วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTS“แผน PDP 2022” เสร็จกลางปี 2566 “สนผ.”รอเสนอให้“รัฐบาลใหม่”อนุมัติ!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“แผน PDP 2022” เสร็จกลางปี 2566 “สนผ.”รอเสนอให้“รัฐบาลใหม่”อนุมัติ!

แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือ แผน PDP 2022 ระหว่างปี ค.ศ.2022-2037 เป็นแผนผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ของประเทศนั้น มีการดำเนินการจัดทำแผนมากว่า 2 ปี แต่ยังไม่เสร็จ

เดิมกระทรวงพลังงานเคยตั้งเป้าแล้วเสร็จพร้อมประกาศใช้แผนในปี 2565 แต่ก็ต้องล่าช้า เพราะมีการปรับแก้กันหลายครั้ง และมีการยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับคำร้องคดีกระทรวงพลังงานให้เอกชนมีส่วนร่วมผลิตไฟฟ้า จนทำให้สัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าของรัฐลดต่ำกว่า 51% ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากเห็นว่า ภาครัฐได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องแล้ว

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการจัดทำแผน หวังให้เสร็จพร้อมกับได้รัฐบาลชุดใหม่ โดยการจัดทำแผน PDP 2022 ต้องสอดคล้องกับเทรนด์การใช้พลังงานในปัจจุบันที่มุ่งเน้นพลังงานสะอาด เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ไทยจะบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-zero GHG emission) ภายในปี ค.ศ.2065 โดยคาดว่าจะมีการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 50%

วัฒนพงษ์ คุโรวาท

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท อำนวยการ สนพ. ระบุว่า สนพ. อยู่ระหว่างเร่งดำเนินการจัดทำแผน PDP 2022 ซึ่งในขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้ว แต่คงไม่ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะระฐมนตรี (ครม.) ของรัฐบาลชุดนี้ ต้องรอเสนอ ครม. ในรัฐบาลใหม่ ดังนั้นการจัดทำแผนต้องดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับการเลือกตั้ง เมื่อได้รัฐบาลชุดใหม่ สนพ.ก็พร้อมเสนอ ครม. ให้พิจารณาอุมัติแผนทันที โดยการจัดทำแผน PDP คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในกลางปี 2566 ทั้งนี้แผน PDP ฉบับใหม่จะเน้นการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม

อนึ่งแผน PDP 2022 ฉบับนี้ ได้ให้ความสำคัญในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1.เน้นความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ (Security) เพื่อให้มีความมั่นคงครอบคลุมทั้งระบบผลิตไฟฟ้า ระบบส่งไฟฟ้า และความมั่นคงรายพื้นที่คำนึงถึงผู้ใช้ไฟฟ้านอกระบบ (IPS) รวมถึง Disruptive Technology เพื่อให้ระบบผลิตไฟฟ้ามีความยืดหยุ่นเพียงพอต่อการรองรับ Energy Transition

กังหันลม

2.ต้นทุนค่าไฟฟ้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม (Economy) อัตราค่าไฟฟ้ามีเสถียรภาพ สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงประชาชนไม่แบกรับภาระอย่างไม่เป็นธรรม และไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว และ 3.ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Ecology) จำกัดปริมาณการปลดปล่อย CO2 ให้สอดคล้องตามเป้าหมายแผนพลังงานชาติ และเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะยาวของประเทศ (LTS) ตามนโยบาย Carbon neutrality และ Net zero emission

ด้าน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ (กฟผ.) โดยแหล่งข่าว ระบุว่า ได้เสนอให้กระทรวงพลังงานพิจารณาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ (Hydro-floating Solar Hybrid) ในเขื่อนของกฟผ. รวมกำลังการผลิต 10,416 เมกะวัตต์ให้บรรจุในแผน PDP 2022 ซึ่งในขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะสามารถดำเนินการได้ตามศักยภาพหรือไม่อย่างไร เพราะต้องไปศึกษาในด้านเทคนิคเพิ่มเติมว่าการลงทุนในแต่ละเขื่อนจะมีขีดจำกัด หรือมีอุปสรรคในการดำเนินการติดตั้ง หรือจะกระทบต้องสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็ต้องเสนอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาด้วย

………….

คอลัมน์ : เข็มทิศพลังงาน

โดย…“ไรวินทร์”

สนับสนุนคอลัมน์ โดย :  บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img