วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSส่อง“ธุรกิจ EV” ในไทยรถยนต์-สถานีชาร์จ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ส่อง“ธุรกิจ EV” ในไทยรถยนต์-สถานีชาร์จ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

จับตาธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (EV) (รถยนต์ไฟฟ้า) ปัจจุบันผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ อ้างอิงจากข้อมูลกรมขนส่งทางบก ยอดจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าสะสมทุกประเภทมีจำนวนกว่า 36,775 คัน (อ้างอิงสถิติการจดทะเบียนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566) และมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากเริ่มเห็นค่ายรถยนต์จากประเทศจีนมาเปิดตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่เห็นในตลาดก็มีแบรนด์ Haval (ฮาวาล), แบรนด์โอร่า ORA แบรนด์ NETA และ BYD ที่ย่อมาจาก Build Your Dreams เป็นต้น ขณะที่ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ยุโรป บางแบรนด์ที่มีฐานการผลิตในประเทศไทยอยู่แล้วก็เริ่มมีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าออกมาจำหน่ายเช่นกัน

ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ อาทิ รถบรรทุก รถขนส่ง รถหัวราก รถบัส รถเมล์ ก็มีทิศทางการเติบโตที่ดี โดยมีกลุ่มทุนไทยอย่าง บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) หรือ EA ที่ร่วมทุนกับ บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX จัดตั้งบริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด (AAB) โดย EA ถือหุ้น 55% และ NEX 45% ตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในไทย โดยโรงงานนี้มีความสามารถในการผลิตได้ 9,000 คันต่อวันต่อ 3 กะ ซึ่ง นายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NEX ระบุว่า ปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรในประเทศมาเลเซีย เพื่อขยายตลาดในประเทศมาเลเซีย ในขณะเดียวกันในปี 2567 ก็มีลงทุนแผนขยายโรงงานเพิ่ม เพื่อรองรับคำสั่งผลิต (Order) ที่เพิ่มขึ้น

EV Charging Station ปัจจัยสำคัญของการเติบโตรถยนต์ไฟฟ้า
อย่างไรก็ตามธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าจะเติบโตได้ก็ต้องมีผู้ให้บริการสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) หรือสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ารองรับที่เพียงพอ เพื่อความสะดวก สบายในการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันก็มีหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ลงทุนติดตั้งกันอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลอัปเดตเมื่อเดือนเมษายน 2566 สถานีชาร์จ EV Station Pluz ของบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ปัจจุบันมีจำนวน 200 สถานี และมีเป้าหมายขยายให้ครบ 450 สถานีสิ้นปี 2566 และ 7,000 สถานีภายในปี 2573

สถานีชาร์ชภายใต้แบรนด์ PEA VOLTA Station ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งหมด 163 สถานี โดยครอบคลุม 64 จังหวัด 130 อำเภอ มีหัวชาร์จให้บริการรวมทั้งหมด 593 หัวชาร์จ โดยตั้งเป้าสิ้นปีนี้ มีสถานีเพิ่มและครอบคลุม 75 จังหวัด

ส่วนบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ภายใต้แบรนด์ออน-ไอออน (on-ion) ปัจจุบันเปิดดำเนินการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแล้วทั้งหมด 53 สถานี 430 หัวจ่าย โดยเน้นขยายเครือข่ายไปยังพื้นที่ที่มีศักยภาพนอกสถานีบริการ อาทิเช่น ศูนย์การค้า, โรงแรม, อาคารสำนักงาน และ ร้านอาหาร เป็นต้น ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ และยังมีบริการติดตั้งเครื่อง EV Charger ตามที่พักอาศัยเพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทุกรูปแบบ


สถานีชาร์จแบรนด์ Elex by EGAT Station ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปัจจุบันมี 106 สถานี้ครอบคลุม 40 จังหวัด ในปี 2566 นี้ กฟผ. ตั้งเป้าขยายสถานีชาร์จไฟฟ้าทั่วประเทศให้มีจำนวนรวมกว่า 150 สถานีภายในปี 2566 เพื่อให้ครอบคลุมทุกจังหวัดมากขึ้น โดยแต่ละสถานีมีระยะห่างกันไม่เกิน 100 กิโลเมตร สามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน EleXA ได้ทุกสถานี

สถานีชาร์จแบรนด์ EA ANYWHERE ขยายได้มากที่สุดปัจจุบันสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว 491 สถานีครบคลุมทุกภาคของไทย ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้บริการหัวชาร์จ 2 ระบบ แบบ Normal Charge และ Quick Charge รองรับรถยนต์ไฟฟ้าทุกแบรนด์

ส่วนสถานีชาร์แบรนด์ MEA EV Charging Station ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ปัจจุบันมีสถานีบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าครอบคลุมกรุงเทพฯ จ.นนทบุรี และจ.สมุทรปราการ จำนวน 34 สถานี 138 หัวชาร์จ

อย่างไรก็ตามจากการรวมตัวเลขของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเฉพาะหน่วยงานและบริษัทด้านพลังงานของไทยมีประมาณ 1,047 สถานีที่เปิดให้บริการ โดยยังไม่ได้รวมของค่ายรถยนต์ต่างๆ ถือว่าเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ เรียกได้ว่าเป็นการช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจจะซื้อรถยนต์ได้เป็นอย่างดีว่าจะเลือกรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์สันดาป ซึ่งจากทิศทางการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นของทั้งสถานีชาร์จและรถยนต์ EV อย่างมีนัยยะสำคัญนั้นอนาคตอันใกล้จะได้เห็นรถยนต์ไฟฟ้ามีบทบาทมากขึ้นในประเทศไทย ทั้งในแง่ของการขนส่ง และการเดินทาง


สำหรับอัตราค่าบริการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในแต่ละสถานีนั้นมีอัตราค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันออกไปตามการเปิดแข่งขันแบบเสรี แบรนด์ EV Station Pluz ช่วง Peak ราคา 7.5 บาทต่อหน่วย สำหรับ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-22.00 น. และ ช่วง Off-Peak 4.5 บาทต่อหน่วย สำหรับ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 22.00
แบรนด์ PEA VOLTA Station ช่วง On Peak ราคา 7.9 บาทต่อหน่วย ช่วง Off Peak ราคา 4.5 บาทต่อหน่วย แบรนด์ Elex by EGAT Station คิดค่าบริการ ช่วง On Peak ราคา 7.5 บาทต่อหน่วย แบรนด์ EA ANYWHERE คิดค่าบริการช่วง On Peak ราคา 6.5 บาทต่อหน่วย แบรนด์ MEA EV Charging Station คิดค่าบริการช่วง On Peak ราคา 7.5 บาทต่อหน่วย แบรนด์ออน-ไอออน คิดค่าบริการช่วง On Peak ราคา 7.25 บาทต่อหน่วย ชาร์จที่บ้าน TOU คิดค่าบริการช่วง On Peak ราคา 5.x บาทต่อหน่วย ช่วง On Peak ราคา 2.6x บาทต่อหน่วย

…………………………

คอลัมน์ : เข็มทิศพลังงาน

โดย…“ไรวินทร์”

สนับสนุนคอลัมน์ โดย :  บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img