วันพุธ, ตุลาคม 9, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTSซื้อไฟจากเขื่อนลาวเพิ่ม!! เอกชนไทยได้ประโยชน์ ‘ปชช.’เสี่ยงรับภาระค่าไฟเพิ่ม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ซื้อไฟจากเขื่อนลาวเพิ่ม!! เอกชนไทยได้ประโยชน์ ‘ปชช.’เสี่ยงรับภาระค่าไฟเพิ่ม

สปป.ลาว เรียกได้ว่าเป็น ‘แบตเตอรี่’ ของอาเซียน เพราะมีเขื่อนผลิตไฟฟ้าจำนวนมาก ปัจจุบัน สปป.ลาวมีเขื่อนผลิตไฟฟ้ากว่า 78 แห่ง กำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 9,972 เมกะวัตต์

ในขณะที่ประเทศไทย โดย กระทรวงพลังงาน และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีการลงนามกรอบข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ได้มีการลงนามกรอบข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) รับซื้อไฟฟ้าจากสปป.ลาวไว้ 10,500 เมกะวัตต์ จากเดิม 9,000 เมกะวัตต์ สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP ฉบับใหม่) ที่ต้องการมุ่งเน้น การใช้พลังงานสะอาด เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ไทยจะบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ.2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-zero GHG emission) ภายในปี ค.ศ.2065

ทั้งนี้จากกรอบความกรอบความร่วมมือดังกล่าว เป็นปัจจับบวกต่อกลุ่มผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าของไทยที่ได้เข้าไปลงทุนใน สปป.ลาว หลายบริษัท โดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่ผ่านมาก็ได้มีมติเห็นชอบรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในสปป.ลาว ไม่ว่าจะเป็น โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบาง ขนาดกำลังการผลิต 1,460 เมกะวัตต์ โดย บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP เป็นผู้พัฒนาโครงการ และดำเนินกิจการ ได้อัตราค่าไฟฟ้า 2.8432 บาทต่อหน่วย กำหนดจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ (COD) เดือนมกราคม 2573 อายุสัญญารับซื้อไฟฟ้า 35 ปี โดย CKP ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้า (Tariff MOU) กับ กฟผ. เมื่อเดือนเมษายน 2565

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำปากแบง (Pak Beng) ขนาดกำลังการผลิต 912 เมกะวัตต์ ของ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF เป็นผู้พัฒนาโครงการ และดำเนินกิจการ อัตราค่าไฟฟ้า 2.9179 บาทต่อหน่วย กำหนด COD เดือนมกราคม 2576 อายุสัญญารับซื้อไฟฟ้า 29 ปี โดย GULF ซึ่งโครงการนี้ GULF ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้ากับกฟผ. เมื่อเดือนเมษายน 2565

โครงการ Pak Lay ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้า 770 เมกะวัตต์ โดยมีบริษัท GULF เป็นผู้พัฒนาโครงการ และดำเนินกิจการ ได้อัตราค่าไฟฟ้า 2.9426 เมกะวัตต์ กำหนด COD เดือนมกราคม 2575 อายุสัญญารับซื้อไฟฟ้า 29 ปี ล่าสุดเพิ่งลงนามบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้ากับกฟผ. เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 3 ขนาดกำลังการผลิต 468 เมกะวัตต์ บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดเป็นผู้พัฒนาโครงการ และดำเนินกิจการได้รับอัตราค่าไฟฟ้า 2.8934 บาทต่อหน่วย กำหนด COD เดือนมกราคม 2569 อายุสัญญารับซื้อไฟฟ้า 27 ปี คาดว่าจะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจการรับซื้อไฟฟ้ากับกฟผ. ในเร็วๆนี้

นอกจากนี้ล่าสุด กพช.ได้เห็นชอบให้กฟผ.ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซกอง 4A และ 4B ในสปป.ลาว ขนาดกำลังการผลิต 347 เมกะวัตต์ โครงการนี้ RATCH ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นหลักในสัดส่วนร้อยละ 60 BGRIM ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 20 และ Lao World Engineering & Construction Co., Ltd. ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 20 กำหนด COD เดือน ม.ค. 2576 อายุสัญญารับซื้อไฟฟ้า 27 ปี

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากวงการข่าวพลังงาน ระบุว่า จากการเห็นชอบรับซื้อไฟฟ้าในสปป.ลาว เพิ่มส่งผลให้การจัดหาไฟฟ้ากำลังการผลิตตามสัญญาสูงขึ้นประมาณ 50,000 เมกะวัตต์ ขณะที่ปริมาณการใช้ไฟฟ้าในประเทศทุกสาขาสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 33,000 เมกะวัตต์ ส่งผลให้มีปริมาณไฟฟ้าสำรองล้นมากเกินไปกว่า 66% โดยประมาณ จากปกติกำหนดให้มีปริมาณไฟฟ้าสำรองเพียง 15% เท่านั้น

จากปริมาณไฟฟ้าสำรองที่เพิ่มมากขึ้นเกินความจำเป็นทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นในระยะยาวตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งจากการอนุมัติซื้อไฟฟ้าจาก 5 เขื่อนขนาดใหญ่ จากสปป.ลาว คือ เขื่อนน้ำงึม 3 เขื่อนปากลาย เขื่อนปากแบง เขื่อนหลวงพระบาง และ เขื่อนเซกอง 4A และ 4B ในราคารับซื้อที่แพงกว่าค่าไฟฟ้ารับซื้อจากสปป.ลาวอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่ราคา 1.95 บาท/หน่วย ดังนั้นอาจจะส่งต่อค่าไฟฟ้าแพงขึ้น

…………..

คอลัมน์ : เข็มทิศพลังงาน

โดย…“ไรวินทร์”

สนับสนุนคอลัมน์ โดย :  บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img