปงเสียก่อน จนทำให้หลักฐานที่พยายามสร้างเพื่อแสดงความเป็นสื่อของ itv สูญสิ้นความน่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิง

ประการที่ 5. และถึงแม้ว่าจะรื้อฟื้นความเป็นสื่อได้ ก็ยังต้องเจอกับคำตัดสินล่าสุดของศาลฎีกาที่ยึดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะหุ้นที่อ้างว่านายพิธา ถือครองนั้นมีสัดส่วนเพียงประมาณ 0.0035% เท่านั้น ซึ่งไม่สามารถมีอิทธิพลใด ๆ ต่อ การครอบงำไอทีวีแต่อย่างใด

ประการที่ 6.สรุปนายพิธาก็จะรอด เพราะ 1) นายพิธาเป็นผู้จัดการมรดก ไม่ได้ครอบครองหุ้น ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2) ตามข้อเท็จจริง ไอทีวีก็ไม่ถือว่าเป็นสื่อแล้วตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา

3) สัดส่วนหุ้นที่ก็น้อยมาก ซึ่งไม่สามารถครอบงำได้

คดีหุ้นสื่อ ไอทีวีจึงจบลงด้วยประการฉะนี้ คาดว่า กกต.คงจะยุติการดำเนินการตามมาตรา 151 ในไม่ช้า และคาดว่าคงไม่มีใครกล้าเสี่ยงเอาเรื่องนี้ไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญอีก ไม่ว่าจะเป็น กกต. หรือ ส.ส. เพราะหากยื่นอาจเข้าข่ายการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหากนำเอกสารที่พยายามรื้อฟื้นความเป็นสื่อให้แก่ไอทีวียื่นเป็นหลักฐานต่อศาล อาจจะต้องเผชิญความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องกลับตามมาตรา 143 ของ พรป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และดีไม่ดีต้องจบชีวิตในคุก

ส่วนคนที่ใช้กฎหมายอาญา มาตรา 157 เพื่อขู่ให้ กกต. ยื่นเรื่องก็รอดตัวไป เพราะได้โยนเผือกร้อนไปให้ กกต. ไปแล้ว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img