วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSEnergy Efficiency ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

Energy Efficiency ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

Tracking Energy Efficiency in Clean Energy Transition

“….ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency คือ มาตรการเดียวที่ใหญ่ที่สุดในการหลีกเลี่ยง และลดความต้องการพลังงานในสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ ภายในปี 2593…”

ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency นั้น ถือได้ว่า คือ “เชื้อเพลิงแรก First Fuel” ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด Clean Energy Transitions เนื่องจากเป็นตัวเลือกในการลด CO2 ที่รวดเร็ว และคุ้มค่าที่สุด ในขณะที่มีการลดการใช้พลังงาน และเสริมความมั่นคงทางพลังงานไปพร้อมด้วย ..

ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency คือ มาตรการเดียวที่ใหญ่ที่สุดในการหลีกเลี่ยง และลดความต้องการพลังงานในสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ ภายในปี 2593 หรือ IEA’s Net Zero Emissions : NZEs by 2050 Scenario พร้อมกับมาตรการที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดของการปรับไปใช้พลังงานไฟฟ้า Measures of Electrification, การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม Behavioural Change, การแปลงเป็นดิจิทัล Digitalization และประสิทธิภาพของวัสดุ Material Efficiency .. เมื่อรวมมาตรการเหล่านี้เข้าด้วยกัน จะสามารถกำหนดความระดับความเข้มข้นการใช้พลังงานทั่วโลก Global Energy Intensity ซึ่งหมายถึง ปริมาณพลังงานที่ต้องการใช้ Amount of Energy Required ในการผลิตเป็นหน่วยพลังงานต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม Gross Domestic Product : GDP ..

Energy Efficiency / Steps to Energy Efficiency | Credit : Navitas

ข้อมูลจากการสำรวจติดตามประสิทธิภาพการใช้พลังงานในช่วงเปลี่ยนผ่านพลังงาน Tracking Energy Efficiency in Clean Energy Transition ที่ผ่านมา พบว่า ความเข้มข้นการใช้พลังงาน Energy Intensity หรือ ปริมาณของความต้องการพลังงานทั่วโลกต่อ GDP ลดลงประมาณ 4% ต่อปีโดยเฉลี่ยในทศวรรษนี้ ตาม NZEs Scenario ซึ่งเปรียบเทียบกับที่ลดลงเพียง 1.7% ในช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้ ซึ่งหมายถึง ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency เพิ่งจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเร็ว ๆ นี้นั่นเอง ..

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามาตรการทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงความต้องการพลังงานที่ไม่จำเป็น จะสามารถช่วยลดความเข้มข้นการใช้พลังงาน Energy Intensity ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม Gross Domestic Product : GDP ลงได้ และหลายมาตรการอาจทับซ้อนกันก็ตาม แต่มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency Improvements ของเทคโนโลยีเฉพาะในแต่ละประเภทนั้น คือ จุดสนใจหลักที่นานาชาติจะต้องมุ่งดำเนินการให้สำเร็จตามแผนงานที่วางไว้ ..

การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานของโลก Global Energy Transitions นั้น สำนักงานพลังงานทดแทน

ระหว่างประเทศ International Renewable Energy Agency : IRENA ชี้ว่า การปรับไปใช้พลังงานไฟฟ้า และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Electrification & Energy Efficiency คือ ตัวขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Key Drivers Change of Energy Transition ด้วยการสนับสนุนจากพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy, พลังงานไฮโดรเจน Hydrogen : H2 Energy และพลังงานชีวมวลที่ยั่งยืน Sustainable Biomass Energy ..

ทั้งนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency Improvements ของทุกชาติ ยังจะเข้าไปเกี่ยวข้อง และต้องมีการบริหารจัดการกับพฤติกรรมในแง่มุมทางสังคม Social, เศรษฐกิจ Economic และสิ่งแวดล้อม Environment ของการพัฒนาพลังงานสะอาด Development of Clean Energies อย่างเป็นระบบมาตรฐานไปพร้อมด้วย ..

ทั้งนี้ พบว่า นโยบายภาครัฐของแต่ละประเทศในประชาคมคมโลกสำหรับการมุ่งใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการเสริมสร้างความเข้มแข็งไปทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2565 ที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ .. ประเทศต่าง ๆ ที่ใช้พลังงานมากกว่า 70% ของโลก ได้นำเสนอนโยบายใหม่ ๆ หรือนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพที่เข้มงวดมากขึ้น ตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤติการณ์พลังงานมาจนถึงในปัจจุบัน ..

สหภาพยุโรป European Union : EU เห็นพ้องร่วมกัน และตัดสินใจออกกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2566 ที่ผ่านมานี้เอง .. ซึ่งนั่นคือ เกือบ 2 เท่าของอัตราการประหยัดพลังงานต่อปี Annual Energy Savings .. ประเทศในสหภาพยุโรป EU มีหน้าที่ต้องดำเนินการให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ตั้งแต่ปี 2567-2567 เป็น 1.49% ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 0.8% ต่อปี ก่อนหน้านี้ ส่งผลให้เป้าหมายการประหยัดพลังงานทั่วสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 11.7% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับข้อมูลพื้นฐานของยุโรป ในปี 2563 ..

สหรัฐฯ ประกาศการระดมทุนใหม่ครั้งสำคัญในปี 2565 ภายใต้พระราชบัญญัติการลดเงินเฟ้อ Inflation Reduction Act : IRA ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นการดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้อย่างมากในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และอาคาร รวมทั้งทำให้ค่าไฟฟ้าลดลง ซึ่งรวมถึงโปรแกรมเงินคืนสำหรับบ้าน ที่อยู่อาศัย และครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าฟ้าประสิทธิภาพสูง ด้วยมูลค่า 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมอบคืนเงินสูงสุดถึง 14,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อครัวเรือน สำหรับการอัพเกรดปรับปรุงระบบทำความร้อน ความเย็น ฉนวนกันความร้อน การปิดผนึกอากาศ และระบบไฟฟ้า รวมถึงไฟส่องสว่าง และเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ..

Energy Efficiency / Easy Ways to Make Buildings Energy Efficient | Credit : EcoWatch

จีน ส่งเสริมนโยบายประสิทธิภาพพลังงานทางอุตสาหกรรม Industrial Energy Efficiency Policies ในปี 2565 ด้วยแผนงานใหม่ที่จะปรับปรุงความเข้มข้นพลังงาน Energy Intensity ของภาคส่วนนี้เป็น 13.5% ภายในปี 2568 เมื่อเทียบกับระดับปี 2563 ซึ่งรวมถึงเป้าหมาย และแผนงานโดยละเอียด สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานมากที่สุด 17 ประเภท เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อลูมิเนียม และซีเมนต์ นอกจากนี้ ยังรวมถึงเป้าหมายใหม่ในการปรับปรุงอัพเกรดมอเตอร์ไฟฟ้า และหม้อแปลงไฟฟ้าเก่า เช่น 70% และ 80% ของสต็อกตามลำดับ ด้วยการใช้โมเดลที่มีประสิทธิภาพรุ่นใหม่ให้สำเร็จ ภายในปี 2568 ..

เพื่อสนับสนุนโครงการริเริ่มชีวิตเพื่อสิ่งแวดล้อม Lifestyle for Environment Initiative : LiFE ของอินเดียนั้น พวกเขาได้ผ่านกฎหมายด้านประสิทธิภาพใหม่เพื่อเสริมสร้างหลักเกณฑ์ของอาคาร และนโยบายที่ครอบคลุมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ สิ่งอำนวยความสะดวกทางอุตสาหกรรม และอาคารพาณิชย์ .. Mission LiFE มีเป้าหมาย เพื่อสนับสนุนขบวนการมวลชนทั่วโลกที่นำโดยอินเดีย เพื่อกระตุ้นการดำเนินการของบุคคล หน่วยงาน องค์การ และชุมชน เพื่อประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการใช้ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ และมีสติมากขึ้น ..

เป็นที่แน่นอนว่า กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเชิงรุกทั่วโลก Global Aggressive Energy Efficiency Strategy ผสมผสานกับการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewables เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels คือ เส้นทางที่สมเหตุสมผลที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2573 .. ทั้งนี้ เพราะว่า การยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Phasing Out Fossil Fuels ในอนาคตอันใกล้นั้น ถือเป็นงานที่ซับซ้อนสำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพาน้ำมัน Oil, ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas และถ่านหิน Coal เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคำนึงถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงการใช้แหล่งพลังงานที่เป็นธรรม ทั้งสำหรับต่อภาคอุตสาหกรรม คนงาน เมือง และชุมชน .. ดังนั้น การดำเนินการร่วมกัน และความร่วมมือระหว่างประเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเชิงรุกทั่วโลก Global Aggressive Energy Efficiency จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ สำหรับความก้าวหน้าที่ทันเวลาในระดับนานาชาติจากนี้ไป ..

ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency สำหรับอาคาร Buildings และภาคอุตสาหกรรม Industry ..

การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ Efficient Energy Use บางครั้งเรียกง่ายๆ ว่า ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency หมายถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Improvements in Energy Efficiency เพื่อให้การทํางานได้ผลลัพธ์เท่าเดิม หรือมากขึ้น แต่ใช้พลังงานน้อยลงกว่าปกติ ซึ่งคำนวณได้จากปริมาณผลผลิตของกิจกรรมที่ได้ต่อหนึ่งหน่วยพลังงานที่ใช้ หรือหมายถึง กระบวนการลดปริมาณพลังงานที่จำเป็นในการจัดหาผลิตภัณฑ์ และบริการ ตัวอย่างเช่น การติดตั้งฉนวนกันความร้อนในอาคาร Insulating a Building ช่วยให้ใช้พลังงานความร้อน และความเย็นน้อยลง เพื่อให้ได้และรักษาอุณหภูมิที่สบาย, การติดตั้งหลอดไฟไดโอดเปล่งแสง Light-Emitting Diode Bulbs : LED, หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ Fluorescent Lighting หรือหน้าต่างสกายไลท์ Natural Skylight Windows และอุปกรณ์ไฟฟ้าประหยัดพลังงานบนอาคารรูปแบบต่าง ๆ จะช่วยลดปริมาณพลังงานที่ต้องใช้สำหรับแสงสว่าง และความสะดวกสบายในอาคารด้วยระดับเดียวกัน เมื่อเทียบกับการใช้หลอดไส้แบบเดิม Traditional Incandescent Light Bulbs หรืออุปกรณ์ไฟฟ้ารุ่นเก่าก่อนหน้านี้ เป็นต้น .. โดยทั่วไป การปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงาน Improvements in Energy Efficiency ทำได้โดยการใช้เทคโนโลยี หรือกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือโดยการประยุกต์ใช้วิธีการที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เพื่อลดการสูญเสียพลังงาน ..

ปัจจุบันมีแรงจูงใจมากมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency .. การลดการใช้พลังงานจะช่วยลดต้นทุนทางพลังงาน Reduce Energy Costs และอาจส่งผลให้ผู้บริโภคประหยัดต้นทุนทางการเงินได้ หากการประหยัดพลังงานนั้น ชดเชยต้นทุนเพิ่มเติมในการใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน Energy-Efficient Technologies ..

การลดการใช้พลังงาน Reducing Energy Use ยังถือเป็นวิธีแก้ปัญหาในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Minimizing Greenhouse Gas Emissions ไปพร้อมด้วย .. การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency ในอาคาร Buildings, กระบวนการทางอุตสาหกรรม Industrial Processes และการขนส่ง Transportation นั้น ได้รับการคาดหวังว่าจะสามารถลดความต้องการพลังงานของโลกในปี 2593 ลงได้ 1 ใน 3 และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Reduce Global Greenhouse Gas Emissions .. แนวทางแก้ไขที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การยกเลิกการอุดหนุนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่นำโดยนโยบายภาครัฐก่อนหน้านี้ ซึ่งส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง และไม่มีประสิทธิภาพในมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศทั่วโลก ..

ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ถือเป็น 2 เสาหลักคู่สำหรับนโยบายพลังงานที่ยั่งยืน Sustainable Energy Policy ของภาครัฐ และมีความสำคัญเร่งด่วนเป็นลำดับแรกสำหรับอนาคตพลังงานที่ยั่งยืน Future Sustainable Energy Hierarchy .. ในหลายประเทศ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency ยังถือว่าเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงของชาติด้วย เนื่องจากสามารถนำไปใช้เพื่อลดระดับการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ Reduce the Level of Energy Imports from Foreign Countries รวมทั้งลดการผูกขาดพลังงานจากประเทศยักษ์ใหญ่ และอาจชะลออัตราที่ทรัพยากรพลังงานภายในประเทศจะหมดลงในที่สุด ..

ในประเด็นประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency สำหรับอาคาร Buildings นั้น โดยทั่วไป อาคาร Buildings คิดเป็น 30% ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั่วโลก และ 26% ของการปล่อยก๊าซที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทั่วโลก ซึ่ง 8% เป็นเรื่องของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศโดยตรงจากอาคาร และ 18% เป็นการปล่อยมลพิษทางอ้อมจากการผลิตกำลังไฟฟ้า และความร้อนที่ใช้ในอาคาร .. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงจากภาคอาคาร Buildings Sector ลดลงในปี 2565 เมื่อเทียบกับปีก่อน แม้ว่าอุณหภูมิที่สูงมากจะทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับความร้อนในบางภูมิภาคก็ตาม ในปี 2565 การใช้พลังงานในภาคอาคารเพิ่มขึ้นประมาณ 1% ..

Energy Efficiency Options in House | Credit : EcoWatch

มาตรฐานประสิทธิภาพขั้นต่ำ และมาตรฐานการบริโภคพลังงานสำหรับอาคารกำลังเพิ่มขึ้นในกรอบกฎหมาย ขอบเขต และความเข้มงวดกระจายออกไปทั่วโลก ผนวกกับการใช้เทคโนโลยีในอาคารที่มีประสิทธิภาพ และการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน ก็กำลังเร่งตัวขึ้นอีก แต่ภาคส่วนที่อยู่อาศัย ชุมชน เมือง และภาคส่วนอาคาร Building Sector นี้ ต้องการการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว่านี้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ NZEs Scenario ภายในปี 2593 .. ทศวรรษนี้ ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินแผนงาน และมาตรการที่จำเป็นทั่วโลก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของอาคารใหม่ทั้งหมด และ 20% ของอาคารเก่าเดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะต้องพร้อมให้เข้าสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ ภายในปี 2573 ..

ภาคอุตสาหกรรม Industry Sector ในปี 2565 ก็เช่นเดียวกัน  พวกมันมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 9.0 GT CO2 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของระบบพลังงานทั่วโลก Global Energy System CO2 Emissions .. การปล่อยก๊าซมลพิษประจำปี Annual Emissions จากภาคอุตสาหกรรม ลดลงเล็กน้อยทั้งในปี 2563 และ 2565 แต่ก็ไม่เพียงพอ และไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ NZEs Scenario ภายในปี 2593 ซึ่งการปล่อยมลพิษ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกทางอุตสาหกรรมจะต้องลดลงเหลือประมาณ 7 GT CO2 ให้ได้เป็นอย่างน้อย ภายในปี 2573 ..

ปัจจุบัน มีการปรับปรุงในด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม Improvement of Energy Efficiency for Industry และการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นแล้ว Energy Efficiency and in Renewable Energy Uptake และมีการดำเนินการเชิงบวกบางประการในด้านความร่วมมือ และนวัตกรรมระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้ายังคงเกิดขึ้นช้าเกินไป .. ประสิทธิภาพวัสดุ และประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่สูงกว่า Greater Material & Energy Efficiency, การปรับไปใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำที่รวดเร็วยิ่งขึ้น More Rapid Uptake of Low Carbon Fuels และการพัฒนากระบวนการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกือบเป็นศูนย์ให้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น Near Zero-Emission Production Processes รวมถึงการดักจับ การใช้ และการจัดเก็บคาร์บอน Carbon Capture, Utilisation & Storage : CCUS ผนวกกับการใช้ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ล้วนเป็นสิ่งจำเป็นในภาคอุตสาหกรรม Industry Sector .. ความก้าวหน้าในแผนงานการพัฒนาทั้งหมดซึ่งจะจัดทำขึ้นนั้น มีความหมายสำคัญที่นำไปสู่ NZEs Scenario ภายในปี 2593 .. นโยบายภาครัฐของแต่ละประเทศ สามารถเร่งความคืบหน้าให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งรวมถึงการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องได้ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการนำนโยบายภาครัฐสำหรับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 Emissions มาใช้บังคับอย่างเข้มงวดจากนี้ไป ..

ความเข้มข้น และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Intensity & Energy Efficiency ..

ความเข้มข้นการใช้พลังงาน Energy Intensity เป็นการวัดความไร้ประสิทธิภาพด้านพลังงานของระบบเศรษฐกิจ โดยคำนวณเป็นหน่วยพลังงานต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ Gross Domestic Product : GDP หรือการวัดผลผลิตทางเศรษฐกิจอื่นๆ .. ความเข้มข้นการใช้พลังงาน Energy Intensity ที่สูง บ่งชี้ถึง ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency ที่ต่ำ หมายถึง ราคา หรือต้นทุนที่สูงในการแปลงพลังงานให้เป็น GDP .. ในทางกลับกัน ความเข้มข้นของพลังงานต่ำ บ่งชี้ถึง ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency ที่สูง และราคา หรือต้นทุนในการแปลงพลังงานให้เป็น GDP ที่ต่ำกว่า ..

ความเข้มข้นของการพลังงาน Energy Intensity ของประเทศ หรือภูมิภาคนั้น แตกต่างจากประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency แต่พวกมันเกี่ยวข้องกัน .. ความเข้มข้นการใช้พลังงาน Energy Intensity ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ Climate, โครงสร้างทางเศรษฐกิจ Economic Structure เช่น ภาคการบริการ กับการผลิต Services & Manufacturing Sector, การค้า Trade รวมถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคาร ยานพาหนะในระบบขนส่ง และอุตสาหกรรม Energy Efficiency of Buildings, Vehicles in Transportation & Industry เป็นต้น ..

ความเข้มข้นของพลังงานสูง High Energy Intensity หมายถึง ผลผลิตทางอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงซึ่งเป็นสัดส่วนของ Gross Domestic Product: GDP .. ประเทศที่มีความเข้มข้นของพลังงานต่ำ Low Energy Intensity อาจหมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่ใช้พลังงานน้อย แต่อาจมีการใช้แรงงานเข้มข้น Labor Intensive Economy สูงทดแทนก็เป็นได้อีกด้วย ..

อัตราการปรับปรุงความเข้มข้นของการใช้พลังงานหลักทั่วโลก The Rate of Global Primary Energy Intensity Improvement ซึ่งหมายถึง เปอร์เซ็นต์ที่ลดลงในอัตราส่วนของการจัดหาพลังงานทั้งหมดทั่วโลกต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ Percentage Decrease in the Ratio of Global Total Energy Supply per Unit of Gross Domestic Product : GDP .. พวกมัน คือ ตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการติดตามความคืบหน้าในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั่วโลก Global Energy Efficiency ..

อัตราการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Rate of Energy Efficiency Improvements ชะลอตัวลงเหลือ 0.6% ในปี ค.ศ.2020 หรือปี พ.ศ.2563 ลดลงจาก 1.8% โดยเฉลี่ยก่อนหน้าทศวรรษที่ผ่านมา สาเหตุหลักมาจากการล็อกดาวน์ และข้อจำกัดด้านการเดินทางที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก .. แนวโน้มการปรับปรุงในระดับต่ำ Low Rate Improvements ยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจากความต้องการพลังงาน Energy Demand ที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งแซงหน้าการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency Improvements ..

ระดับการปรับปรุงเหล่านี้ ยังห่างไกลจากการปรับปรุงเฉลี่ย 3.4% ต่อปีที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals: SDGs ข้อที่ 7.3 .. อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency Improvements ล่าสุดที่สำคัญ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายใหม่ ๆ และมาตรการความมั่นคงทางพลังงานของประชาคมโลก ชี้ให้เห็นการฟื้นตัวมาตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา โดยความเข้มข้นการใช้พลังงาน Energy Intensity จะดีขึ้น หมายถึง ความเข้มข้นพลังงานต่อ GDP ลดลงในอัตรา 2% ก็ตาม แต่ก็ยังสูงกว่าเป้าหมายการลดความเข้มข้นการใช้พลังงานอยู่อีกมาก ..

ในสถานการณ์นโยบายภาครัฐของแต่ละประเทศที่ระบุไว้ Stated Policies Scenario นั้น การปรับปรุงความเข้มข้นการใช้พลังงาน Energy Intensity Improvements แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่เร็วที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา .. เมื่อเร็ว ๆ นี้ นโยบายประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั่วโลก Overall Global Energy Efficiency ที่สำคัญส่วนหนึ่ง คาดว่าจะมุ่งเน้นไปที่ปรับปรุงความเข้มข้นของการใช้พลังงาน Improve Energy Intensity ให้ลดลง รวมถึง Nationally Determined Contributions : NDCs ที่ประกาศในการประชุม COP26 และมาตรการอื่น ๆ เพื่อเผชิญกับวิกฤติพลังงาน ส่งผลให้ความเข้มข้นของพลังงานทั่วโลกโดยรวมในสถานการณ์นโยบายที่ระบุ Stated Policies Scenario นั้น คาดว่าจะลดลงโดยเฉลี่ย 2.4% ต่อปี ในช่วงปี 2564-2573 ซึ่งเร็วกว่าอัตราเฉลี่ย 1.8% ในทศวรรษที่ผ่านมา ปี 2553-2563 แต่อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าในภาพรวม ก็ยังไปไม่ถึงจุดเล็งการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานประจำปีในองค์รวมทั่วโลกที่มุ่งให้ลดลง 3.4% ซึ่งจำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals: SDGs ข้อที่ 7.3 ในปี 2573 .. ความก้าวหน้าที่รวดเร็วที่สุดที่สังเกตได้ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย  ซึ่งคาดหมายว่า ความเข้มข้นของการใช้พลังงานจะดีขึ้นสอดคล้องกับจุดเล็งในภูมิภาคนี้ ด้วยอัตราลดลง 3.4% ต่อปีระหว่างปี 2563-2573 ..

ทั้งนี้ ในสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emissions : NZE Scenario ภายในปี 2593 กำหนดเส้นทางสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals : SDGs ข้อที่ 7 แม้จะเกินกว่าวัตถุประสงค์สำหรับความเข้มข้นของการใช้พลังงานที่กำหนดไว้ในเป้าหมายข้อที่ 7.3 ก็ตาม .. ในสถานการณ์นี้ อัตราการปรับปรุงความเข้มข้นของการใช้พลังงานทั่วโลก จะเร่งขึ้นมากกว่า 4.3% โดยเฉลี่ยจนถึงปี 2573 อัตรานี้สูงกว่าเป้าหมาย SDG 7.3 แต่มันอาจจำเป็นหากโลกต้องเดินตามเส้นทางแคบ ๆ แต่เป็นไปได้ในแบบจำลองสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emissions : NZE Scenario ..

ศักยภาพส่วนใหญ่ในการปรับปรุงความเข้มข้นของพลังงานในสถานการณ์นี้ มาจากการเปลี่ยนมาใช้ยานพาหนะไฟฟ้าเพื่อการขนส่ง Switch to Electric Vehicles for Transport, การปรับปรุงประสิทธิภาพในภาคอุตสาหกรรม Improvements in Efficiency across Industrial Sectors และมาตรฐานรหัสพลังงานของอาคารที่เข้มงวด Stringent Building Energy Codes สำหรับทั้งอาคารใหม่ และอาคารเก่าที่มีอยู่เดิม รวมถึงการปรับไปใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำความร้อนในพื้นที่ และภายในอาคาร Electrification of Space Heating in Buildings เป็นต้น ..

Residential Emissions & Energy Efficiency for Home | Credit : Zero Emissions Noosa

ความเข้มของการใช้พลังงานที่ลดลง Declines in Energy Intensity คือ ตัวแทนสำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพ Energy Efficiency Improvements ด้วยเงื่อนไขว่า ความเข้มของพลังงาน ถูกแสดงในระดับที่เหมาะสมของการแยกส่วนเพื่อให้การตีความที่มีความหมาย และปัจจัยอธิบาย และพฤติกรรมอื่น ๆ ถูกแยกและนำมาพิจารณาไปพร้อมด้วย เช่น ความเข้มข้นของการปล่อยคายคาร์บอนต่อรายได้ หมายถึง Carbon Intensity จากการผลิตสินค้า และบริการ ก็จะลดลงตามมาด้วยเช่นกัน เป็นต้น ..

ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน หมายถึง กิจกรรม หรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตได้ด้วยระดับพลังงานที่กำหนด เช่น จำนวนตันของเหล็กที่สามารถหลอมได้ด้วยกำลังไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ชั่วโมง MWh .. ทั้งนี้ ในมุมมองระดับของเทคโนโลยีเฉพาะนี้นั้น ความแตกต่างระหว่างประสิทธิภาพ และความเข้มข้นของพลังงาน ไม่มีนัยสำคัญมากนัก แต่สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นเพียงสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน ในตัวอย่างนี้ ความเข้มข้นของพลังงาน Energy Intensity คือ ปริมาณกำลังไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ชั่วโมง MWh ที่ใช้ในการหลอมเหล็ก 1 ตัน ..

ในระดับเศรษฐกิจโดยรวม หรือแม้แต่ระดับภาคส่วนการใช้งานปลายทาง End Use นั้น ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency มีความหมายมากกว่าที่พวกมันเป็น เนื่องจากลักษณะของผลผลิตที่แตกต่างกัน รวมทั้งผลลัพธ์สุดท้ายในการลดการปล่อยคายมลพิษในระบบเศรษฐกิจการผลิตทางอุตสาหกรรม อาคารสถานที่ และระบบขนส่ง ..

การผลิตสินค้าจำนวนมาก การขนส่งสินค้า และการดำเนินชีวิตของผู้คนผสมผสานกัน รวมทั้งความหลากหลายของที่อยู่อาศัย และสภาพอากาศ ทำให้ตัวเลขความเข้มข้นของการใช้พลังงานรวม Total Energy Intensity Number ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ Gross Domestic Product : GDP ซึ่งเป็นตัวเลขที่มิได้เปิดเผยให้เห็นได้ชัดเจนมากนัก แต่ก็สามารถคำนวณการวัดความเข้มข้นอย่างง่ายได้เป็นปริมาณพลังงาน/GDP ซึ่งอาจดูจะมีเนื้อหาข้อมูลเพียงเล็กน้อยโดยไม่มีรายละเอียดภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ..

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างความเข้มข้นการใช้พลังงาน และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน คือ สิ่งสำคัญเมื่อเทคโนโลยีหลายประเภท หรือผลิตภัณฑ์หลายรายการรองรับสิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ แม้ว่าการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พลังงานของการผลิตเหล็กกล้า Energy Efficiency of Steel Production ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของการผลิตเอธานอล Energy Efficiency of Ethanol Production เป็นต้นนั้น จะยังไม่สมเหตุสมผลครบถ้วนก็ตาม แต่ก็สามารถตรวจสอบภาพรวมความเข้มข้นการใช้พลังงานของกระบวนผลิตทั้งหมดได้ เพื่อให้แน่ใจว่า มาตรการการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Intensity Improvements ในภาคอุตสาหกรรม Industry Sector, อาคาร Buildings และภาคการขนส่ง Transportation  มีส่วนร่วมสำคัญในสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Emissions Scenario ภายในปี 2593 ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..

คาดการณ์ตลาดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั่วโลก Global Energy Efficiency Market ..

ขนาดธุรกิจในตลาดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั่วโลก Global Energy Efficiency Market คาดว่า อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั่วโลก Global Energy Efficiency Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุดรวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 12.6% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2566-2571 ..

ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency คือ การดำเนินการ หรือการตั้งวัตถุประสงค์ที่ต้องใช้พลังงานให้น้อยลง และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นโดยมุ่งผลผลิตเท่าเดิม หรือมากกว่า สำหรับบ้าน อาคาร และโรงงานผลิตที่ใช้พลังงานน้อยกว่าในการผลิตสินค้า และบริการในการให้ความร้อน ความเย็น และใช้งานเทคโนโลยี .. ทั้งนี้ หนึ่งในวิธีที่ง่าย และประหยัดที่สุดในการหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดค่าพลังงานของผู้บริโภค และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของบริษัท ก็คือ การใช้มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency Improvements .. นอกจากนี้ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับกระบวนการลดการปล่อยคาร์บอน Decarbonization Process เพื่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Carbon Dioxide Emissions .. ตลาดเกิดใหม่ เช่น อินเดีย สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น และชาติอื่นๆ อีกมาก กำลังมุ่งเน้นไปที่มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Focusing on Energy Efficiency Measures อย่างจริงจังจากนี้ไป ..

ในส่วนประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร Energy Efficiency for Buildings นั้น พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดอาคารประหยัดพลังงาน Energy-Efficient Building Market มีมูลค่า 123.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 .. อุตสาหกรรมอาคารประหยัดพลังงาน Energy-Efficient Building Industry คาดว่าจะเติบโตจาก 131.24 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 เป็น 208.08 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2575 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 5.93% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2566-2575 .. ข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม การประหยัดต้นทุนพลังงาน กฎระเบียบ สิ่งจูงใจของภาครัฐ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ล้วนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนตลาดที่สำคัญในการเพิ่มการเติบโตของตลาดอาคารประหยัดพลังงาน Energy-Efficient Building Market จากนี้ไป ..

ทั้งนี้ ภาพรวมในภาคอุตสาหกรรม Industry Sector นั้น ขนาดตลาดการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในภาคอุตสาหกรรม Industrial Energy Efficiency Market คาดว่าจะสูงถึง 41.21 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 จาก 23.13 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 8.6% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ..

มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในตลาดภาคอุตสาหกรรม Industrial Energy Efficiency โดยทั่วไป หมายถึง การใช้เทคโนโลยี การใช้ระบบอัจฉริยะ และแนวทางปฏิบัติเพื่อลดปริมาณพลังงานที่จำเป็นสำหรับกระบวนการผลิต และการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม .. การนำมาตรการประสิทธิภาพพลังงานเหล่านี้มาใช้ในตลาดจะช่วยให้อุตสาหกรรมต่างๆ ใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดต้นทุน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างยอดเยี่ยม ..

How Tech is Helping Commercial Real Estate Move towards Sustainability | Credit : Trivone

ข้อเสนอที่สำคัญในตลาดนี้ ได้แก่ อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ เช่น มอเตอร์ Motors, ปั๊ม Pumps, คอมเพรสเซอร์ Compressors และระบบทำความร้อนและความเย็น Heating & Cooling Systems นอกจากนี้ยังรวมถึงระบบอัตโนมัติ และการควบคุม Automation & Control Systems ที่ทำให้ประหยัดพลังงาน เช่น ระบบควบคุมแบบกระจาย Distributed Control Systems, ระบบการบริหารจัดการอาคาร Building Management Systems และซอฟต์แวร์การจัดการพลังงาน Energy Management Software เป็นต้น .. บริการต่าง ๆ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพระบบ System Optimization, การบำรุงรักษา Maintenance และการฝึกอบรม Training ยังเป็นส่วนหนึ่งของข้อไขการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม Industrial Energy Efficiency Solutions อีกด้วย ..

โอกาสสำคัญสำหรับการเติบโตของตลาด อยู่ที่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางอุตสาหกรรมที่มีอยู่เก่าก่อนไปพร้อมด้วย โดยใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน Energy-Efficient Technologies เนื่องจากการเปลี่ยนอุปกรณ์ทั้งหมดต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก การติดตั้งผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม เช่น มอเตอร์ประหยัดพลังงาน Energy-Efficient Motors, ระบบขับเคลื่อนแบบปรับความเร็วได้ Variable Speed Drives, ระบบไฟส่องสว่าง Lighting Systems, ฉนวนกันความร้อน Insulation และระบบการนำความร้อนกลับมาใช้ใหม่ Heat Recovery Systems สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง Improve Efficiency at Lower Costs .. จากข้อมูลของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA ชี้ว่า การปรับปรุงประสิทธิภาพ Energy Efficiency Improvements รูปแบบใหม่ ๆ ที่หลากหลาย สามารถลดการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก Global Industrial Energy Use ลงได้อย่างคุ้มค่าถึง 10% ..

สรุปส่งท้าย ..

ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency คือ หนึ่งในวิธีที่ง่าย และคุ้มค่าที่สุดในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Cost-Effective Ways to Combat Climate Change, ลดต้นทุนด้านพลังงานสำหรับผู้บริโภค Reduce Energy Costs for Consumers และปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ Improve the Competitiveness of Businesses .. ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์สุทธิ ผ่านกระบวนการกำจัดคาร์บอน Net-Zero Emissions of Carbon Dioxide through Decarbonization และการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources ไปพร้อมด้วย ..

การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency Improvements นั้น ส่งผลโดยตรงต่อความเข้มข้นการใช้พลังงานต่อผลผลิต หรือ Energy Intensity ที่ลดลง และการลดลงของการใช้พลังงานในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสังคมเหล่านี้ จะทำให้ความเข้มข้นการปล่อยคายคาร์บอน และก๊าซเรือนกระจกต่อรายได้ หรือที่เรียกว่า ความเข้มข้นของคาร์บอน Carbon Intensity ลดลงตามไปด้วย ..

ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของ S&P Global เกี่ยวกับความเข้มข้นของการปล่อยคายคาร์บอน และก๊าซเรือนกระจกโดยเฉลี่ยในปี 2562-2563 แยกตามภาคส่วนต่าง ๆ พบว่า ภาคส่วนระบบสาธารณูปโภค Utilities Sector คือ ภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเข้มข้นมากที่สุดในโลก Most Carbon-Intensive Sector in the World โดยปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 Gas สูงถึง 2,634 ตันต่อรายได้ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ..

ภาควัสดุ Materials Sector และภาคพลังงาน Energy Sector ตามหลังมา โดยมีการปล่อย CO2 ปริมาณ 918 ตัน และ 571 ตันต่อรายได้ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ..

Carbon Intensity / The Most Carbon – Intensive Sectors in the World | Credit : Visual Capitalist

ตัวอย่างในระบบการผลิต และจำหน่ายกำลังไฟฟ้า Power Generation & Distribution System นั้น ความเข้มข้นของการปล่อยคายคาร์บอน และก๊าซเรือนกระจก หรือที่เรียกว่า ความเข้มข้นของคาร์บอน Carbon Intensity คือ ตัวชี้วัดว่า กำลังไฟฟ้าของเราสะอาดแค่ไหน How Clean Our Electricity Is หมายถึง จำนวนกรัมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ที่ถูกปล่อยคายออกมาเพื่อผลิต และส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง KWh .. กำลังไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นโดยใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels นั้น มีความเข้มข้นของคาร์บอน Carbon Intensity มากกว่า กำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Renewable Electricity เนื่องจากกระบวนการที่สร้างขึ้นทำให้เกิดการปล่อยคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ปริมาณมหาศาล ..

กำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources เช่น พลังงานลม Wind Power, พลังงานน้ำ Hydropower หรือพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Power ผลิตพลังงาน และกำลังไฟฟ้าขึ้นได้โดยไม่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ No CO2 Emissions ดังนั้น ค่าความเข้มของคาร์บอน Carbon Intensity จึงต่ำกว่ามาก และมักจะเป็นค่าศูนย์ ..

การใช้กำลังไฟฟ้าที่มีค่าความเข้มข้นของคาร์บอนต่ำ Electricity with a Low Carbon Intensity Value จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยรวม Reduce Carbon Emissions Overall โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมนุษยชาติใช้กำลังไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีการผลิตกำลังไฟฟ้าสะอาด Clean Electricity จำนวนมากที่สุด ..

ดังนั้น ในทำนองเดียวกัน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency Improvements จะสามารถลดการปล่อยคายก๊าซคาร์บอน Reduce Carbon Emissions ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติได้อย่างยอดเยี่ยมเฉียบขาด โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม Industry Sector, อาคาร Buildings และภาคการขนส่ง Transportation เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษยชาติให้เป็นศูนย์สุทธิ ภายในปี 2593 ให้บรรลุความสำเร็จได้ผ่านกระบวนการกำจัดคาร์บอน Net-Zero Emissions of Carbon Dioxide through Decarbonization ไปพร้อมด้วย ..

ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานของโลก Global Energy Transitions นั้น สำนักงานพลังงานทดแทน

ระหว่างประเทศ International Renewable Energy Agency : IRENA ชี้ว่า การปรับไปใช้พลังงานไฟฟ้า และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Electrification & Energy Efficiency คือ ตัวขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Key Drivers Change of Energy Transition ด้วยการสนับสนุนจากพลังงานหมุนเวียน Renewables, พลังงานไฮโดรเจน Hydrogen : H2 Energy และ พลังงานชีวมวลที่ยั่งยืน Sustainable Biomass Energy ..

เชื่อมั่นได้ว่า กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเชิงรุกทั่วโลก Global Aggressive Energy Efficiency Strategy ผสมผสานกับการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewables เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels คือ เส้นทางที่สมเหตุสมผลที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ภายในปี 2573 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษยชาติให้เป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Emissions ภายในปี 2593.. แต่เพราะว่า การยกเลิกการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Phasing Out Fossil Fuels ในทันทีทันใด หรือในอนาคตอันใกล้นั้น ถือเป็นงานที่ซับซ้อนสำหรับประเทศที่ต้องพึ่งพาน้ำมัน Oil, ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas และ ถ่านหิน Coal เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคำนึงถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงการใช้แหล่งพลังงานที่เป็นธรรม ทั้งสำหรับต่อภาคอุตสาหกรรม คนงาน เมือง และชุมชน .. ดังนั้น การดำเนินการร่วมกัน และความร่วมมือระหว่างประเทศที่สอดคล้องกันในมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency Improvements จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ สำหรับความก้าวหน้าที่ทันเวลาในระดับนานาชาติ และระดับโลกจากนี้ไป ..

………………………………..

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Global Energy Efficiency Progress is Accelerating, Signalling a Potential Turning Point after Years of Slow Improvement | IEA :-

https://www.iea.org/news/global-energy-efficiency-progress-is-accelerating-signalling-a-potential-turning-point-after-years-of-slow-improvement

Energy Efficiency 2022 – Analysis | IEA :-

https://www.iea.org/reports/energy-efficiency-2022

Tracking Clean Energy Progress 2023 | IEA :-

https://www.iea.org/reports/tracking-clean-energy-progress-2023

IEA: Huge Potential for Energy Efficiency | IEA :-

https://unfccc.int/news/iea-highlights-huge-potential-for-energy-efficiency?gclid=Cj0KCQjwjt-oBhDKARIsABVRB0x0KlVD0Mi7CUlwwGVLCN8PqYw3fY9unkKP30pdxddvTCJa_Nn6xCUaAmAQEALw_wcB

Energy Intensity SDG 7 | IEA :-

https://www.iea.org/reports/sdg7-data-and-projections/energy-intensity

Industrial Energy Efficiency Market | Coherent Market Insights :-

https://www.coherentmarketinsights.com/industry-reports/industrial-energy-efficiency-market

Energy – Efficient Building Market | Market Research Future :-

https://www.marketresearchfuture.com/reports/energy-efficient-building-market-8697

Market for Energy Efficiency Is $360 billion/Yr and Bigger Than Renewables | Industry Dive :-

https://www.smartcitiesdive.com/ex/sustainablecitiescollective/market-energy-efficiency-360-billionyr-and-bigger-renewables/1001556/

Net Zero Emissions Electricity :-

https://photos.app.goo.gl/EEjMKeZqJegVMpb16

Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-

https://photos.app.goo.gl/Qnj3eGJobkzRHx7a9

Energy Efficiency : The Role in Clean Energy Transitions :-

https://photos.app.goo.gl/VskeRxkNmJAntUfc8

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img