วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSEnergy Transition ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนของภาคพลังงานทั่วโลก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

Energy Transition ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนของภาคพลังงานทั่วโลก

Success of Energy Transition Depends on a Transformation of Global Energy Sector

“…..เครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือน Virtual Power Plants : VPPs และแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Sources รูปแบบกระจาย แยกย่อย กำลังเข้ามาแทนที่โรงไฟฟ้าน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล และถ่านหินขนาดใหญ่ …”

ความสำเร็จของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition นั้น เกี่ยวข้องใกล้ชิด และขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของภาคพลังงานทั่วโลกขนานใหญ่จากแหล่งฟอสซิล ไปสู่คาร์บอนเป็นศูนย์ Fossil-Based to Zero-Carbon Sources ภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน Reducing Energy-Related CO2 Emissions รวมทั้ง เพื่อลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Mitigate Climate Change และจำกัดอุณหภูมิโลกให้อยู่ต่ำกว่าจุดเล็งที่ 1.5°C ของระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ..

อย่างไรก็ตาม การลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงาน Decarbonisation of the Energy Sector จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในระดับโลก เพื่อเร่งรัดให้เกิดการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก Global Energy Transition ขนานใหญ่ และตระหนักถึงความมุ่งมั่นของทุกผู้คนทั้งในระดับประเทศ และระดับภูมิภาคไปพร้อมด้วย ..

Energy Transition & Clean Technology | Credit : Good News Finland

แนวโน้มการเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานของโลก Global Energy Transitions นั้น สำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ International Renewable Energy Agency : IRENA ได้จัดทำแผนภูมิเส้นทางการพัฒนา เพื่อบรรลุสู่อนาคตที่ปลอดภัยต่อสภาพภูมิอากาศ Pathway to Achieving a Climate-Safe Future ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของนานาชาติตามข้อตกลงปารีส Paris Agreement .. เส้นทางอุณหภูมิที่จุดเล็ง 1.5°C ของพวกเขา นำเสนอแผนงานในการเร่งการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก Accelerating the Global Energy Transition โดยการวางตำแหน่งหมุดหมายซึ่งมุ่งเน้นไปที่การปรับไปใช้พลังงานไฟฟ้า และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Electrification & Energy Efficiency เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนแปลง Key Drivers of Change ด้วยการสนับสนุนจากพลังงานหมุนเวียน Renewables, พลังงานไฮโดรเจน Hydrogen Energy และพลังงานชีวมวลที่ยั่งยืน Sustainable Biomass Energy ..

การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี Technology Change จากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ไปเป็นพลังงานหมุนเวียน Renewables เท่านั้น แต่ยังต้องมีการบริหารจัดการกับพฤติกรรม และแง่มุมทางสังคม Social, เศรษฐกิจ Economic และสิ่งแวดล้อม Environment ของการพัฒนาพลังงานสะอาด Development of Clean Energies ไปพร้อมด้วย .. ความท้าทายนี้ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวิธีการแบบดั้งเดิมไปสู่การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานสะอาดรูปแบบกระจายใหม่ ๆ ที่หลากหลาย .. ทั้งนี้ หลักการของการพัฒนาที่ยั่งยืน Principle of Sustainable Development คือ รากฐานสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เพื่อก้าวไปข้างหน้าสู่การใช้พลังงานที่ยั่งยืน Sustainable Energy จากนี้ไป ..

กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเชิงรุก Aggressive Energy Efficiency Strategy ผสมผสานกับการเพิ่มการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewables เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels คือ เส้นทางที่สมเหตุสมผลที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2573 .. แต่การยกเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Phasing Out Fossil Fuels ถือเป็นงานที่ซับซ้อนสำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพาน้ำมัน Oil, ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas และถ่านหิน Coal เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคำนึงถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงการใช้แหล่งพลังงานที่เป็นธรรมทั้งสำหรับต่อภาคอุตสาหกรรม คนงาน เมือง และชุมชน .. การดำเนินการร่วมกัน และความร่วมมือระหว่างประเทศ จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้สำหรับความก้าวหน้าที่ทันเวลา ..

สถานการณ์การมุ่งจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้อยู่ต่ำกว่าจุดเล็ง 1.5°C ในระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมของมนุษยชาตินั้น คาดว่าจะต้องมีการลงทุนทั่วโลกอย่างน้อยประมาณ 5.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี จนถึงปี 2573 .. การตัดสินใจลงทุน มีอายุยืนยาว และมีความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่ค้างอยู่ในระดับสูง ดังนั้น การตัดสินตกลงใจจะต้องเป็นไปตามตรรกะระยะยาว Long-Term Logic .. แนวโน้มการเปลี่ยนผ่านพลังงานของโลก World Energy Transitions ประมาณการว่า การลงทุนสำหรับเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อปี Annual Investments in Fossil Fuels จำนวน 0.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ควรเปลี่ยนทิศทางไปสู่เทคโนโลยีการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition Technologies .. แม้ว่าเงินทุนเพิ่มเติมส่วนใหญ่คาดว่าจะมาจากภาคเอกชน แต่การสนับสนุนเงินทุนจากภาครัฐให้เพิ่มขึ้น 2 เท่า เพื่อกระตุ้นการเงินภาคเอกชน และช่วยสร้างเสริมสภาพแวดล้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง คือ สิ่งจำเป็นที่จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสังคมที่ดีที่สุด รวมถึงงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition-Related Jobs และการเพิ่มสูงขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมของแต่ละประเทศ หรือ Gross Domestic Product : GDP ..

นอกจากนี้ แต่ละประเทศ ยังจำเป็นต้องมีชุดของนโยบายภาครัฐที่ครอบคลุมทุกช่องทางด้านเทคโนโลยี Policies Covering All Technological Avenues เพื่อให้บรรลุเป้าหมายระดับที่จำเป็นในการดำเนินการ ภายในปี 2573 .. ทั้งนี้ มีเพียงกรอบนโยบายระดับโลกแบบองค์รวม Holistic Global Policy Framework เท่านั้น ที่สามารถนำพาประเทศต่างๆ มารวมกันเพื่อจัดเตรียมแผนงานสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรมซึ่งจะเสริมสร้างความเข้มแข็งของการไหลเวียนทางการเงินระหว่างประเทศ Strengthens International Finance Flows, ขีดความสามารถ Capacities และเทคโนโลยี Technologies โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง Leaves No One Behind .. ในทางกลับกัน นโยบายที่ก้าวหน้า และมาตรการกำกับดูแลที่เหมาะสม Progressive Policy & Regulatory Measures จะสามารถสร้างประโยชน์มากขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition สำหรับทุกคน ทุกชาติ และภูมิภาคของโลก ..

แนวทาง 6 วิธีการ เทคนิค และเทคโนโลยีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Reducing Emissions ภายในปี 2593 ..

เส้นทางไปสู่จุดเล็งที่ 1.5oC ของสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ International Renewable Energy Agency : IRENA นั้น ได้วางตำแหน่งการปรับไปใช้พลังงานไฟฟ้า และประสิทธิภาพ Electrification & Efficiency เป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ซึ่งขับเคลื่อนโดยพลังงานหมุนเวียน Renewables, ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และชีวมวลที่ยั่งยืน Sustainable Biomass .. แนวทางเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในวิธีที่สังคมของมนุษยชาติผลิต และใช้พลังงาน Way of Human Societies Produce & Consume Energy ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ได้เกือบอย่างน้อย 37 GT ต่อปี ภายในปี 2593 การลดลงเหล่านี้สามารถดำเนินการได้ผ่าน 6 วิธีการ เทคนิค และเทคโนโลยีของลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Reducing Emissions ได้แก่ :-

1) การเพิ่มกำลังการผลิต และการใช้พลังงานหมุนเวียนโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการใช้กำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Significant Increases in Generation & Direct Uses of Renewables-Based Electricity ..

2) การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างมีนัยสำคัญ Substantial Improvements in Energy Efficiency ..

3) การปรับไปใช้พลังงานไฟฟ้าของภาคส่วนการใช้งานปลายทาง The Electrification of End-Use Sectors เช่น ยานพาหนะไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs และปั๊มความร้อน Heat Pumps ..

4) ไฮโดรเจนสะอาดสีเขียว และอนุพันธ์ของมัน Green & Clean Hydrogen and Its Derivatives ..

5) พลังงานชีวภาพควบคู่ไปกับการดักจับ และจัดเก็บเก็บคาร์บอน  Bioenergy Coupled with Carbon Capture & Storage ..

6) การใช้การดักจับ และกักเก็บคาร์บอนในระยะทางสุดท้าย Last-Mile Use of Carbon Capture & Storage ..

Energy Transition / Reducing Emissions by 2050 Through 6 Technological Avenues | Credit : IRENA

ปัจจุบัน กำลังไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewables-Based Electricity คือ ตัวเลือกแหล่งพลังงานรูปแบบกระจายราคาถูกที่สุดในภูมิภาคต่างๆ .. โดยทั่วไป ต้นทุนกำลังไฟฟ้าที่ปรับระดับเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักทั่วโลก Global Weighted-Average Levelised Cost of Electricity จากโครงการผลิตกำลังไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ระดับสาธารณูปโภค Utility-Scale Solar Photovoltaic : PV ที่เพิ่งเริ่มดำเนินการใหม่ ลดลง 85% ระหว่างปี 2553-2563 ..

การลดต้นทุนที่สอดคล้องกันสำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบรวมแสงเข้มข้น Concentrated Solar Power : CSP อยู่ที่ 68%, พลังงานลมบนบก 56% และกำลังไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Power ลดลง 48% เป็นผลให้ทรัพยากรพลังงานที่เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewables Resources กลายเป็นตัวเลือกเริ่มต้นสำหรับการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าในภาคการผลิตพลังงานไฟฟ้า Power Sector ในเกือบทุกประเทศ และครอบครองส่วนแบ่งการลงทุนสูงที่สุดในปัจจุบัน .. เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม Solar & Wind Technologies ได้แสดงบทบาทสำคัญเป็นหลักไว้ได้เหนือกาลเวลา และด้วยราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เพิ่มขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้ แนวโน้มทางเศรษฐกิจสำหรับพลังงานหมุนเวียน จึงเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้อีกต่อไป ..

การลดคาร์บอนของการใช้งานขั้นสุดท้าย Decarbonisation of End Uses คือ ขอบเขตขั้นถัดไป โดยมีวิธีแก้ปัญหามากมายผ่านการปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification, ไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Green Hydrogen : H2 และการใช้พลังงานหมุนเวียนโดยตรง Direct Use of Renewables แทนที่การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน .. แม้จะมีความก้าวหน้าทั่วโลกในด้านการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในภาคการผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Deployment of Renewables in the Power Sector แต่ภาคส่วนการใช้งานปลายทาง End Use Sectors ยังมีความล่าช้า โดยกระบวนการทางอุตสาหกรรม และการทำความร้อนในครัวเรือน ยังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels เป็นอย่างมาก .. ในภาคการขนส่ง Transport Sector น้ำมัน Oil ยังคงครอบงำอยู่ .. ในภาคส่วนเหล่านี้ การรุกล้ำเข้าไปของพลังงานหมุนเวียนเชิงลึก Deeper Penetration of Renewables, การขยายการใช้พลังงานไฟฟ้า Expanded

Electrification และการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Improvements in Energy Efficiency สามารถแสดงบทบาทสำคัญในการบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับราคา และความมั่นคงของอุปทาน Prices & Security of Supply ในอนาคตจากนี้ไปได้อย่างแน่นอนไร้ข้อสงสัย ..

อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมทั่วโลก แม้จะมีความคืบหน้าบ้าง แต่การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ยังคงห่างไกลจากความเป็นจริง และจำเป็นต้องมีการเร่งรัดดำเนินการเพื่อเปลี่ยนวิถีปัจจุบัน .. การบรรลุเป้าหมายสภาพภูมิอากาศปี 2593 ขึ้นอยู่กับการดำเนินการที่รวดเร็วเพียงพอ ภายในปี 2573 โดยในอีก 7-8 ปีข้างหน้า จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่ใช้พลังงานหมุนเวียน Renewables-Based Transition .. ความล่าช้าในการดำเนินการใด ๆ ที่เกิดขึ้น แม้ในระยะสั้น ก็อาจลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายสภาพภูมิอากาศที่จุดเล็ง 1.5°C ต่อไปได้เช่นกัน ดังนั้น การเร่งรัดดำเนินการ กลายกลยุทธ์ที่จำเป็น และเมื่อนำไปใช้อย่างรอบคอบระมัดระวัง จะช่วยให้ตระหนักถึงประโยชน์ของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ที่เป็นธรรม และครอบคลุม เพื่อให้มั่นใจว่า เป้าหมายการเปลี่ยนแปลงของภาคพลังงานทั่วโลกขนานใหญ่จากแหล่งฟอสซิล ไปสู่คาร์บอนเป็นศูนย์ Fossil-Based to Zero-Carbon Sources ภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้ จะบรรลุความสำเร็จได้ในที่สุด ..

ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของการปกป้องมิให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นอีกเกิน 1.5°C ได้แก่ มาตรการลดการปล่อย CO2 ที่เกี่ยวข้องกับภาคพลังงานให้สำเร็จเป็นตัวอย่างก่อนภาคส่วนอื่นๆ .. และเพื่อจำกัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น การลดการปล่อยคาร์บอนของภาคพลังงาน จำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนระดับนานาชาติ ..

ในขณะที่การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานทั่วโลก Global Energy Transition กำลังเดินหน้าอยู่นั้น แต่ละประเทศ จำเป็นต้องมีมาตรการเพิ่มเติมที่ชัดเจน และเฉียบขาด เช่น การยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และถ่านหิน การปรับแต่งเครื่องยนต์สันดาปภายใน การมุ่งใช้เชื้อเพลิงสังเคราะห์ เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับการบิน ยานยนต์ไฟฟ้า ระบบจัดเก็บพลังงานชุดแบตเตอรี่ เซลล์เชื้อเพลิง หรือระบบจัดเก็บพลังงานระยะทนยาวรูปแบบอื่น ๆ รองรับแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources ที่ผันแปร รวมถึงระบบดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศโดยตรง Direct Air Carbon Capture & Sequestration : DACCS เพื่อหยุดการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนในอากาศ สร้างสมดุลบรรยากาศ และลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ..

มาตรการด้านพลังงานหมุนเวียน Renewables และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency ให้สามารถบรรลุ 90% ในแผนงานบนเส้นทางไปสู่จุดเล็งที่ 1.5oC ของสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ International Renewable Energy Agency : IRENA นั้น จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอน Reducing Emissions สู่บรรยากาศลงได้ หรือไม่ให้พวกมันเพิ่มขึ้นอีกด้วยความร่วมมือในระดับนานาชาตินั้น ได้กลายเป็นความจำเป็นยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ ..

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานโลก Global Energy Transition ยังเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology, เทคโนโลยีอัจฉริยะ Smart Technology, กรอบนโยบายภาครัฐ Policy Frameworks และเครื่องมือทางการตลาด Market Instruments .. International Renewable Energy Agency : IRENA ได้ประเมินเส้นทางการกำจัดคาร์บอนผ่าน Renewable Energy Roadmap : REmap พร้อมกับการสนับสนุน เพื่อเร่งการปรับเปลี่ยนภาคพลังงานด้วยการให้ความรู้ เครื่องมือ และการสนับสนุนที่จำเป็นแก่นานาประเทศ สำหรับการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy : RE ในภาคพลังงาน Energy Sector ของแต่ละประเทศ ให้สามารถเดินหน้าเข้าสู่กระบวน Energy Transition ไปได้อย่างต่อเนื่องสอดคล้องกัน ..

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change ไม่ใช่เหตุผลเดียวที่มนุษยชาติควรเร่งกระบวน Energy Transition ..

การเปลี่ยนแปลงของขนาด และความเร็วในเรื่องการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ของมนุษยชาติ จะไม่สามารถทำได้โดยปราศจากการสนับสนุน และการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนจากภาคประชาชนทั่วโลก ซึ่งได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยตรงในหลายๆ ด้าน ..

การเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้พลังงานสะอาด Clean Energy Transition มีไว้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า และเกี่ยวข้องกับผู้คนทุกๆ คน .. แผนงานตามแนวทาง IEA Roadmap แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ความท้าทายในการเปลี่ยนไปใช้ระบบพลังงานสะอาด และการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิอย่างรวดเร็วนี้นั้น ได้กลายเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับระบบเศรษฐกิจของมนุษยชาติเช่นกัน .. การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จะต้องเดินหน้าไปอย่างยุติธรรม และครอบคลุมทุกมิติ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การตรวจสอบให้แน่ใจว่า ประเทศกำลังพัฒนาได้รับเงินทุน และความรู้ทางเทคโนโลยีที่พวกเขาต้องการอย่างพียงพอ ในการสร้างระบบพลังงานรูปแบบใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากร และระบบเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวอย่างยั่งยืนในอนาคต กลายเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ ..

การจัดหากำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Renewable Electricity Supply ให้กับผู้คนประมาณ 785 ล้านคนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และข้อไขการผลิตอาหารที่สะอาดแก่ผู้คน 2.6 พันล้านคนที่ขาดแคลน คือ ส่วนสำคัญบนเส้นทางสู่ศูนย์สุทธิ Net Zero ของ IEA Roadmap มาพร้อมด้วย .. ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ อยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี เท่ากับประมาณ 1% ของการลงทุนในภาคพลังงานเฉลี่ยต่อปี .. นอกจากนี้ พวกมันยังนำประโยชน์ด้านสุขภาพที่สำคัญจากการลดมลพิษทางอากาศภายในอาคาร ลดจำนวนผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ถึง 2.5 ล้านคนต่อปี ..

การลงทุนด้านพลังงานทั้งหมดต่อปี คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 ในเส้นทางสู่ศูนย์สุทธิ Net Zero และพวกมันจะขับเคลื่อนอัตราการเติบโตของ GDP ทั่วโลกให้เพิ่มขึ้น 0.4% ต่อปี โดยอิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF ..

คาดหมายว่า การใช้จ่ายภาครัฐ และเอกชนที่พุ่งสูงขึ้น สามารถสร้างงานใหม่ ๆ หลายล้านตำแหน่งงานในด้านพลังงานสะอาด Clean Energy รวมถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency เช่นเดียวกับในภาคอุตสาหกรรม วิศวกรรม เกษตรกรรม การผลิต และการก่อสร้าง .. ทั้งหมดเหล่านี้ จะทำให้ GDP โลกสูงขึ้น 4% ในปี 2030 หรือ พ.ศ.2573 ซึ่งมากกว่าที่จะไปถึงได้ด้วยแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลตามแนวโน้มในปัจจุบัน ..

ดังนั้น คาดหมายได้ว่า ภายในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 โลกของพลังงานจะดูแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ความต้องการพลังงานทั่วโลก Global Energy Demand จะลดลงน้อยกว่าในปัจจุบันประมาณ 8% แต่จะกลับสามารถรองรับขนาดระบบเศรษฐกิจโลกได้มากกว่า 2 เท่า และรวมถึงสามารถรองรับจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอีกมากได้เป็นอย่างดีมาพร้อมอีกด้วย ..

UN SDG 7 : Affordable & Clean Energy | Credit : UN Environment

การศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้คนทั่วโลก ตระหนัก และเข้าใจดีว่า การพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด Clean Technologies ได้จุดประกายให้อุตสาหกรรมใหม่ ๆ สร้างตำแหน่งงานหลายล้านตำแหน่งในสาขาต่าง ๆ อีกมากมาย .. ดังนั้น เพื่อเร่งให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ จำเป็นต้องมีการจัดหาเงินทุน การผลิต การซื้อขายเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน ในพื้นที่เกษตรกรรมไปพร้อมด้วย ซึ่งพวกมันกำลังจะกลายเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจด้วยเช่นกัน ..

อีกตัวอย่างหนึ่ง Breakthrough Energy ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรผู้ใจบุญ บริษัทเอกชน และหน่วยงานภาครัฐในสหรัฐฯ สร้างโมเดลใหม่ทางธุรกิจรูปแบบหนึ่ง .. เป้าหมาย คือ การทำให้ผลิตภัณฑ์ด้านพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เป็นไปตามวัฏจักรเช่นเดียวกันสำหรับการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดในช่วงต้น การส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ และการลดต้นทุน ซึ่งก่อนหน้านี้ ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์ ถูกลงอย่างมาก เหมือนกับที่ตลาดเตาอบไมโครเวฟเคยเป็นเช่นกัน ..

แนวทางการลงทุน และโอกาสทางธุรกิจ 4 พื้นที่เทคโนโลยีใหม่ในประเด็นสำคัญที่อยู่นอกขั้นตอนการวิจัย และพัฒนา และพวกมันพร้อมที่จะนำมาใช้งานได้แล้ว แต่ขนาดธุรกิจที่คาดหมายยังไม่โตพอที่จะดึงดูดนักลงทุนรายใหญ่ ..

ดังนั้น การร่วมลงทุนจากการรวมกลุ่มของภาคเอกชนด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ จะสามารถสร้างความแตกต่างได้มาก และ 4 พื้นที่การลงทุนหลักที่เป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจเหล่านี้ ได้แก่ :-

1.ระบบจัดเก็บพลังงานที่ทำงานได้ด้วยระยะเวลายาวนาน  Long-Duration Energy Storage เพื่อให้สามารถจัดเก็บพลังงานได้ครั้งละหลายเดือน เทียบกับเพียงไม่กี่วันที่ชุดแบตเตอรี่ที่ดีที่สุดในปัจจุบันสามารถทำได้ .. ความก้าวหน้าในพื้นที่นี้จะทำให้พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม หรือแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียนที่ผันแปร ใช้งานได้จริงในสถานที่ต่างๆ มากขึ้น ..

2.เชื้อเพลิงการบินอย่างยั่งยืน Sustainable Aviation Fuels ที่สามารถขับเคลื่อนอากาศยานขนส่งสินค้า และเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ ซึ่งมีขนาดใหญ่ และหนักเกินกว่าจะใช้พลังงานจากชุดแบตเตอรี่ได้ .. ปัจจุบันการทดสอบทดลอง เดินหน้าไปอย่างมาก แต่มันดูเหมือนยังช้าเกินไปซึ่งมิใช่ปัญหาทางเทคนิคแต่อย่างไร ปัญหาของมันอยู่ที่ราคาล้วนๆ ..

3.ระบบดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 จากบรรยากาศโดยตรง Direct Air Capture .. ระบบกักเก็บ และการนำมันมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuels .. เราไม่สามารถกำจัดคาร์บอนได้ทั้งหมดด้วยวิธีนี้ แต่วิธีที่ถูกกว่าในการทำเช่นนี้จะทำให้เราเข้าใกล้ศูนย์สุทธิมากขึ้นด้วยเป้าหมาย Net Zero ในปี 2593 ..

4.ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 ราคาถูก .. เชื้อเพลิงไฮโดรเจนมีแนวโน้มเป็นตัวแสดงหลักที่สำคัญมากในกระบวนปรับเปลี่ยนระบบพลังงานโลก Global Energy Transition .. พวกมันสามารถให้พลังงาน และกำลังมากกว่าชุดแบตเตอรี่ และสามารถใช้กับเครื่องบินขนาดใหญ่ และกระบวนการทางอุตสาหกรรมได้อย่างยอดเยี่ยม .. น่าเสียดายที่ยังมีราคาแพง .. อย่างไรก็ตาม พวกมันสะอาดอย่างยิ่ง และเป็นสารตั้งต้นสำหรับเชื้อเพลิงสังเคราะห์อีกมากมายในเทคโนโลยี Power to X ที่สามารถนำไปใช้ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่จุดระเบิดในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์สันดาปภายในปัจจุบันได้อย่างสบาย ๆ ด้วยการปรับแต่งเครื่องยนต์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ..

คาดการณ์ตลาดการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก Global Energy Transition Market ..

ขนาดธุรกิจในตลาดของตลาดการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก Global Energy Transition Market มีมูลค่า 2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 และมีมูลค่า 2.63 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 โดยรายได้จากตลาดการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition Market ทั้งหมดคาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นแตะที่ระดับเกือบ 4.94 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2572 ทั้งนี้ อัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก Global Energy Transition Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR ที่ 9.4% ในช่วงเวลาที่คาดการณ์ ปี 2566-2572 และยังได้รับการคาดหมายอีกว่าจะมีมูลค่าสูงถึงอย่างน้อย 5.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีได้ภายในปี 2574 ..

นอกจากนี้ ในส่วนของตลาดพลังงานทั่วโลกเฉพาะในฐานะการให้บริการ Global Energy as a Service Market : EaaS ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น การซื้อขายเทคโนโลยี การส่งจ่ายพลังงานเข้าสู่โครงข่ายระบบสายส่ง และการให้บริการส่วนบุคคล เป็นต้นนั้น คาดว่า Global EaaS Market จะเติบโตจาก 70.46 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 เป็น 147.56 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2572 อยู่ที่ค่า CAGR ที่ 11.1% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ..

ทั้งนี้ ในประเด็นภาคการผลิตกำลังไฟฟ้านั้น ขนาดของตลาดการผลิตกำลังไฟฟ้าทั่วโลก Global Power Generation Market มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 และคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 3.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2575 โดยเติบโตอยู่ที่ค่า CAGR ที่ 8.04% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ตั้งแต่ปี 2566-2575 ..

Global Electricity Generation by Source, 2022 – 2025, Terawatt Hours : TWh | Credit : IEA Report 2023

ตลาดการผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Renewable Electricity มีความต้องการอย่างมากเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และในที่สุดจำนวนผู้บริโภคก็เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเมือง และชุมชนอย่างรวดเร็ว ความต้องการกำลังไฟฟ้าพลังงานสะอาดรูปแบบกระจายที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ และการสร้างตำแหน่งงานจำนวนมากในอนาคต เนื่องจากส่วนแบ่งการให้บริการด้านพลังงานรูปแบบกระจายที่เพิ่มขึ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศจะเป็นไปได้โดยการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐานแหล่งพลังงานที่สะอาดกว่า ในแง่ของภาคการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ..

ทั้งนี้ คาดหมายว่า เส้นทางสู่ศูนย์สุทธิ Net Zero Pathway ที่ต้องมีการปรับใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Technologies และการยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency ทั้งหมดปัจจุบันในทันที รวมทั้งการผลักดันครั้งใหญ่ในระดับโลกเพื่อเร่งสร้างนวัตกรรม ในแนวทางนี้ จะส่งผลเชิงบวกที่จะทำให้ GDP เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าที่ระบบเศรษฐกิจเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel Economy จะทำได้ .. นอกจากนี้ การเร่งรัดให้มีการเพิ่มการผลิตกำลังไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ Solar PV Electricity ประจำปี เพื่อให้ถึง 630 GW ภายในปี 2573 และกำลังไฟฟ้าพลังงานลม Wind Power ให้สูงถึง 390 GW .. ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว นี่คือระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ด้วยปริมาณกำลังผลิตไฟฟ้าที่สูงถึง 4 เท่าจากปี 2563 ..

การผลักดันทั่วโลกครั้งใหญ่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Efficiency คือ ส่วนสำคัญอย่างยิ่งอีกประเด็นหนึ่งของความพยายามเหล่านี้มาพร้อมด้วยเช่นกัน คาดว่า จะส่งผลให้อัตราการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั่วโลก Global Energy Efficiency เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4% ต่อปี จนถึงปี 2030 หรือ พ.ศ.2473 ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยถึง 3 เท่าทียบกับในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ..

สรุปส่งท้าย ..

“การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงาน Energy Transition” คือ กำหนดการเปลี่ยนแปลงสำคัญสำหรับระบบพลังงานโลกที่อาจเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากร โครงสร้างระบบ ขนาด เศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมการใช้งานปลายทาง และนโยบายพลังงานร่วมกัน ..

ในภาคพลังงาน Energy Sector นั้น โครงสร้างระบบพลังงานหลักทั่วโลกเดิมในการขับเคลื่อนทางระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติปัจจุบัน กำลังเปลี่ยนแปลงไปด้วยความเร่ง .. โครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องใหญ่โตยาวไกลลิบลิ่วอีกต่อไป พวกมันจะมีขนาดเล็กลง แต่ชาญฉลาดขึ้น .. Smart Grid บนพื้นที่ชุมชนเกษตรกรที่ห่างไกล หรือพื้นที่ชนบทที่ระบบสายส่งเข้าไม่ถึง ระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ ไฮโดรเจน และเซลล์เชื้อเพลิงขนาดต่างๆ กลายเป็นหนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกหลักของระบบพลังงาน Energy System และระบบกำลังไฟฟ้า Power System ของประเทศ เมือง และชุมชน ซึ่งก่อนหน้านี้แทบจะไม่เคยปรากฏให้พบเห็น ..

เครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือน Virtual Power Plants: VPPs และแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Sources รูปแบบกระจาย แยกย่อย กำลังเข้ามาแทนที่โรงไฟฟ้าน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล และถ่านหินขนาดใหญ่ .. สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไฮโดรเจน Hydrogen Energy, ระบบดักจับคาร์บอนจากบรรยากาศโดยตรง Direct Air Capture : DAC รวมทั้งกำลังการผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Syngas or eFuels ที่เพิ่มขึ้น ถังจัดเก็บ ระบบท่อ และนวัตกรรมเทคโนโลยี Power to X กำลังจะก่อให้เกิดโครงสร้างระบบพลังงานโลกรูปแบบใหม่ที่แสดงบทบาทหลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติ สำหรับอนาคตจากนี้เป็นต้นไปได้อย่างแน่นอนไร้ข้อสงสัย ..

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคไปสู่พลังงานสะอาดของมนุษยชาติจากนี้ไป อาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่น่าหวั่นไหวอย่างยิ่ง .. แต่หากภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม มีการวางแผนร่วมกันสำหรับอนาคต และทำงานประสานใกล้ชิดกับผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดโดยเริ่มจากภาคพลังงาน Energy Sector ก่อนแล้ว การเดินหน้าต่อไปสู่ภาคเกษตรกรรม ชุมชน และกระบวนผลิตทางอุตสาหกรรมต่อไปนั้น ก็จะสามารถมั่นใจได้ว่า เทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่ก้าวล้ำ จะมิได้เป็นการเสียโอกาส แต่จะหมายถึง ความปลอดภัย และตำแหน่งงานใหม่ๆ ที่มากกว่า และเหนือชั้นกว่า ในทศวรรษหน้า รวมทั้งผลผลิตมวลรวม กับโอกาสทางธุรกิจด้วยผลตอบแทนที่คุ้มค่า และสูงกว่า กำลังจะมาถึงได้ในที่สุด ..

Energy Transition / Enabling Policy Framework for a Just & Inclusive Energy Transition | Credit : IRENA

ปัจจุบัน และในอนาคตอันใกล้นี้ การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition กำลังเปิดตัวแผนงาน โครงการใหม่ๆ รวมทั้งข้อไขที่เป็นผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมในภาคพลังงาน และเทคโนโลยีด้านสภาพอากาศรุ่นต่อไปออกสู่ตลาดให้ได้ทันเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ .. พวกมัน คือ เส้นทางสู่ความสำเร็จเชิงพาณิชย์ ลดการปล่อยมลพิษ กระตุ้นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP โลกให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น และคุณภาพชีวิตของผู้คนที่เหนือชั้น รวมทั้งสร้างตำแหน่งงานใหม่ๆ ที่มีรายได้สูงกว่าไปพร้อมด้วยในทศวรรษหน้า ..

กรอบนโยบายภาครัฐสำหรับการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานทางเลือก การปรับเปลี่ยนไปสู่เกษตรทฤษฎีใหม่ปลอดสารพิษ คาร์บอนต่ำ รวมทั้งการพิจารณาลงทุนกับ Carbon Capture, Utilisation & Storage : CCUS ถือเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้เช่นกัน แม้ว่าพวกมันอาจจะทำให้ต้นทุนในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เพิ่มขึ้นบ้างก็ตาม หากเราจะยังคงจำเป็นต้องใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือแบบผสมผสานอยู่ต่อไป รวมทั้งการพัฒนา Carbon Sinks หรือพื้นที่ดูดซับคาร์บอน เช่น ในพื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ ป่าไม้ ชายฝั่งทะเล และที่อยู่อาศัย เป็นต้นนั้น กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้มาพร้อมด้วย ..

เชื่อมั่นได้ว่า การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ตามมาเหล่านี้ จะกระตุ้น และขับเคลื่อนอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม GDP ทั่วโลกให้เพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย 0.4% ต่อปี .. ทั้งนี้ ภาพรวมทั้งหมด หากผนวกรวมผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และผลผลิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ และสังคมด้วยแล้ว คาดหมายว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม Gross Domestic Product : GDP ทั่วโลกจะถูกผลักให้สูงขึ้นเฉลี่ย 4% ภายในปี 2030 หรือ พ.ศ.2573 ซึ่งมากกว่าที่จะไปถึงได้ด้วยแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลตามแนวโน้มในปัจจุบัน ..

ปัจจุบัน การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition มิได้มีราคาแพง แต่จะต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมในเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ Low-Carbon Technologies .. การลดต้นทุนที่สำคัญลงอีกในกลุ่มพลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีเอื้ออำนวยที่เกี่ยวเนื่อง จะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับการลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่การลงทุนเพิ่มเติมแบบสะสมจะยังคงต้องมีจำนวนมากถึง 29 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงปี 2593 ซึ่งนอกเหนือไปจากการลงทุนจำนวน 116 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่คาดการณ์ไว้แล้ว .. การลดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ Reducing the Impact on Human Health และการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Mitigating Climate Change จะสามารถช่วยประหยัดต้นทุนในการลดการปล่อยคาร์บอนได้ประมาณอย่างน้อย 2-6 เท่า ทั้งนี้ เพื่อให้การจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่จุดเล็ง 1.5oC บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยมลพิษจากภาคพลังงาน Energy Sector เป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emission ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..

………………………………………

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Energy Transition | Wikipedia :-

https://en.wikipedia.org/wiki/Energy_transition

World Energy Outlook 2022 Shows the Global Energy Crisis can be a Historic Turning Point towards a Cleaner & More Secure Future | IEA :-

https://www.iea.org/news/world-energy-outlook-2022-shows-the-global-energy-crisis-can-be-a-historic-turning-point-towards-a-cleaner-and-more-secure-future

Energy Transition Outlook | IRENA :-

https://www.irena.org/Energy-Transition/Outlook

Energy Transition Index 2023 – Energy Transition Challenges | World Economic Forum :-

https://www.weforum.org/reports/fostering-effective-energy-transition-2023?gclid=CjwKCAjw69moBhBgEiwAUFCx2A9yeW3qjQe4aLMH7hYVJDRt-deRnj7FRl9uU3mA9w0C3IdCSVYOaxoCRe0QAvD_BwE

What is Energy Transition? | S&P Global :-

https://www.spglobal.com/en/research-insights/articles/what-is-energy-transition#:~:text=Energy%20transition%20refers%20to%20the,well%20as%20lithium%2Dion%20batteries

The Global Energy Transition Market | Maximize Market Research :-

https://www.marketsandmarkets.com/Market-Reports/energy-as-a-service-market-23172723.html

The global Energy as a Service: EaaS Market | Fortune Business Insight :-

https://www.fortunebusinessinsights.com/industry-reports/energy-as-a-service-market-101204

Global Power Generation Market Size | Precedence Research :-

https://www.precedenceresearch.com/power-generation-market#:~:text=The%20global%20power%20generation%20market%20size%20was%20accounted%20at%20USD,USD%203.9%20trillion%20by%202032

Earth Overhaul | Saving Planet Earth from Climate Change Documentary :-

https://photos.app.goo.gl/3qLWAqW541RdtBLp7

Net Zero Emissions Electricity :-

https://photos.app.goo.gl/EEjMKeZqJegVMpb16

Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-

https://photos.app.goo.gl/Qnj3eGJobkzRHx7a9

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img