วันอาทิตย์, กันยายน 29, 2024
spot_img
หน้าแรกEXCLUSIVEลุ้น!ใครได้นั่งผบ.ตร.คนที่ 15 เดือนต.ค. “อาวุโส-ความรู้-แรงหนุนการเมือง”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ลุ้น!ใครได้นั่งผบ.ตร.คนที่ 15 เดือนต.ค. “อาวุโส-ความรู้-แรงหนุนการเมือง”

เมื่อวันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา มีการเผยแพร่คำสั่งของ “นายกฯแพทองธาร ชินวัตร” ลงนามคำสั่งสำนักนายกฯ ให้ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร รอง ผบ.ตร. รักษาราชการในตำแหน่ง ผบ.ตร. ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.67 เป็นต้นไป

สำหรับสาเหตุของความล่าช้าในการแต่งตั้ง ผบ.ตร.ในครั้งนี้ เพราะกฎ ก.ตร.ที่เกี่ยวกับการแต่งตั้ง จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 ต.ค. ดังนั้นการแต่งตั้ง ผบ.ตร. คนที่ 15 จึงต้องมีผลหลังจากนั้น

โดยขณะนี้ นายกรัฐมนตรียังไม่ได้กำหนดวันประชุม ก.ตร. พิจารณาแต่งตั้ง ผบ.ตร. เชื่อว่าจะมีการประชุมหลังวันที่ 2 ต.ค. และจะแต่งตั้ง ผบ.ตร.คนใหม่ได้แล้วเสร็จ ภายในเดือนต.ค.นี้

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์

สำหรับแคนดิเดต ผบ.ตร. 3 คน ในขณะนี้ คือ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร., พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ไกรบุญ ทรวดทรง จเรตำรวจแห่งชาติ จะต้องส่งข้อมูลผลงานที่เคยรับราชการมาให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา ก่อนวันประชุม ก.ตร.แต่งตั้ง ผบ.ตร.

หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้เสนอรายชื่อในที่ประชุมให้ ก.ตร.ให้ความเห็นชอบ โดยการพิจารณาแต่งตั้งครั้งนี้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ความอาวุโส และความรู้ความสามารถด้านการสืบสวนปราบปราม ตามกฎหมาย พ.ร.บ.ข้าราชการตำรวจ 65

แต่ถึงขณะนี้ ยังมองข้ามชื่อของ “พล.ต.ท.ประจวบ วงศ์สุข” รักษาราชการแทน รอง ผบ.ตร. ที่จะเกษียณอายุราชการในปี 2568 ไปไม่ได้ เพราะเป็นตัวจริงเสียงจริง ที่มีความสนิทสนมชิดเชื้อกับ “บ้านจันทร์ส่องหล้า”

ที่ผ่านมา มีความพยายามแต่งตั้งนอกวาระไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ยังถูกคัดค้าน ดังนั้นต้องลุ้นว่า คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ “ก.ตร.” จะไฟเขียวให้มีการแต่งตั้งนอกวาระ ให้ “บิ๊กจวบ” เป็น รอง ผบ.ตร. ตัวจริง ในห้วงเวลาที่เหลือนี้หรือไม่ เพื่อจะมีชื่อเข้าไลน์ชิงเก้าอี้ “พิทักษ์ 1” ทันที

กฏเหล็ก พ.ร.บ.ตำรวจ 2565 แต่งตั้ง ผบ.ตร.คนที่ 15

สำหรับ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2565 ในมาตรา 77 การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งให้แต่งตั้งตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

(1) ตำแหน่ง “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศ “พลตำรวจเอก” ซึ่งดำรงตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ หรือ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

มาตรา 78 การคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 77 (1)(2)(3)(4)(5)(6) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(1) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 77 (1) ให้นายกรัฐมนตรีคัดเลือกรายชื่อพนักงานตำรวจผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 77(1) โดยคำนึงถึงอาวุโส และความรู้ความสามารถประกอบกัน

โดยเฉพาะประสบการณ์ในงานสืบสวนสอบสวนหรืองานป้องกันปราบปราม เสนอ ก.ตร.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลพระกรุณา เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง

ทั้งนี้ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ต้องการให้แต่งตั้งผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยให้คำนึงถึงความอาวุโส และความรู้ความสามารถประกอบกัน หมายความว่า ให้น้ำหนัก อาวุโสต้อง 50% และความรู้ความสามารถอีก 50% อย่างละเท่าๆ กัน

ดังนั้นคณะกรรมการที่พิจารณาต้องเอาอาวุโสขึ้นพิจารณาก่อน โดยแบ่งเป็นคะแนนอาวุโสกับความรู้ความสามารถอย่างละ 50% เท่าๆ กัน เมื่อเรียงอาวุโสแล้วใครอาวุโสสูงสุดในระดับ “พลตำรวจเอก” ด้วยกัน ตั้งแต่จเรตำรวจแห่งชาติ หรือรองผู้บัญชาการตำรวจ

เมื่อเรียงอาวุโสแล้วใครอาวุโสสูงสุดคนที่อาวุโสสูงสุด ก็จะได้คะแนนเต็ม 50% ส่วนคนที่รองลงมาก็เฉลี่ยลงมาว่าจะได้กี่ % โดยเอาคนอาวุโสสูงเป็น 100% โดยนับจากคนที่อาวุโสสูงสุดกับอายุราชการด้วย ก็จะได้คะแนนเต็ม 50%

ส่วนคนที่รองลงมาก็เฉลี่ยลงมาว่าจะได้กี่ % โดยเอาคนที่ได้ 50% เต็มคิดเป็น 100% โดยนับอาวุโสกับระยะเวลาอายุราชการ และคำนวณสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ออกมา

ส่วน 50% หลังให้พิจารณาแบ่งเป็น 5 สายงาน ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้พิจารณาแต่ให้คะแนนประสบการณ์งานสืบสวนสอบสวนและงานปราบปราม เป็นหลักมากกว่าคะแนนด้านอื่น

เพราะมาตรา 78 (1) เน้นคำว่า โดยเฉพาะประสบการณ์ในงานสืบสวนสอบสวน หรืองานป้องกันปราบปราม แต่ในสายงานอื่นก็ต้องมีคะแนนด้วย การกำหนดคะแนนต้องกำหนดให้เกิดความเป็นธรรม

ทั้งนี้ มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานไว้เช่น

งานสืบสวน 12 คะแนนงาน
งานสอบสวน 12 คะแนน
งานป้องกันปราบปราม 12 คะแนน
งานที่เหลืออีกสองด้านๆ ละ 7 คะแนน เป็น 14 คะแนน

รวมเป็น 50 คะแนน

ทั้งนี้ มีการกำหนดช่วงห่างการให้คะแนน ต้องกำหนดไว้เลยว่า ถ้าใครผ่านงานชนิดใดมามากน้อยเท่าใด แล้วจะได้คะแนนมากน้อยเท่าใด แต่ถ้าใครไม่ผ่านงานด้านใดมาเลย ต้องไม่มีคะแนน

ถือเป็นการกำหนดกรอบการให้คะแนนไว้ เพื่อป้องกันการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจของคณะกรรมการคัดเลือก เพื่อไม่ให้คะแนนของผู้เข้ารับการคัดเลือกแตกต่างกันอย่างมากนั่นเอง

…………

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img