วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSส่องนโยบายพรรคการเมืองหนุน“รถ EV”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ส่องนโยบายพรรคการเมืองหนุน“รถ EV”

จับตา รัฐบาลชุดใหม่เดินหน้าพลักดันนโยบายการใช้และผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นนโยบายแห่งชาติได้หรือไม่ เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้-การผลิตในประเทศมากขึ้น ตอบรับกับเทรนด์การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า รถยนต์ EV จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

อย่างไรก็ตาม ใน “รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ได้ออกนโยบายลดภาษีประจำปีลง 80% สำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวที่จดทะเบียนตั้งแต่ 1 ต.ค.65-30 ก.ย.68 โดยลดลง 80% ของอัตราภาษีที่กำหนดเป็นเวลา 1 ปี (นับแต่วันที่จดทะเบียน) และการยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ประกอบ หรือผลิตในเขตปลอดอากรภาษี และเขตประกอบการเสรี ในปี 65-68

ทั้งนี้เมื่อไปดูนโยบายของพรรคการเมืองที่หาเสียงกัน ก็มีหลายพรรคที่ชูนโยบายสนับสนุนคนไทยใช้รถยนต์ EV ซึ่งบางนโยบายก็จะคล้ายๆ กัน อาทิ พรรคภูมิใจไทย มีนโยบายใช้รถเมล์ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ สนับสนุนใช้จักรยานยนต์ไฟฟ้า ผ่อนเดือนละ 100 บาท คันละ 6,000 บาท พรรคเพื่อไทย มีนโยบายเปลี่ยนรถเมล์ในกรุงเทพฯ ให้เป็นรถเมล์ไฟฟ้า ยกระดับไทยเป็นศูนย์ผลิตรถไฟฟ้า (EV Hub) ดันราคาลงให้คนใช้รถยนต์ EV มากขึ้น พรรคก้าวไกล เปลี่ยนรถเมล์เก่าเป็นรถเมล์ไฟฟ้า ทุกจังหวัด ภายใน 7 ปี เปลี่ยรถดีเซลเก่าให้เป็นรถยนต์ EV

พรรคไทยสร้างไทย เปลี่ยนรถน้ำมันเป็นรถยนต์ EV เพิ่มขึ้น 1 ล้านคัน จักรยานยนต์ไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 2 ล้านคัน ภายในปี 2567 ลดหย่อนภาษี 0% เป็นเวลา 3 ปี ราคารถ EV ถูกลง ให้ส่วนลดแลกซื้อรถ EV ราคาไม่เกิน 1,500,000 บาท (ส่วนลด 150,000-250,000 บาท) จักรยานยนต์ไฟฟ้า ราคาไม่เกิน 1 แสนบาท (ส่วนลด 25,000-35,000 บาท) เพิ่มสถานีชาร์จ 46,000 สถานี ภายในปี 2567 และเพิ่มเป็น 70,000 สถานี ภายในปี 2569

หากพรรคการเมืองเหล่านี้มาเป็นรัฐบาล ก็เชื่อว่านโยบายสนับสนุนการใช้รถยนต์ EV หากมาดำเนินการตามนโยบายก็จะเป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งก็จะมีไม่กี่กลุ่มที่ได้ประโยชน์ ขณะที่ประชาชนก็จะได้ประโยชน์ในแง่ของการได้ซื้อรถยนต์ EV ในราคาที่ถูกลง ส่วนเรื่องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนออกไซด์นั้นก็ต้องดูในระยะยาว ซึ่งการใช้รถยนต์ EV ไม่ได้ตอบโจทย์เสียทีเดียว ต้องไปดำเนินการด้านอื่นๆ ด้วย

สำหรับภาคเอกชนที่ได้รับประโยชน์ก็มีหลายกลุ่ม ซึ่งที่เห็นได้ชัดเจน ณ ปัจจุบันก็จะเป็น บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด (มหาชน) หรือ EA ที่ร่วมทุนกับ บริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX จัดตั้ง บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด (AAB) โดย EA ถือหุ้น 55% และ NEX 45% ตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในไทย ซึ่งในปีที่ผ่านมา รวมทั้งปีนี้มียอดสั่งผลิตรถยนต์ EV เชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็น รถบรรทุก รถขนส่ง รถหัวราก รถบัส รถเมล์ เป็นต้น มียอดสั่งผลิตเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด

โดยโรงงานนี้มีความสามารถในการผลิตได้ 9,000 คันต่อวันต่อ 3 กะ ซึ่ง “คณิสสร์ ศรีวชิระประภา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NEX ระบุว่า ปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรในประเทศมาเลเซีย เพื่อขยายตลาดในประเทศมาเลเซีย ในขณะเดียวกันในปี 2567 ก็มีลงทุนแผนขยายโรงงานเพิ่ม เพื่อรองรับคำสั่งผลิต (Order) ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในปี 2566 NEX ตั้งเป้าส่งมอบรถยนต์ EV เชิงพาณิชย์ 6,000 คัน

ในขณะเดียว “คณิสสร์” ก็ได้ฝากถึงรัฐบาลใหม่ในเรื่องการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกำหนดมาตรการสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าใน 4 เรื่องสำคัญ คือ

1.มาตรการกำหนดค่าไฟสำหรับสถานีให้บริการอัดประจุไฟฟ้า (ชาร์จไฟ) ที่แน่นอน เพื่อให้ผู้ประกอบไม่ต้องกังวลเรื่องค่าไฟที่ผันแปร ซึ่งทำให้เกิดความไม่คุ้มค่าในการลงทุนเปลี่ยนรถ

2.มาตรการกำหนดอายุการใช้งานของรถให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับสากล คือ รถแต่ละคันที่นำมาวิ่งบนท้องถนนต้องมีอายุการใช้งาน 7 ปี สูงสุดไม่เกิน 8 ปีเท่านั้น เพราะทุกวันนี้รถบางคันมีอายุการใช้งานมากถึง 30 ปี ทำให้ผู้ประกอบการไม่ได้แข่งขันกันที่คุณภาพการให้บริการ แต่แข่งขันกันในการทำให้ต้นทุนสินค้าถูกลง เพราะรถยิ่งเก่ามีอายุการใช้งานนานก็ยิ่งไม่มีต้นทุน แต่เสี่ยงอันตรายมีโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่ารถที่มีอายุการใช้งานน้อย ซึ่งหากมีการกำหนดอายุการใช้งานที่ชัดเจนจะทำให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น และยังเกิดการแข่งขันภายใต้มาตรฐานเดียวกันคือด้านคุณภาพอีกด้วย

3.มาตรการกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกสิบล้อสำหรับรถ EV ให้มากกว่ารถบรรทุกสิบล้อที่ใช้น้ำมัน จากปัจจุบันที่พ.ร.บ.ทางหลวง ได้กำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกสิบล้อรวมไม่เกิน 50.5 ตันต่อคัน ซึ่งถือว่าไม่เพียงพอสำหรับรถบรรทุกที่เป็น EV เนื่องจากรถ EV ต้องใส่แบตเตอร์รี่ให้เพียงพอต่อการวิ่งในแต่ละเส้นทาง ส่งผลให้น้ำหนักของตัวรถเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรกำหนดพิกัดน้ำหนักรถบรรทุก EV เพิ่มขึ้น 1-1.5 ตัน เพื่อให้เหมาะสมกับคุณลักษณะเฉพาะของรถ EV

4.มาตรการกำหนดช่วงเวลาเข้าเมืองของรถบรรทุก EV ควรมีชั่วโมงที่มากกว่ารถบรรทุกที่ใช้น้ำมัน เพราะรถบรรทุก EV เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

“นโยบายส่งเสริมรถ EV เป็นนโยบายที่ส่งผลดีไม่ใช่เฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยรอคอย ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะรัฐบาลใหม่และภาครัฐต้องรวมตัวช่วยกันผลักดันนโยบายการใช้รถ EV ให้เป็นนโยบายแห่งชาติ พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทยให้แข็งแกร่งมากขึ้น และสามารถยืนหยัดได้ทั่วโลกไม่เฉพาะในภูมิภาคเอเชียเท่านั้น” นายคณิสสร์ กล่าว

…………………………..

คอลัมน์ : เข็มทิศพลังงาน

โดย ..“ไรวินทร์”

สนับสนุนคอลัมน์ โดย :  บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img