วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTS“ศึกลดดอกเบี้ยนโยบาย” การันตีไม่มี“กนง.”นัดพิเศษ!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ศึกลดดอกเบี้ยนโยบาย” การันตีไม่มี“กนง.”นัดพิเศษ!

กลายมาเป็นกระแสอีกครั้ง!! กับเรื่องราวของเศรษฐกิจ เรื่องราวของการกระทุ้งให้ “แบงก์ชาติ” ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับชาวบ้าน ให้กับคนทำธุรกิจ

รัฐบาลโดยเฉพาะ “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ย้ำว่า การลดดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% ก็ช่วยให้ชาวบ้าน ช่วยให้ธุรกิจ มีต้นทุนลดลงไม่น้อย

แม้ในเชิงอิมแพค อาจไม่แรงทะลุขั้วหัวใจ แต่ก็ทำให้ชาวบ้าน ทำให้ธุรกิจ หายใจหายคอคล่องตัว เพิ่มมากขึ้น เดินหน้าใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น

ณ เวลานี้ ดูเหมือนว่า…ฟากฝั่งรัฐบาล จะตีอกชกตัวแรงอยู่ฝ่ายเดียว ขณะที่ฟากฝั่ง “แบงก์ชาติ” กลับนิ่งเฉย แล้วเลือกที่ตอบผ่าน “สื่อต่างชาติ” แทน

นอกจากนี้...คำตอบที่ตอบ!! ก็ไม่ได้สื่อความแบบที่ชาวบ้านชาวช่องเข้าใจ !!

“ถ้าลดดอกเบี้ย ก็ไม่ได้ทำให้นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายมากขึ้น หรือทำให้บริษัทจีน นำเข้าปิโตรเคมีจากไทยมากขึ้น หรือทำให้รัฐบาลกระจายงบประมาณได้เร็วขึ้น ทั้ง 3 ปัจจัยนี้ เป็นสาเหตุให้เศรษฐกิจชะลอตัว”

คำตอบนี้!! ยิ่งกลายเป็นแรงเสียดทาน แรงต่อต้านจากสังคมมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นคำตอบที่ไม่ตรงคำถาม แม้ยืนยันว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้วิกฤติ อย่างที่รัฐบาลตอกย้ำ ก็ตาม

ที่สำคัญ…คำตอบที่ว่า ทัศนคติของรัฐบาลกลาง ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเป็นอิสระของธนาคารกลาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน

นั่น!!เท่ากับ…เป็นการส่งสัญญาณบางอย่างถึงรัฐบาลเช่นกัน

แม้จะตบท้ายคำตอบที่ว่า เราสวมหมวกที่แตกต่างกัน ไม่มีเหตุผลใด ที่จะทำงานร่วมกันไม่ได้ เพราะ…มีบทบาทที่แตกต่างกันในการปฎิบัติตามกฎหมาย

จนถึงขณะนี้ การใช้ “ความนิ่ง” สยบความเคลื่อนไหว ยิ่งเหมือนกับการแหย่รังแตน โดย “นายกฯเศรษฐา” เอง ก็ยืนหยัดที่จะบอก “แบงก์ชาติ” ต่อไปอีก ไม่ว่าจะเป็นครั้งที่ 4 ครั้งที่ 5 ก็จะส่งสัญญาณต่อไป โดยใช้เหตุและผล เพราะตัวเลขการชี้นำของเศรษฐกิจที่ออกมา ต่างบ่งบอกอะไรได้หลายอย่าง


ก่อนหน้านี้แบงก์ชาติ ได้รายงานถึง 4 เหตุผลสำคัญ ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งล่าสุด ยังไม่ปรับลดดอกเบี้ยลง โดยมีมติ 5 ต่อ 2 เสียง

เหตุผลแรก…คณะกรรมการมองว่า เป็นเพราะเศรษฐกิจขยายตัวชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา หลังจากแรงส่งจากต่างประเทศที่น้อยลงและผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง

เหตุผลที่สอง...การลดดอกเบี้ย จะเพิ่มแรงส่งต่อเศรษฐกิจได้ไม่มากนัก ท่ามกลางอุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องและไม่สามารถแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ

ที่สำคัญ!! ยังเป็นการใช้พื้นที่นโยบาย ที่มีจำกัด อย่างไม่คุ้มค่า อีกต่างหาก…

เหตุผลที่สาม… ปัญหาเชิงโครงสร้างอาจมีนัยต่ออัตราดอกเบี้ยที่เป็นกลาง ซึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพ การขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่ผลกระทบนี้อาจมีไม่มาก รวมทั้งมีความไม่แน่นอนสูง จึงควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ความชัดเจนมากขึ้น

เหตุผลที่สี่…ต้นทุนของการดําเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเกินไป คือ…การกระตุ้นการสร้างหนี้ใหม่ให้กับระบบเศรษฐกิจที่ปัจจุบันก็อยู่ระดับสูงมากอยู่แล้ว และอาจทําให้กระบวนการลดหนี้ ที่กําลังคืบหน้าหยุดชะงัก จนนำไปสู่การแสวงหาผลตอบแทนที่เสี่ยงมากขึ้น

จนสุดท้าย… ก็นำไปสู่การลดทอนแรงจูงใจในการพัฒนาด้านศักยภาพการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรน้อยลง  ขณะเดียวกันยิ่งทำให้ความเปราะบางในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นไปอีก

ความเห็นต่างของผู้บริหารประเทศ ขณะที่อีกหมวก กำกับดูแลนโยบายการคลังของประเทศ ด้านอีกฟาก เป็นผู้กำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศ

แต่ละฝ่าย!! ทำหน้าที่แตกต่างกัน ต่างยืนหยัดอยู่บนข้อมูลเศรษฐกิจของตนเอง ฝ่ายหนึ่งเปรียบเหมือนเป็น “คันเร่ง” เพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้า อีกฝ่าย ต้องทำหน้าที่เป็น “เบรก”  เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจร้อนแรงจนเกินไป

แม้ไม่ใช่ครั้งแรก กับความเห็นต่างที่เกิดขึ้น แต่ด้วยความเป็น “อิสระ” ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน

กูรูเศรษฐศาสตร์หลายสำนักต่างฟันธง “กนง.นัดพิเศษ” ไม่มีแน่!!

…………..

คอลัมน์ : EC Focus by Virgo

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img