วันพุธ, เมษายน 17, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSเจาะรายตัว4ผู้สมัคร-สรรหา“ผู้ว่าฯกฟผ.” เต็งหนึ่ง “เทพรัตน์ เทพพิทักษ์” นอนมา
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เจาะรายตัว4ผู้สมัคร-สรรหา“ผู้ว่าฯกฟผ.” เต็งหนึ่ง “เทพรัตน์ เทพพิทักษ์” นอนมา

การสรรหา “ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” (กฟผ.) เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าจับตามองในตอนนี้ ว่าผู้สมัคร 4 ราย ประกอบด้วย “เทพรัตน์ เทพพิทักษ์” รองผู้ว่าการประจำสำนักผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่, “ทิเดช เอี่ยมสาย” รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน, “นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์” รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง, “จิราพร ศิริคำ” รองผู้ว่าการธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ใครจะได้เป็นผู้ว่าการกฟผ. คนที่ 16 ต่อจาก “บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร” ผู้ว่าการกฟผ.คนปัจจุบัน ที่ครบวาระในวันที่ 21 ส.ค.นี้

ทั้งนี้วงนอกที่เป็นสายข่าวพลังงาน ระบุว่า คนที่เป็นตัวเต็งที่ได้รับตำแหน่งผู้ว่าการกฟผ. คนที่ 16 นั้น เป็น “เทพรัตน์ เทพพิทักษ์” เพราะถูกวางตัวไว้ตั้งแต่แรก และยังมีประสบการณ์ด้านธุรกิจผลิตไฟฟ้าทั้งในช่วงที่เคยดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน และการดำรงตำแหน่งซีอีโอ เอ็กโก กรุ๊ปในปัจจุบัน จากประสบการณ์นี้เป็นข้อได้เปรียบคู่แข่ง ขณะเดียวกันแหล่งข่าวจากสายข่าวพลังงานยังบอกว่า “เทพรัตน์” สามารถเข้าได้กับทุกขั้วของการเมือง

ส่วน “นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์” รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง วงในให้จับตาว่า มีโอกาสสูงสุดที่จะได้เป็นผู้ว่าการ กฟผ. ถึงแม้จะมีอายุน้อยสุด คือ 52 ปีก็ตาม ซึ่งวงในเล่าว่า “นิทัศน์” แซงหน้ารุ่นพี่ขึ้นเป็นรองผู้ว่าการ กฟผ.ได้ แสดงว่าก็ มี “บิ๊กวงการพลังงาน” หนุนหลัง หาก “นิทัศน์” ได้เป็นผู้ว่าการ กฟผ.คนที่ 16 เลย ก็จะทำให้มีอายุงานมากถึง 8 ปี แต่หากไม่ได้เป็นผู้ว่าการ กฟผ. ก็ยังมีโอกาสได้เป็นในสมัยหน้า ในขณะเดียวกันนี้ คนวงในกฟผ.ก็มองว่า “นิทัศน์” เพิ่งจะขึ้นเป็นรองผู้ว่าการไม่นานเพียง 4 เดือน โดยรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 เรียกได้ว่าประสบการณ์น้อยกว่าผู้สมัครรายอื่นๆ หากได้ขึ้นเป็นผู้ว่าการเลย ก็อาจจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ได้ว่าข้ามหัวรุ่นพี่

เทพรัตน์ เทพพิทักษ์-ทิเดช เอี่ยมสาย-นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์-จิราพร ศิริคำ

สำหรับผู้สมัครหญิงคนเดียว “จิราพร ศิริคำ” ได้ข่าวว่า คนในกฟผ. รวมถึงสายข่าวพลังงานอยากเห็นเป็นผู้ว่าการ กฟผ.เป็นผู้หญิงคนแรก ด้วยประสบการณ์เป็นรองผู้ว่าการ กฟผ.มากว่า 3 ปี แต่การจะได้เป็นผู้ว่าการ กฟผ.นอกจากบารมีแล้วที่สำคัญ คือมี “บิ๊กการเมือง-บิ๊กพลังงาน” หนุนหลังด้วย อย่างไรก็ตาม วงนอกที่เป็นสายข่าวพลังงานเล่าว่า หาก “จิราพร” ไม่ได้เป็นผู้ว่าการกฟผ. ก็อาจจะได้โยกไปรับตำแหน่ง “ซีอีโอ เอ็กโก กรุ๊ป”

ในขณะที่ “ทิเดช เอี่ยมสาย” คนนี้แม้จะมีกระแสการตอบรับที่เงียบกว่าผู้สมัครรายอื่น แต่ก็มองข้างไม่ได้ เพราะอาจจะเป็นม้ามืดแซงทางโค้งก็เป็นได้ เพราะที่เงียบๆ ก็มีหลายรายให้เห็นกันมาแล้วที่ลงชิงตำแหน่งระดับผู้บริหารด้านพลังงานมาเงียบๆ แต่ได้ตำแหน่งเฉยเลย

ด้าน “นันธิกา ทังสุพานิช” ประธานกรรมการสรรหาผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า กฟผ. ได้เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม-3 กุมภาพันธ์ 2566 โดยขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการสรรหาฯจะทำการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครโดยละเอียด และเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือก โดยให้ผู้สมัครแสดงวิสัยทัศน์และเข้ารับการสัมภาษณ์ ก่อนสรุปผลการคัดเลือกและเสนอรายชื่อผู้เหมาะสมต่อคณะกรรมการ กฟผ. เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การสรรหาผู้ว่าการ กฟผ.ในครั้งนี้ ได้เร่งดำเนินการกำหนดวันสัมภาษณ์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในวันที่ 14 มีนาคม 2566 เพราะอาจจะเป็นการประชุม ครม.นัดสุดท้าย ซึ่งก็ต้องลุ้นว่า เก้าอี้ผู้ว่าการ กฟผ.จะไปออกที่ใคร???

…………………………………………..

คอลัมน์ : เข็มทิศพลังงาน

โดย…“ไรวินทร์”

สนับสนุนคอลัมน์ โดย :  บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img