วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSElectrification สุดยอดกลยุทธ์ลดการปล่อย CO2
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

Electrification สุดยอดกลยุทธ์ลดการปล่อย CO2

Electrification : Most Important Strategies for Reducing CO2 Emissions

“….การใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification หมายถึง กระบวนการขับเคลื่อนอุปกรณ์ และเครื่องมือในภาคส่วนต่างๆ ด้วยแหล่งพลังงานไฟฟ้า Process of Powering by Electricity และในหลายบริบท การใช้พลังงานไฟฟ้า…”

การปรับเปลี่ยนไปใช้กำลังไฟฟ้าให้เป็นแหล่งพลังงานหลักมากขึ้น คือ หนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 .. การใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification หมายถึง กระบวนการขับเคลื่อนอุปกรณ์ และเครื่องมือในภาคส่วนต่างๆ ด้วยแหล่งพลังงานไฟฟ้า Process of Powering by Electricity และในหลายบริบท การใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification ที่กล่าวถึงนี้นั้น คือ การเปลี่ยนจากการใช้แหล่งพลังงานรุ่นก่อน ๆ เช่น แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel Power Sources มาสู่การใช้กำลังไฟฟ้า Electrical Power Sources เป็นแหล่งพลังงานหลักแทน นั่นเอง ..

Electrification Possibilities / The Different Sectors that can be Electrified for a More Sustainable Future | Credit : WTS Energy

ด้วยศักยภาพที่สำคัญของการใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทานพลังงาน Potential to Mitigate Emissions & Decarbonise Energy Supply Chain นั้น เป็นที่ชัดเจนว่า การเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification ได้กลายเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญสำหรับการบรรลุเป้าหมายเป็นศูนย์สุทธิ Important Strategy to Reach Net Zero Goals .. เมื่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย Energy End Uses กลายเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้า Electrical Power Uses มากขึ้น คาดหมายได้ว่า สัดส่วนของกำลังไฟฟ้าในการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นในสถานการณ์การปล่อยก๊าซมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emissions : NZE ภายในปี 2593 จาก 20% ในปี 2565 เป็นมากกว่า 27% ในปี 2573 ..

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่วนแบ่งนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เพื่อให้เป็นไปตามสถานการณ์การปล่อยก๊าซมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emissions : NZE นั้น ความเร็วของการเพิ่มขึ้นนี้จะต้องเพิ่มมากขึ้นอีกเป็น 2 เท่า เพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญในปี 2573 .. ความต้องการส่วนใหญ่สามารถตอบสนองได้ด้วยการเปลี่ยนไปใช้ระบบขนส่งด้วยกำลังไฟฟ้า Electric Transport ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในไปสู่ยุคของการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs และการติดตั้งปั๊มความร้อน Heat Pumps เป็นต้น .. อย่างไรก็ตาม ในภาคอุตสาหกรรมนั้น ศักยภาพสูงสุดสำหรับการใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification ได้แก่ กระบวนการให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่ำ Low-Temperature Heat Processes เช่น กระบวนการทำให้อาหารแห้ง และกระบวนผลิตเครื่องดื่ม Food Drying & Beverage Processes .. ทั้งนี้ เนื่องจากตลาดที่มีการแข่งขันสูง และอายุการใช้งานที่ยาวนานของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับการใช้งานปลายทางในภาคอุตสาหกรรม Electrification of Industrial End Uses จึงยังคงถือว่าช้ากว่าเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอุปสงค์อื่นๆ Other Demand Sectors ..

โดยมาตรฐานแล้ว การเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification หมายถึง การแทนที่เทคโนโลยี หรือแทนที่กระบวนการที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Processes that Use Fossil Fuels เช่น เครื่องยนต์สันดาปภายใน Internal Combustion Engines : ICEs และหม้อต้มน้ำด้วยก๊าซธรรมชาติ Natural Gas Boilers .. ทั้งนี้ ด้วยพลังงานไฟฟ้าที่เทียบเท่ากัน เช่น ยานพาหนะไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs หรือปั๊มความร้อน Heat Pumps นั้น พบว่า การทดแทนเหล่านี้ จะมีประสิทธิภาพมากกว่า More Efficient, ลดความต้องการพลังงาน Reducing Energy Demand และมีผลกระทบเชิงบวกต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น เมื่อใช้การผลิตกำลังไฟฟ้าคาร์บอนต่ำ Low-Carbon Electricity Generation ซึ่งลดการปล่อยคายคาร์บอนในกระบวนการต้นทางลงได้เป็นอย่างมาก ..

หมายถึง เพื่อให้บรรลุผลประโยชน์จากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเต็มรูปแบบจากการใช้พลังงานไฟฟ้า Full Decarbonisation Benefits of Electrification ตามที่กำหนดไว้ในแนวทาง Net Zero Pathway นั้น การผลิตไฟฟ้า Electricity Generation จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้แหล่งคาร์บอนต่ำ Low-Carbon Sources เช่น พลังงานหมุนเวียน Renewables .. ด้วยเหตุนี้ โครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า Power Grids จะต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนา ขยายกำลังการผลิต เพิ่มความยืดหยุ่น และจะต้องทำให้ชาญฉลาดเพียงพอในการรับเข้า จัดเก็บ และส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าบนระบบพลังงาน Energy System ได้อย่างแม่นตรง เชื่อถือได้ เพื่อรองรับความต้องการกำลังไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งสามารถรองรับกำลังไฟฟ้าจากแหล่งทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กยิบย่อยรูปแบบกระจายจำนวนมากที่เรียกว่า Distributed Energy Resources : DERs หรือเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือน Virtual Power Plants : VPPs Network ที่ผนวกรวมเข้ากับระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Power Grids ในอนาคตอันใกล้นี้ นั่นเอง ..

ยุคของการใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification กับการดิ้นรนในภาคอุตสาหกรรม ..

การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่โดดเด่น ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจนในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs, พลังงานสะอาดสีเขียว Green & Clean Energy และแบตเตอรี่ Batteries ไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในครัวเรือน ที่อยู่อาศัย และอาคาร ได้กลายเป็นพื้นที่การแข่งขันทางเศรษฐกิจแห่งยุคของการใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification จากนี้ไป ..

Electrification Futures Study | Credit : NREL

ท่ามกลางสงครามการค้า และการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ยังคงรุนแรงต่อเนื่อง รวมทั้งการระบาดของโควิด-19 ที่เพิ่งจะผ่านพ้นไป ยังทำให้ความเปราะบางของซัพพลายเชน Supply Chains ในภูมิรัฐศาสตร์ระดับโลกมีความไม่แน่นอนมากยิ่งขึ้น ผนวกกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาด Clean Technologies และการใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และสังคมของทุกประเทศทั่วโลกมากยิ่งขึ้น ..

ตัวอย่างการผลักดันภาคอุตสาหกรรมแห่งยุคของการใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification รอบใหม่ในประเทศญี่ปุ่น พบว่า พวกเขากำลังยกระดับการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศด้านการใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification ในระยะยาว ทั้งในอุตสาหกรรมการผลิต พลังงาน ไปจนถึงการส่งออก โดยตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา กระทรวงการคลังญี่ปุ่น ประกาศด้วยความเชื่อมั่นว่า “ใครเป็นผู้นำด้านแบตเตอรี่ จะได้เป็นผู้นำโลก” .. อดีตนายกรัฐมนตรี “ชินโซ อาเบะ Shinzo Abe” ได้กล่าวยืนยันไว้ด้วยว่า อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ Battery Industry คือ เรื่องที่หลายกระทรวงต้องให้ความสำคัญ และจะขาดความร่วมมือจากภาคเอกชนนั้น ไม่ได้ ..

ทั้งนี้ เหล่านักการเมือง และนักธุรกิจจากภาคอุตสาหกรรมหลายราย ได้แสดงความเห็นไว้ว่า ญี่ปุ่นควรให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Technologies ให้มากขึ้นอีก เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศเอาไว้ และเทคโนโลยีที่ถูกยกมาเป็นหัวใจสำคัญ คือ ‘เทคโนโลยีการปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification Technologies’ ซึ่งจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางสังคม และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs, พลังงานสะอาดสีเขียว Green & Clean Energy และลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries ไปจนถึงเทคโนโลยีด้านที่อยู่อาศัย Residential Technologies ซึ่งไม่เพียงแต่จะต้องผลักดันในส่วนของการส่งออกเท่านั้น แต่รวมถึงการสร้างซัพพลายเชน Supply Chains ในประเทศที่มั่นคงไปพร้อมด้วย ..

สำหรับการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาพรวมทั่วโลกนั้น การปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification ได้รับแรงผลักดันในภาคส่วนต่างๆ ของทุกประเทศ .. ปีที่ผ่านมา ความก้าวหน้าที่โดดเด่นในประเทศเหล่านี้ เช่น จีนมีส่วนแบ่งการขายรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs อยู่ที่ 29% ในปี 2565 ดังนั้น เป้าหมายของรัฐบาลจีนในสำหรับยอดขายรถยนต์พลังงานใหม่ New Energy Vehicle Sales  อยู่ที่ 20% ในปี 2568 จึงบรรลุผลล่วงหน้า 3 ปี ไปได้แล้วอย่างสบายๆ ..

ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ ก็เป็นลักษณะที่คล้ายคลึงกัน นอกจากนั้น ปั๊มความร้อน Heat Pumps ขายได้มากกว่าระบบทำความร้อนที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel-Based Heating Systems ในปี 2565 ไปเรียบร้อยเช่นกัน ..

ตัวอย่างในอินเดีย พบการจดทะเบียนรถสามล้อ India’s Three-Wheeler Registrations มากกว่าครึ่งหนึ่งในปี 2565 เป็น สามล้อยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ..

ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา นิวซีแลนด์ โดยนโยบายภาครัฐ สั่งห้ามการติดตั้งหม้อต้มน้ำด้วยถ่านหินอุณหภูมิต่ำ และปานกลางใหม่ New Low & Medium-Temperature Coal Boilers เพื่อส่งเสริมทางเลือกการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สะอาดกว่าสำหรับภาคอุตสาหกรรม ..

รถยนต์ใหม่ และบ้านใหม่ คือ พื้นที่หลักในการใช้เทคโนโลยีการใช้พลังงานไฟฟ้า Deployment of Electrification Technologies .. ภาคอุปสงค์ที่แตกต่างกันแสดงขั้นตอนการปรับใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย .. การใช้งานนี้ ส่วนหนึ่งได้รับแรงผลักดันจากนโยบายภาครัฐเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Green House Gases : GHGs Emission Reduction Policies และการลดต้นทุนการใช้พลังงาน หรือการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ Energy Efficiency ..

ในภาคการขนส่ง Transport Sector มีรถยนต์ไฟฟ้า Electric Cars มากกว่า 26 ล้านคันออกสู่ท้องถนนในปี 2565 เพิ่มขึ้น 60% เมื่อเทียบกับปี 2564 และมากกว่า 5 เท่าของสต็อกในปี 2561 .. ในภาคส่วนรถบัส รถโดยสาร และยานยนต์บรรทุกสำหรับงานหนัก Bus & Heavy-Duty Segments นั้น ตัวเลือกพลังงานไฟฟ้า กำลังได้รับแรงผลักดันอย่างช้า ๆ เช่นกัน .. โมเดลยานยนต์ใช้กำลังไฟฟ้า Electric Models เพิ่มมากขึ้น โดยมีรถบัส และรถบรรทุกใหม่ New Bus & Truck Models สำหรับงานหนัก จำนวนอย่างน้อย 220 รุ่น เข้าสู่ตลาดในปี 2565 .. ยานพาหนะไฟฟ้าสำหรับงานหนักส่วนใหญ่ เกิดขึ้นในประเทศจีน โดยกว่า 80% ของยอดขายทั้งหมด ตั้งอยู่ที่นั่น อย่างไรก็ตาม ยอดขายในยุโรป และอเมริกาเหนือ เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2565 เมื่อเทียบกับปี 2564 มาพร้อมด้วยเช่นกัน ..

นอกจากภาคการขนส่ง Transport Sector แล้ว เทคโนโลยีการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีแนวโน้มมากที่สุดนั้น มุ่งไปที่อาคาร และภาคอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับการทำความร้อน และความเย็นของอากาศ น้ำ และไอน้ำ .. ตัวเลือกทางเทคโนโลยีในภาคอาคาร Technological Options in the Buildings Sector ได้รับการพัฒนาอย่างดี และในปัจจุบันปั๊มความร้อน Heat Pumps ได้กลายเป็นเทคโนโลยีการทำความร้อนที่พบบ่อยที่สุดในบ้านเรือนที่สร้างขึ้นใหม่ .. ขณะที่ ในปี 2565 ยอดขายปั๊มความร้อนทั่วโลกเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับปี 2564 .. ยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ มียอดขายเติบโตสูงสุด โดยเพิ่มขึ้น 40%, 19% และ 11% ตามลำดับ .. อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มการใช้ปั๊มความร้อนในอาคารที่มีอยู่ก่อนแล้ว ความจำเป็นในการปรับปรุงอาคารสำหรับปั๊มความร้อน ทั้งนี้ความลังเลของผู้บริโภค อาจกำลังชะลอการเติบโตของของเทคโนโลยีนี้มาพร้อมด้วยเช่นกัน ..

ในภาคอุตสาหกรรม Industrial Sector นั้น เทคโนโลยีการใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification Technologies กำลังถูกนำไปใช้ในส่วนความร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำ เช่น อาหาร และเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมกระดาษ และการผลิตเบา รวมถึงกระบวนการที่มีอุณหภูมิต่ำบางอย่างในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ตัวเลือกในการใช้พลังงานไฟฟ้าให้กับกระบวนการทางอุตสาหกรรม ได้แก่ เตาไฟฟ้า และเตาอาร์คพลาสมา รวมทั้งปั๊มความร้อนอุณหภูมิสูง .. ปัจจุบัน ปั๊มความร้อนทางอุตสาหกรรม Industrial Heat Pumps คือ ตัวเลือกที่ใช้ได้ในกระบวนการที่ต้องการอุณหภูมิระหว่าง 90-140oC รวมถึงกระบวนการไอน้ำหลายอย่าง โดยจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อรักษาความแตกต่างของอุณหภูมิไว้ที่ 50-60oC .. นอกจากนี้ เตาอาร์คไฟฟ้า Electric Arc Furnaces ยังนิยมใช้ในการผลิตเหล็กขั้นทุติยภูมิอยู่แล้ว .. ในอุตสาหกรรมเหล็ก และเหล็กกล้า Iron & Steel Industry ก็เช่นกัน การแยกแร่ด้วยกำลังไฟฟ้า Ore Electrolysis นำเสนอทางเดินไฟฟ้าอีกทางหนึ่ง Another Electric Pathway นอกเหนือไปจากเส้นทางของแหล่งพลังงานฟอสซิลดั้งเดิม Conventional Fossil Route ทั่วไป .. โครงการนำร่องในฝรั่งเศส โดยบริษัท Siderwin และสหรัฐฯ จากบริษัท Boston Metal คาดว่าจะนำไปสู่การปรับมาใช้กำลังไฟฟ้าในกระบวนผลิตของโรงงานในเชิงพาณิชย์ได้อย่างน้อยประมาณก่อนปี 2573 ..

ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ที่ผลิตจากอิเล็กโทรลิซิส Electrolysis คือ สุดยอดรูปแบบหนึ่งของการใช้พลังงานไฟฟ้าทางอ้อม และเป็นตัวเลือกที่สำคัญสำหรับบางส่วนของอุตสาหกรรมหนัก แม้ว่าต้นทุนจะยังคงสูงกว่าการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยตรง .. แต่กรณีการใช้งานที่สำคัญที่สุด คือ กระบวนการที่ใช้อุณหภูมิสูง ซึ่งไม่มีทางเลือกในการใช้พลังงานไฟฟ้าโดยตรง ทั้งนี้ หากใช้กำลังไฟฟ้าผ่านเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน Hydrogen Fuel Cells พบว่า พวกมันสามารถให้กำลังขับที่เหนือชั้นมากกว่ากำลังไฟฟ้าจากชุดแบตเตอรี่ Battery Packs ทั่วไป และเหมาะสมต่อการเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าใช้สำหรับงานหนัก รวมทั้งเหนือกว่าเมื่อเทียบเคียงกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน ..

การลดการปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification ในสถานการณ์ Net Zero Scenario ภายในปี 2593 ..

ในสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Scenario ภายในปี 2593 นับจากนี้จนถึงจุดเล็งที่ปี 2573 นั้น การลดการปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification-Related Emission Reductions ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในภาคการขนส่ง Transport Sector ..

การใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification มีศักยภาพที่ดีเยี่ยมในการลดความต้องการพลังงานขั้นสุดท้าย Reduce Final Energy Demand เนื่องจากประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเทคโนโลยีไฟฟ้า Energy Efficiency of Electric Technologies โดยทั่วไปจะสูงกว่าทางเลือกที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel-Based Alternatives ซึ่งให้บริการด้านพลังงานที่คล้ายคลึงกันมาก .. นอกจากนี้ ประโยชน์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงานไฟฟ้ายังเดินหน้าไปพร้อมๆ กันกับการเพิ่มการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน Increase of Renewable Energy อีกด้วย .. เนื่องจากจำนวนการใช้ขั้นสุดท้าย Number of End Uses เปลี่ยนไปสู่ความต้องการการผลิตกำลังไฟฟ้าที่มากขึ้น ประกอบกับการผลิต และจัดเก็บพลังงานที่ยืดหยุ่น จะถูกเพิ่มให้กับระบบไฟฟ้า Electricity System มากขึ้นตามมาด้วย ซึ่งช่วยลดผลกระทบของการผนวกรวมพลังงานหมุนเวียนแบบแปรผันได้ ในทำนองเดียวกัน เมื่อระบบไฟฟ้าอิ่มตัวมากขึ้นด้วยพลังงานหมุนเวียน Electricity Supply Becomes Increasingly Saturated with Renewables ก็จะส่งผลให้ความเข้มข้นของคาร์บอน Carbon Intensity ในทุกภาคส่วนลดลงด้วย ..

Commercial Fleet Electrification / New Law, Infrastructure and Vehicles | Credit : Jones Day

จนถึงปัจจุบัน การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ Majority of Electrification-Related CO2 Emission Reductions อยู่ในภาคการขนส่งทางถนน Road Transport Sector โดยเฉพาะในกลุ่มยานพาหนะขนาดเล็ก Light-Duty Vehicle Segment ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพระบบส่งกำลังเพียงอย่างเดียว คาดว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ได้ประมาณอย่างน้อย 1 GT ในปี 2573 เมื่อเทียบกับปัจจุบันภายใต้สถานการณ์ Net Zero Scenario .. ภาคส่วนการขนส่งนี้ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการนำเทคโนโลยีการใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification Technologies นี้ไปใช้ และโดยมาตรการทางกฎหมายที่มุ่งเป้าไปที่การลดมลพิษทางอากาศภายในเขตเมืองมาพร้อมด้วย ..

ทั้งนี้ การใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification รายใหญ่อันดับ 2 คือ การใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำความร้อนในพื้นที่ Electrification of Space Heating .. ปัจจุบัน หม้อต้มน้ำก๊าซธรรมชาติ Natural Gas Boilers มีส่วนแบ่งขนาดใหญ่ในการทำความร้อนสำหรับที่อยู่อาศัย Residential Heating แต่มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานใหม่ของอาคารจะเพิ่มส่วนแบ่งของปั๊มความร้อน Heat Pumps .. การปล่อยมลพิษที่น้อยลง จะเกิดขึ้นกับการใช้พลังงานทดแทน Increased Use of Renewable Energy ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งมักจะมาพร้อมกับการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลักในอาคาร Building Electrification ..

Building Electrification | Credit : Civiclive / City of Piedmont

ดังนั้น สรุปภาพรวมได้ว่า รถยนต์ใหม่ New Cars และบ้านหลังใหม่ New Houses คือ พื้นที่หลักในตลาดเชิงพาณิชย์สำหรับการใช้เทคโนโลยีการใช้พลังงานไฟฟ้า Main Areas for Deployment of Electrification Technologies จากนี้ไป ..

อย่างไรก็ตาม ภาคอุปสงค์ที่แตกต่างกัน Different Demand Sectors แสดงขั้นตอนการปรับใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย .. การใช้งานเทคโนโลยีการใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification Technologies นี้ส่วนหนึ่ง ได้รับแรงผลักดันจากนโยบายภาครัฐของแต่ละประเทศสำหรับการมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการลดต้นทุนการใช้พลังงาน ..

หลังจากความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2564 ความต้องการยังคงฟื้นตัวได้ต่อไปในปี 2565 ที่ผ่านมา ท่ามกลางวิกฤติพลังงานโลกที่เกิดจากการบุกยูเครนของรัสเซีย ในขณะที่ความต้องการพลังงานไฟฟ้าลดลงในยุโรป และการเติบโตชะลอตัวในจีน .. สหรัฐฯ และอินเดีย มีความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นสูง ภายหลังการผ่อนคลายข้อจำกัดในการแพร่ระบาดของโควิด-19 และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ความต้องการโดยรวม เพิ่มขึ้นประมาณ 2% ซึ่งต่ำกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่เห็นได้ในช่วงปี 2558-2562 ..

ตั้งแต่ปี 2559-2565 พบว่า ส่วนแบ่งการผลิตกำลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นที่อัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้นที่ 1.7% โดยเพิ่มขึ้นสูงสุด 4.5% ที่เห็นได้ในปี 2563 .. ทั้งนี้ ส่วนแบ่งกำลังการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันสำหรับความต้องการพลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมด คือ 20% และสัดส่วนนี้ คาดว่าจะเติบโตเป็นมากกว่า 27% ภายในปี 2573 ในสถานการณ์ Net Zero Scenario ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี อยู่ที่ประมาณ 4.1% หมายถึง อัตราการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งการใช้พลังงานไฟฟ้าจะต้องเร่งให้เร็วขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นไปตามเหตุการณ์สำคัญของ NZE Scenario ..

แม้จะมีส่วนสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ภาคการขนส่งทางถนนก็มีส่วนแบ่งจากการผลิตไฟฟ้าน้อยที่สุดในความต้องการพลังงานทั้งหมดในปี 2573 .. ภายใต้สถานการณ์จำลองของ NZE Scenario นั้น ส่วนแบ่งจะเพิ่มขึ้น 20 เท่าจนถึงปี 2573 จากเพียงครึ่งเปอร์เซ็นต์เท่านั้น ในปี 2565 เป็นประมาณ 9% ในปี 2573 .. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาคาร และภาคอุตสาหกรรม มีส่วนแบ่งการใช้กำลังไฟฟ้าที่มากอยู่ก่อนแล้ว พวกมันจึงแสดงอัตราการเร่งการปรับไปใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification เป็นหลักที่ช้าลงสำหรับตัวบ่งชี้นี้พร้อมกับการเติบโตอยู่ที่ 40% และ 30% ตามลำดับ .. อย่างไรก็ตาม สำหรับทุกภาคส่วน อัตราเฉลี่ยต่อปีซึ่งส่วนแบ่งของการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจะต้องมากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับอัตราการเพิ่มขึ้นในอดีต ตามที่กล่าวมาแล้ว ..

ทั้งนี้ ในประเด็นการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อลดการปล่อยคายคาร์บอน Electrification for Decarbonization ในภาพรวมทั่วโลกนั้น สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA ชี้ว่า ส่วนแบ่งความต้องการพลังงานไฟฟ้า Share of Electricity in Energy Demand จะต้องเพิ่มขึ้น 4% ต่อปี เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ให้สำเร็จได้ ภายในปี 2593 ..

อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับพลังงานที่ยั่งยืน Electrification for Sustainable Energy นั้น การปรับไปใช้พลังงานไฟฟ้าในการขนส่ง Transport Electrification และการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อทำความร้อน Heating Electrification หรือการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคาร Building Electrification กับระบบการจัดเก็บพลังไฟฟ้า Energy Storage System คือ กุญแจสำคัญ ..

ในภาคการขนส่ง Transport Sector นั้น เพราะว่า การผลิตไฟฟ้าอย่างยั่งยืน Sustainably Produce Electricity นั้น ง่ายกว่าการผลิตเชื้อเพลิงเหลวที่ยั่งยืน Sustainably Produce Liquid Fuels .. ดังนั้น การนำยานพาหนะไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs มาใช้ จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ภาคส่วนในระบบการขนส่งมีความยั่งยืนมากขึ้น .. ยานพาหนะไฮโดรเจน Hydrogen Vehicles อาจเป็นตัวเลือกสำหรับรถยนต์ขนาดใหญ่สำหรับงานหนักที่ยังไม่มีการใช้ไฟฟ้าอย่างกว้างขวาง เช่น รถบรรทุกทางไกล Long Distance Lorries .. เทคนิคหลายอย่างที่จำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่ง และการบินนั้น ยังถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ..

ในระบบทำความร้อนด้วยไฟฟ้า Heating Electrification นั้น ประชากรโลกส่วนใหญ่ ไม่สามารถจ่ายความเย็นเพียงพอสำหรับบ้านของตนได้ นอกเหนือจากเครื่องปรับอากาศซึ่งต้องใช้กำลังไฟฟ้า และความต้องการพลังงานเพิ่มเติมแล้ว การออกแบบอาคารเชิงรับ และการวางผังเมืองยังเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าความต้องการในการทำความเย็นจะตอบสนองได้อย่างยั่งยืน ในทำนองเดียวกัน หลายครัวเรือนในประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่พัฒนาแล้วต้องทนทุกข์ทรมานจากความขาดแคลนเชื้อเพลิง และไม่สามารถให้ความร้อนแก่บ้านเรือนได้เพียงพอ การใช้ความร้อนที่มีอยู่มักก่อให้เกิดมลพิษอีกต่างหาก ..

ทางออกที่สำคัญในการทำความร้อนอย่างยั่งยืน คือ การใช้ไฟฟ้า Electrification ได้แก่ ปั๊มความร้อน Heat Pumps หรือเครื่องทำความร้อนไฟฟ้า Electric Heater ที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า .. สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA ประมาณการว่า ปัจจุบัน ปั๊มความร้อน Heat Pumps ให้สัดส่วนพื้นที่ในการใช้งานสำหรับการทำน้ำร้อนเพียง 5% ทั่วโลก แต่ศักยภาพของพวกมันจริงๆ สามารถให้ได้มากกว่า 90% .. การใช้ปั๊มความร้อนจากแหล่งพลังความร้อนพื้นดิน Ground Source Heat Pumps ไม่เพียงแต่ช่วยลดภาระพลังงานต่อปีที่เกี่ยวข้องกับการทำความร้อน และความเย็นเท่านั้น แต่ยังทำให้เส้นอุปสงค์ไฟฟ้าแบนราบลงได้โดยกำจัดความต้องการการจ่ายไฟฟ้าสูงสุดในช่วงฤดูร้อนที่รุนแรง ..

อย่างไรก็ตาม ปั๊มความร้อน Heat Pumps และการทำความร้อนแบบไฟฟ้าความต้านทาน Electric Resistive Heating เพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอสำหรับการใช้พลังงานไฟฟ้าของความร้อนในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากในหลายกระบวนการจำเป็นต้องใช้อุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งไม่สามารถทำได้ด้วยอุปกรณ์ประเภทนี้ ตัวอย่างเช่น สำหรับการผลิตเอทิลีน Production of Ethylene ผ่านการแตกตัวด้วยไอน้ำ Steam Cracking ต้องใช้อุณหภูมิสูงถึง 900oC ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการใหม่อย่างมาก .. อย่างไรก็ตาม การแปลงกำลังไฟฟ้าให้เป็นพลังงานความร้อน Power to Heat คาดว่าจะเป็นก้าวแรกในการใช้พลังงานไฟฟ้าของอุตสาหกรรมเคมี Electrification of the Chemical Industry โดยคาดว่าจะมีการดำเนินการในวงกว้างภายในปี 2568 ..

เมืองบางแห่งในสหรัฐฯ เริ่มห้ามการเชื่อมต่อแก๊สสำหรับบ้านหลังใหม่ โดยกฎหมายของรัฐผ่าน และอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะกำหนดให้ต้องใช้ระบบไฟฟ้า หรือการห้ามจากข้อกำหนดของท้องถิ่น .. ตัวอย่างในยุโรป รัฐบาลสหราชอาณาจักร กำลังทดลองการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ทำความร้อนในครัวเรือน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ Climate Goals .. การทำความร้อนด้วยเซรามิก และการเหนี่ยวนำสำหรับเตา Ceramic & Induction Heating ตลอดจนการใช้งานในอุตสาหกรรม เช่น แครกเกอร์ไอน้ำ Instance Steam Crackers คือ ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งาน เพื่อเปลี่ยนออกไปจากการใช้ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas แต่เดิมมาเป็นการใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification ทดแทนได้ ..

นอกจากนั้น ระบบการจัดเก็บพลังงาน Energy Storage System ยังช่วยเอาชนะอุปสรรคสำหรับพลังงานทดแทนที่ไม่ต่อเนื่อง Intermittent Renewable Energy และเป็นส่วนสำคัญของระบบพลังงานที่ยั่งยืน Sustainable Energy System .. วิธีการจัดเก็บพลังงานที่ใช้กันมากที่สุด คือ ไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ Pumped-Storage Hydroelectricity ซึ่งต้องใช้สถานที่ที่มีความสูงแตกต่างกันมาก และสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำได้ .. ขณะที่ แบตเตอรี่ Batteries และโดยเฉพาะแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium Ion Batteries ก็มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายเช่นกัน ซึ่งชุดแบตเตอรี่ Batteries ต้องการแร่ธาตุหายาก Rare-Earth Minerals หลายประเภท เช่น โคบอลต์ Cobalt : 27Co ซึ่งส่วนใหญ่ขุดในคองโกซึ่งเป็นภูมิภาคที่ไม่มีความมั่นคงทางการเมือง ..

การจัดหาแร่ธาตุหายาก Rare-Earth Minerals เหล่านี้ทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลายมากขึ้น อาจรับประกันความเสถียรของห่วงโซ่อุปทาน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้สามารถลดลงได้ด้วยดาวน์ไซเคิล Downcycling และการรีไซเคิล Recycling .. โดยทั่วไปแล้ว แบตเตอรี่ Batteries จะจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในช่วงเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตาม การวิจัยกำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในด้านเทคโนโลยีที่มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะคงอยู่ได้ตลอดฤดูกาล มีการนำระบบจัดเก็บพลังน้ำแบบสูบน้ำ Pumped Hydro Storage และการแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นก๊าซ Power to Gas เช่น ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 เพื่อการจัดเก็บพลังงาน Energy Storage ที่มีความจุสำหรับการใช้งานหลายเดือน มาใช้ในบางพื้นที่ไปพร้อมด้วย .. ทั้งนี้ เพื่อให้มาตรการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification มีส่วนร่วมสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Scenario ให้ความสำเร็จได้ในที่สุด ภายในปี 2593 ..

คาดการณ์ตลาดการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วโลก Global Electrification Market ..

ขนาดธุรกิจในตลาดการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วโลก Global Electrification Market สูงถึง 73.64 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 และคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 172.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2575 .. ทั้งนี้ คาดหมายได้ว่า อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วโลก Global Electrification Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุดรวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 8.91% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2566-2575 ..

ในประเด็นระบบการจัดเก็บพลังงาน ก็มีอัตราการเติบโตที่สูงยิ่งเช่นกัน ข้อมูลการสำรวจตลาด พบว่า ตลาดการจัดเก็บพลังงานทั่วโลก Global Energy Storage Market Size คาดว่าจะเติบโตจาก 210.92 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 ไปเป็น 435.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 ด้วยอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 8.4% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ จนถึงปี 2573 ..

การใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification คือ การแปลงแหล่งพลังงานที่ไม่ใช่ไฟฟ้า Any Non-Electric Energy Source ไปเป็นกำลังไฟฟ้า Electricity ณ จุดที่มีการบริโภคขั้นสุดท้าย และเป็นแนวโน้มสำคัญที่เกิดขึ้นใหม่ในตลาดพลังงานทั่วโลก Global Energy Markets .. การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับการใช้ไฟฟ้าขั้นสุดท้าย Newer Electric End-Use Technologies, ผู้ผลิต Manufacturers และวัตถุประสงค์เชิงนโยบายที่หลากหลาย กำลังขับเคลื่อนแนวโน้มนี้ .. การใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification คือ ตัวเลือกที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายเป็นศูนย์สุทธิ Achieve Net Zero Goals เนื่องจากมีศักยภาพอย่างมากในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และก๊าซคาร์บอนในห่วงโซ่อุปทานพลังงาน Energy Supply Chains ..

จากข้อมูลของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA ในสถานการณ์การปล่อยก๊าซเป็นศูนย์สุทธิ ภายในปี 2593 ชี้ว่า ส่วนแบ่งไฟฟ้าในการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 27% ในปี 2573 จาก 20% ในปี 2564 เนื่องจากพลังงานปลายทางใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้น .. ส่วนแบ่งดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดเวลาของ Net Zero Scenario ในปี 2573 อัตราที่เพิ่มขึ้นนี้ จะต้องเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า ..

Electrification is the Process of Replacing the Use of Fossil Fuels with Electricity as a Source of Energy in Various Applications | Credit : Nano Energies

การเปลี่ยนไปใช้การขนส่งไฟฟ้า Transition to Electric Transportation และการใช้ปั๊มความร้อน Deployment of Heat Pumps สามารถตอบสนองความต้องการได้เป็นส่วนใหญ่ .. ความแน่นอนที่สุดสำหรับการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม คือ กระบวนการความร้อนที่อุณหภูมิต่ำ Low-Temperature Heat Processes .. การใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากการแข่งขันในตลาดที่รุนแรง Fierce Market Competition และอายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่ยาวนาน Lengthy Equipment Lifespan .. อย่างไรก็ตาม โครงการนำร่องในหลายประเทศ คาดว่าจะนำไปสู่การปรับมาใช้กำลังไฟฟ้า Transition to Electrification ในกระบวนผลิต เช่น การแยกแร่ด้วยกำลังไฟฟ้า Ore Electrolysis ในอุตสาหกรรมเหล็ก และเหล็กกล้า Iron & Steel Industry เป็นต้น และรวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมหนักเชิงพาณิชย์อื่น ๆ ได้มากขึ้น อย่างน้อยประมาณก่อนปี 2573 ..

สรุปส่งท้าย ..

การปรับเปลี่ยนไปใช้กำลังไฟฟ้าให้เป็นแหล่งพลังงานหลักมากขึ้น คือ หนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ..

การใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับพลังงานที่ยั่งยืน Electrification for Sustainable Energy นั้น การปรับไปใช้พลังงานไฟฟ้าในการขนส่ง Transport Electrification และการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อทำความร้อน Heating Electrification หรือการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคาร Building Electrification กับระบบการจัดเก็บพลังไฟฟ้า Energy Storage System คือ กุญแจสำคัญ ..

ภาพรวมการปรับเปลี่ยนไปใช้กำลังไฟฟ้า Electrification นั้น พบว่า รถยนต์ใหม่ New Cars และบ้านหลังใหม่ New Houses คือ พื้นที่หลักในตลาดเชิงพาณิชย์สำหรับการใช้เทคโนโลยีการใช้พลังงานไฟฟ้า Main Areas for Deployment of Electrification Technologies จากนี้ไป .. ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามสถานการณ์การปล่อยก๊าซมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emissions : NZE Scenario ได้สำเร็จ ภายในปี 2593 ..

Building Electrification Is Reaching Critical Mass in Commercial Facilities | Credit :  B2B Media Company

เนื่องจากพลังงานสะอาด Clean Energy ส่วนใหญ่ สร้างขึ้นในรูปแบบของกำลังไฟฟ้า Form of Electricity เช่น พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy หรือพลังงานนิวเคลียร์ Nuclear Power .. การเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานเหล่านี้ จึงกำหนดให้การใช้ไฟฟ้าขั้นสุดท้าย End Uses เช่น การขนส่ง Transport และการทำความร้อน Heating เพื่อให้ระบบพลังงานของโลกมีความยั่งยืน World’s Energy Systems to be Sustainable .. ผลงานล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ในสหรัฐฯ และแคนาดา การใช้ปั๊มความร้อน Heat Pumps มีความประหยัดหากขับเคลื่อนด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าโซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ Solar Photovoltaic : PV Devices เพื่อชดเชยการทำความร้อนด้วยก๊าซโพรเพน Propane : C3H8 ในพื้นที่ชนบท และการทำความร้อนด้วยก๊าซธรรมชาติ Natural Gas Heating ในพื้นที่ชุมชนเมืองต่างๆ ..

เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Photovoltaic : PV Technology และเทคโนโลยี Heat Pump Technology สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้บริโภคได้มากกว่า ขณะเดียวกันก็ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน Reductions in Carbon Emissions ได้อย่างมาก .. วิธีนี้สามารถปรับปรุงไปใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก Electrification ได้โดยการผนวกรวมแบตเตอรี่ความร้อน Thermal Batteries เข้ากับปั๊มความร้อน Heat Pumps และระบบทำความร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Energy Heating System ซึ่งหมายถึง ประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เหนือชั้นกว่าด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง ..

ปัจจุบัน ต้นทุน และค่าใช้จ่ายของกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม Solar & Wind Energy Sources ยังคงลดลงเรื่อย ๆ ขณะนี้ และจากนี้ไป มนุษยชาติ ต้องการระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage Systems : ESSs ขนาด และรูปแบบต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้ รวมทั้งมีความจุที่สูงพอ เพื่อกำจัดเชื้อเพลิงฟอสซิลออกไปจากภาพรวมระบบพลังงานทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ To Take Fossil Fuels Out of the Overall Picture Completely ..

หากการปรับเปลี่ยนไปใช้กำลังไฟฟ้าให้เป็นแหล่งพลังงานหลัก Transition for Electrification นั้น ถือเป็นหนึ่งกลยุทธ์สำคัญ .. ดังนั้น พลังงานหมุนเวียน Renewables ก็จะต้องเป็นเครื่องมือที่มีแนวโน้มที่ยอดเยี่ยมในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change ซึ่งทำให้ระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage Systems : ESSs ก็จะมีส่วนร่วมสำคัญยิ่งยวดมาพร้อมด้วยเช่นกัน ..

การผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน ในการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy เป็นอย่างน้อย 2 เท่าในส่วนผสมพลังงานโลกภายในปี 2573 .. หลักฐานที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ การนำกำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน เข้าสู่โครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้า มีความเป็นไปได้ทั้งทางเทคนิค และทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม Solar & Wind Power Technology มีต้นทุนลดลงอย่างมาก และพร้อมเข้าถึงความเท่าเทียมกันบนโครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้าที่ชาญฉลาดมากขึ้นในแง่เศรษฐกิจ ..

ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนยุคใหม่ มีอยู่อย่างน้อย 4 ประการที่ถือเป็นแรงขับทางเศรษฐกิจ และสังคมที่สำคัญไปสู่อนาคต ได้แก่ การขับเคลื่อนสู่การปรับไปใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification ผนวกกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล Digitalization, การขับเคลื่อนสู่การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ Decarbonization, การขับเคลื่อนสู่การผลิตพลังงานรูปแบบกระจาย Decentralization และการขับเคลื่อนนโยบาย รวมทั้งมาตรการภาครัฐใหม่ๆ สู่การปลดล็อค ผ่อนปรน กฎเกณฑ์ กฎระเบียบ ทางพลังงาน De-Regulation นั่นเอง ..

สำหรับกิจการพลังงานของประเทศไทยนั้น ถือได้ว่า กำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านจากการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่การผลิต และการใช้พลังงานไฟฟ้า Transition for Electrification มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียน Renewable Electricity และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency ด้วยเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change ตามข้อตกลง และความร่วมมือในระดับนานาชาติ ..

การเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่การใช้พลังงานไฟฟ้า Transition for Electrification ให้มากขึ้นในประเทศไทย ก่อให้เกิด “กิจกรรมที่ใช้นวัตกรรมใหม่” ในกิจการไฟฟ้า รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีการเข้าสู่ตลาดของผู้ประกอบการรายใหม่ได้มากยิ่งขึ้น .. ทั้งนี้ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่พลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืน Sustainable Electrifying Transition ที่เห็นได้ชัด คือ การลดการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Reduce Fossil Fuel-Based Power Generation โดยหันมาใช้พลังงานหมุนเวียน Renewables ที่มีในประเทศให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels เพื่อใช้ในการผลิตกำลังไฟฟ้า และช่วยลดการขาดดุลทางการค้า เกิดการจ้างงาน และสร้างรายได้ขึ้นภายในประเทศ ภายในพื้นที่ และภายในชุมชนจากการขยายตัวของห่วงโซ่มูลค่า โดยเฉพาะเชื้อเพลิงพลังงานชีวมวล Biomass Energy ที่มาจากวัสดุเหลือใช้ในภาคการเกษตร และขยะ ..

นวัตกรรมใหม่ๆ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel, ก๊าซชีวภาพ Biogas และไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพ Hydrogen : H2 from Biogas ด้วยวัตถุดิบการเกษตร และแหล่งน้ำในพื้นที่ ซึ่งมีอยู่มากมายในประเทศไทย เป็นต้นนั้น ยังจะช่วยให้เกิดการค้า และการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดอุตสาหกรรม และธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นภายในประเทศอย่างมากมาย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs Industry, อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ Battery Industry, อุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Industry, การผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ Solar PV Industry, ธุรกิจการรีไซเคิลอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Devices Recycle, ธุรกิจแพลตฟอร์มซื้อขายไฟฟ้า Electricity Trading Platform Applications และสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า EV Charger Stations เป็นต้น ..

Electrification is the Newest Green Buzzword | Credit : City Journal

นอกจากนี้ การเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification ของไทยที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และการใช้นวัตกรรมในกิจการไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นการผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานสะอาด Clean Renewable Electricity Generation หรือการเพิ่มประสิทธิภาพ Energy Efficiency ในการใช้พลังงานไฟฟ้า รวมทั้งการผลิตระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ Battery Storage Production ขึ้นใช้งานเองในประเทศ และเพื่อการส่งออก ซึ่งมาตรการทั้งหมดเหล่านี้ จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Reduce GHGs Emission จากภาคพลังงาน Energy Sector ของไทย และในท้ายที่สุด “ผู้บริโภค หรือผู้ใช้ไฟฟ้า” จะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ในรูปของอัตราค่าไฟฟ้าที่ลดลงอันเกิดจากการกำกับดูแล และการแข่งขันในกิจการผลิต ส่งจ่าย และกิจการจำหน่ายกำลังไฟฟ้า .. การให้บริการสาธารณะที่มีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการที่หลากหลายได้ตามเวลาจริง Real Time จากนวัตกรรมในการผลิต และจำหน่ายกำลังไฟฟ้ารูปแบบกระจาย รวมทั้งจากธุรกิจใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น คือ เป้าหมายนโยบายภาครัฐของไทย ซึ่งรวมถึงความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์สำคัญด้วยการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Important Strategy to Reach Net Zero Goals ให้สำเร็จได้ในที่สุดร่วมกับนานาชาติทั่วโลกไปพร้อมด้วย ..

…………………………………

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Electrification | Wikipedia :-

https://en.wikipedia.org/wiki/Electrification#:~:text=Electrification%20is%20the%20process%20of,a%20region%20or%20national%20economy

Electrification | IEA :-

https://www.iea.org/energy-system/electricity/electrification#tracking

Electrification: Definition & Meaning | Enel X :-

https://corporate.enelx.com/en/question-and-answers/what-is-electrification

Global Electrification Market | Precedence Research :-

https://www.precedenceresearch.com/electrification-market

Net Zero Emissions Electricity :-

https://photos.app.goo.gl/EEjMKeZqJegVMpb16

Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-

https://photos.app.goo.gl/Qnj3eGJobkzRHx7a9

Electrification: Most Important Strategies for Reducing CO2 Emissions :-

https://photos.app.goo.gl/5b9D5cAaKUMF1Eiz9

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img