วันเสาร์, กรกฎาคม 27, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSESG & Renewable Energy ข้อไขความยั่งยืน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ESG & Renewable Energy ข้อไขความยั่งยืน

ESG & Renewable Energy : Powering Sustainable Solutions

“….แนวคิด ESG ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจ ด้วยการสะท้อนบทบาทความรับผิดชอบขององค์กรทางธุรกิจที่มีต่อสังคม และผู้คน รวมทั้งเป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานในการพัฒนาทางธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนไปพร้อมด้วย ..”

ESG คือ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน Sustainable Development of the Organization ซึ่งย่อมาจาก Environment, Social & Governance .. ปัจจุบัน แนวคิด ESG ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก Global Investors เนื่องจากเป็นแนวคิดที่นักลงทุนใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินตกลงใจลงทุน โดยจะให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล หรือธรรมาภิบาล โดย Environment เป็นหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงในด้านความรับผิดชอบขององค์กร และบริษัทฯ ต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่ Social เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้วัดว่า องค์กร และบริษัทฯ เหล่านี้ มีการจัดการความสัมพันธ์ และมีการสื่อสาร กับ ลูกจ้าง Employee, ซัพพลายเออร์ Suppliers, ลูกค้า Customers หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Stakeholders อย่างไร และ Governance คือหลักการที่ใช้วัดว่า การจัดการความสัมพันธ์ในเชิงการกำกับดูแล และธรรมาภิบาลนั้น เป็นอย่างไร เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ แนวคิด ESG ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจ ด้วยการสะท้อนบทบาทความรับผิดชอบขององค์กรทางธุรกิจที่มีต่อสังคม และผู้คน รวมทั้งเป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานในการพัฒนาทางธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนไปพร้อมด้วย ..

ESG Overview | Credit : Adam Wong / The Fifth Person

การบูรณาการหลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Environment, Social & Governance : ESG เข้ากับโครงการริเริ่มด้านพลังงานทดแทน Renewable Energy Initiatives ถือเป็นแนวทางการเปลี่ยนแปลงในการจัดการกับความท้าทายหลายแง่มุมของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate change, ความเท่าเทียมทางสังคม Social Equity และการกำกับดูแลกิจการ Corporate Governance .. ในขณะที่โลกต้องต่อสู้กับผลกระทบที่เพิ่มขึ้นจากภาวะโลกร้อน Escalating Impacts of Global Warming รวมไปถึงการเปลี่ยนผ่านไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน Shift Towards Renewable Energy Sources เช่น ลม แสงอาทิตย์ และพลังน้ำ Wind, Solar & Hydro กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญที่ขาดไม่ได้สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development .. การเปลี่ยนแปลงนี้ มีความสำคัญยิ่งต่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Reducing Greenhouse Gas Emissions, ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ Fostering Economic Growth, เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน Enhancing Energy Security และการปรับปรุงสุขภาพของประชาชน Improving Public Health ..

ในประเด็นบริบทเหล่านี้ เกณฑ์พิจารณาหลักในแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Environment, Social & Governance: ESG จะนำเสนอนักลงทุน องค์กร และผู้กำหนดนโยบายในการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลรอบด้านซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนในระยะยาว ด้วยการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ และบริษัทฯ ที่ปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และรักษาแนวทางปฏิบัติด้านการกำกับดูแลที่โปร่งใส และมีจริยธรรม ซึ่งภาคพลังงาน Energy Sector สามารถมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญต่อวาระความยั่งยืนระดับโลก Significantly to the Global Sustainability Agenda ได้อย่างยอดเยี่ยม ..

การทำงานร่วมกันระหว่างแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Environment, Social & Governance : ESG กับพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy กำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์การลงทุน Investment Landscape โดยส่งเสริมการจัดสรรเงินทุนไปสู่โซลูชั่นข้อไขพลังงานที่ยั่งยืน และมีความรับผิดชอบ .. สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยในการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสใหม่ๆ สำหรับนวัตกรรม การสร้างงาน และการไม่แบ่งแยกทางสังคมอีกด้วย ในขณะที่ตลาดพลังงานทดแทน Renewable Energy Market ยังคงเติบโต และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง .. การบูรณาการหลักการ ESG จึงมีความสำคัญมากขึ้นในการรับรองว่าการเติบโตนี้มีความเท่าเทียม ฟื้นตัวได้ และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กว้างขึ้นของการดำเนินการด้านความยั่งยืน และสภาพภูมิอากาศระดับโลก Global Sustainability & Climate Action ..

การเพิ่มขึ้นของการลงทุน The Rise of Investments ตามเกณฑ์ ESG Criteria ..

การลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ ผ่านแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Environment, Social & Governance : ESG ผนวกรวมกับพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy กำลังกลายเป็นยุคทองทั่วโลกที่ขับเคลื่อนโดย COP21 หรือข้อตกลงปารีส Paris Agreement และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals : SDGs ของสหประชาชาติ United Nations : UN 2030 ..

ปัจจัย ESG Factors และอันดับทางเครดิตนั้น เป็นที่ยอมรับกันดีในวงการธุรกิจ แท้จริงแล้ว มูลค่าตลาดสินทรัพย์ ESG Assets Market ในปี 2564 มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 18.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยคาดว่าจะเติบโตถึง 12.9% จนถึงปี 2569 ..

สหภาพยุโรป European Union : EU มีตำแหน่งผู้นำในตลาดกองทุนที่ยั่งยืนโดยถือครอง 84% ของสินทรัพย์ทั่วโลกในภาคส่วนนี้ .. นอกจากนี้ยังเป็นตลาดที่ทันสมัย และมีความหลากหลายที่สุดสำหรับการลงทุนในกรอบแนวคิด ESG เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว สหรัฐฯ ที่ตามมา คิดเป็น 11% ของสินทรัพย์กองทุนที่ยั่งยืนทั่วโลกเหล่านี้ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 เป็นต้นมา ..

ESG Investing | Credit : Artificial Intelligence Risk, Inc.

การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า การลงทุนที่ยั่งยืน Sustainable Investments กำลังเพิ่มขึ้น .. มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ University of Cambridge ให้คำนิยามการลงทุนที่ยั่งยืน Sustainable Investments ไว้ และชี้ให้เห็นความเกี่ยวข้องกับการสร้างพอร์ตโฟลิโอโดยการเลือกสินทรัพย์ที่ถือว่ามีความยั่งยืน หรือมีความสามารถไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาว .. นอกจากนี้ยังสามารถมองว่า พวกมัน คือ แนวทางที่เด็ดเดี่ยวโดยไม่รวมสินทรัพย์ที่ถูกมองว่าเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมในระยะยาว Long-Term Environmental & Social Sustainability ..

มาตรฐาน ESG Standards ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกสำหรับการลงทุนที่ยั่งยืน และรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น นับตั้งแต่การพัฒนามาตรฐานเหล่านี้มาตั้งแต่ปี 1960 หรือปี พ.ศ.2503 ด้วยพัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเป็นผลมาจากการยอมรับทั่วโลกถึงความสำคัญของความยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสังคม Sustainability & Social Responsibility จึงเป็นเรื่องยากที่จะระบุอย่างแน่ชัดว่า ประเทศใดคือ ชาติที่เริ่มใช้มาตรฐานเหล่านี้มาก่อน .. อย่างไรก็ตาม บางประเทศ หรือภูมิภาค มีความกระตือรือร้นเป็นพิเศษในการส่งเสริมมาตรฐาน ESG Standards ตัวอย่างเช่น ประเทศในยุโรป เช่น ประเทศสแกนดิเนเวีย ได้แก่ เดนมาร์ก Denmark, สวีเดน Sweden, นอร์เวย์ Norway และประเทศเช่น เนเธอร์แลนด์ Netherlands เป็นผู้บุกเบิกในการบูรณาการเกณฑ์ ESG Criteria เข้ากับนโยบายการลงทุน และการกำกับดูแลกิจการ Investment & Corporate Governance Policies .. ในทำนองเดียวกัน ประเทศในกลุ่มนอร์ดิก Nordic Countries เหล่านี้ มีแนวโน้มในปัจจุบันที่จะได้คะแนนค่อนข้างดีในการประเมินเกณฑ์ ESG Criteria ระดับนานาชาติหลายรายการ ..

นอกจากนี้ ระหว่างปี 2550-2559 จำนวนกองทุนแบบดั้งเดิมที่กำหนดเกณฑ์ ESG Criteria ในมุมมองเพิ่มขึ้นจาก 260 กองทุนเป็นมากกว่า 1,000 กองทุน .. นอกจากนี้ จำนวนการลงทุนที่ผนวกรวมเกณฑ์ ESG Criteria คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า ระหว่างปี 2562-2565 .. การศึกษาอื่น ๆ ยังอ้างว่า กองทุนที่มีความมุ่งมั่น Funds with an ESG Commitment เพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วง 3 ปีนี้ จาก 3% เป็น 5% .. ทั้งนี้ การศึกษาครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นว่า การลงทุน The Rise of Investments ตามเกณฑ์ ESG Criteria มีการเติบโตอย่างแท้จริงในสินทรัพย์การลงทุนที่ยั่งยืนทั่วโลก ระหว่างปี 2555-2563 โดยมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจาก 13.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 35.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ แน่นอนว่า การเติบโตของกองทุนที่ปฏิบัติตาม ESG-Compliant Funds นี้สอดคล้องกับความสนใจที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนในการลงทุนที่ยั่งยืน Growing Interest in Sustainable Investment ..

การนำแนวปฏิบัติ ESG Practices ไปใช้นั้น นอกจากจะแตกต่างไปตามภูมิสังคมแล้ว พวกมันยังแตกต่างกันกันไปในแต่ละภาคส่วนไปพร้อมด้วย .. ภาคส่วนของอุตสาหกรรม Industry, เทคโนโลยีสารสนเทศ Information Technology, การตัดสินใจของผู้บริโภค Consumer Discretionary และภาควัสดุ Materials Sector คือ ภาคส่วนที่มีความสนใจมากที่สุดในแนวปฏิบัติ ESG Practice .. น้ำหนักความสำคัญสัมพัทธ์ของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล หรือธรรมาภิบาลนั้น เป็นไปตามสภาพแวดล้อม และขึ้นอยู่กับแต่ละภาคส่วนเมื่อเวลาผ่านไป .. การถ่วงน้ำหนักของหมวดหมู่ อาจมีการเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างเช่น ปัจจัยการกำกับดูแล Governance Factor ได้รับการบันทึกการเติบโตของน้ำหนักความสำคัญสัมพัทธ์ไว้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเพิ่มขึ้นจาก 19% ในปี 2550 เป็น 27% ในปี 2562 และจากนั้นเป็น 31% ในปี 2563 .. อย่างไรก็ตาม โดยรวมแล้ว การศึกษา เปิดเผยว่า น้ำหนักเฉลี่ยของเสาหลักด้านสิ่งแวดล้อม Environmental Pillar คือ 30% ปัจจัยทางสังคม Social Factors อยู่ที่ 39% และองค์ประกอบการกำกับดูแล Governance Elements อยู่ที่ 31% โดยเฉลี่ยในทุกภาคส่วน ..

อคติอีกประการหนึ่งที่เครื่องมือ ESG Instruments สามารถแสดงได้ก็คือ โดยทั่วไปบริษัทขนาดใหญ่จะมีคะแนน ESG ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม Small & Medium-Sized Enterprises : SMEs .. จนถึงขณะนี้ รายงานความยั่งยืน Sustainability Reports ได้รับการประกาศด้วยตนเอง และไม่ได้รับการตรวจสอบ ส่งผลให้บริษัทต่างๆ มักจะพยายามนำเสนอตัวเองในแง่ที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนี้การศึกษาหลายชิ้น แสดงให้เห็นถึงการละเว้นข้อมูลที่สำคัญ ตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง และการกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลในหลายประเด็น ..

ช่องว่างระหว่างผลการดำเนินงานของบริษัทขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม Small & Medium-Sized Enterprises : SMEs สามารถอธิบายได้หลากหลาย จากการศึกษาพบว่า บริษัทฯ ที่ให้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้นมักจะได้รับคะแนนประเมิน ESG Scores ที่สูงขึ้น แม้ว่าบริษัทเหล่านั้นจะมีแนวปฏิบัติ ESG Practices ที่อ่อนแอในอดีต หรืออาจมีความเสี่ยงโดยรวม Overall ESG Risk ที่สูงกว่าก็ตาม .. การให้คะแนนที่ดีที่สุดสำหรับบริษัทเหล่านี้ อาจเชื่อมโยงกับการปฏิบัติตาม ESG ที่ได้รับการปรับปรุง หรือเพราะพวกเขาจัดสรรทรัพยากรมากขึ้นเพื่อจัดทำรายงานที่ไม่ใช่ทางการเงิน ตัวอย่างเช่น Bristol-Myers Squibb ซึ่งเป็นบริษัทเภสัชกรรมขนาดใหญ่ ยังคงระดับ ESG ไว้ในระดับสูง แม้ว่าจะเข้าไปพัวพันกับข้อโต้แย้งเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็ตาม ในทางตรงกันข้าม Phibro Animal Health ซึ่งเป็นบริษัทเภสัชกรรมขนาดเล็ก ได้รับคะแนนที่ต่ำกว่า แม้ว่าจะมีความมุ่งมั่น และการปฏิบัติตามเกณฑ์ ESG Criteria ก็ตาม ..

อย่างไรก็ตาม ขอบเขตทั้ง 3 ในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการ Environmental, Social & Corporate Governance : ESG มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับแนวคิดการลงทุนอย่างรับผิดชอบ Responsible Investment : RI .. ทั้งนี้ แนวคิดการลงทุนอย่างรับผิดชอบ Responsible Investment : RI เหล่านี้นั้น เริ่มต้นจากการเป็นพื้นที่การลงทุนเฉพาะกลุ่ม เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่ต้องการลงทุนแต่ต้องการลงทุนภายในพารามิเตอร์ที่กำหนดตามหลักจริยธรรม หรือธรรมาภิบาล .. ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดการลงทุนได้กลายเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ขึ้นมาก ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 เป็นต้นมา กระแสเงินทุนไหลเข้าสู่กองทุนที่ยั่งยืนของสหรัฐฯ ประเทศเดียว มีมูลค่าถึง 20.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเกือบจะเท่ากับกระแสเงินทุนในปี 2562 ที่ 21.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในสิ้นปี 2563 .. ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2563 พบว่า กระแสเงินทุนไหลเข้าสู่กองทุนที่ยั่งยืนของสหรัฐฯ ทะลุ 51 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมทั้ง กองทุนที่ยั่งยืนทั่วโลกนั้น มีสินทรัพย์ อยู่ที่ 1.65 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ อีกด้วย ..

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย Stakeholders สามารถใช้การรายงานการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน Sustainable Development of the Organization ซึ่งย่อมาจาก Environment, Social & Governance เพื่อประเมินความเสี่ยง และโอกาสที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับองค์กร .. ผู้ลงทุนอาจใช้ข้อมูล ESG นอกเหนือจากการประเมินความเสี่ยงที่มีสาระสำคัญต่อองค์กรในการประเมินมูลค่าขององค์กร โดยเฉพาะโดยการออกแบบแบบจำลองบนสมมติฐานที่ว่า การระบุ การประเมิน และการจัดการความเสี่ยง และโอกาสที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรทั้งหมด จะนำไปสู่รายได้ และผลตอบแทนที่ปรับตามความเสี่ยงในระยะยาวที่สูงขึ้น Higher Long-Term Risk-Adjusted Return ..

การปรากฏตัวของภาคการเงินสีเขียวที่ยั่งยืน Sustainable Green Finance รองรับแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Environment, Social & Governance : ESG ..

ภาคการเงิน Financial Sector มีพลังมหาศาลในการระดมทุน และสร้างความตระหนักในประเด็นระบบพลังงานโลกที่มีความยั่งยืน Global Sustainable Energy Solutions : GSEs .. ไม่ว่าจะโดยการลงทุนในกรอบการวิจัย และพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Development of Renewable Energy Sources รวมทั้งระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage Systems รูปแบบต่างๆ หรือสนับสนุนธุรกิจเกี่ยวข้องที่ดำเนินงานตามแนวทางปฏิบัติด้านแรงงานที่เป็นธรรม และยั่งยืน ..

การเงินสีเขียว Green Finance หรือการเงินที่ยั่งยืน Sustainable Finance หมายถึงการตัดสินใจลงทุนที่คำนึงถึง ‘ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Environmental, Social & Governance : ESG’ สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และสังคม หรือโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ..

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม Environmental Factors หมายรวมถึง การบรรเทาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis หรือการใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน Sustainable Resources .. ปัจจัยทางสังคม Social Factors ได้แก่ สิทธิมนุษยชน และสัตว์ Human & Animal Rights ตลอดจนการคุ้มครองผู้บริโภค Consumer Protection และการกระจายจ้างงานที่หลากหลายเท่าเทียม Diverse Hiring Practices .. ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล Governance Factors หมายถึงการบริหารจัดการ Management, พนักงานสัมพันธ์ Employee Relations และค่าตอบแทนของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนที่เป็นธรรม และยั่งยืน ..

Green Finance & ESG Leading the Way to a Sustainable Future | Credit : Quantum Learn

ปัจจุบัน ปริมาณเม็ดเงินหลั่งไหลเข้าสู่ภาคการเงินสีเขียวที่ยั่งยืน Sustainable Green Finance ในจังหวะที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน .. ในขณะที่บริษัทข้ามชาติฯ มากมาย และประเทศต่างๆ ด้วยการลงทุนจากภาครัฐ บริการสาธารณะ และภาคเอกชน Public Sector & Private Sector ได้อัดฉีดเงินสดปริมาณมหาศาลเข้าสู่โครงการด้านสภาพอากาศ ระบบพลังงานสะอาด และโครงการเกี่ยวเนื่องอื่นๆ .. ทั้งนี้ การแยกแยะความแตกต่างระหว่างผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง และผู้รับผลกำไรได้ชัดเจนอย่างไรจึงจะเหมาะสมสอดคล้องตรงกับวัตถุประสงค์ และเป็นธรรม ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อให้บรรลุความสำเร็จไปสู่สังคมโลกด้วยคุณภาพชีวิตที่เหนือชั้นกว่า ..

การลงทุนในธุรกิจและโครงการต่างๆ ที่มีแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ Environmental, Social & Governance : ESG ที่ยั่งยืนกำลังเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับความต้องการผู้เชี่ยวชาญทางการเงินที่มีความชำนาญเฉพาะในกลุ่มงานเหล่านี้ กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน .. Bloomberg ได้รายงานเกี่ยวกับแนวโน้ม โดยระบุว่า ภาคการเงิน กลายเป็นหนึ่งในสาขาอันเป็นที่ต้องการมากที่สุดในเอเชีย ..

“ลูกค้าเข้าใจดีว่า กลุ่มผู้มีความสามารถมีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยากในการหาผู้มีประวัติการทำงานที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว .. ประสบการณ์การลงทุนในโครงการ Environmental, Social & Governance : ESG ที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐ และเอกชน ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่มาก” .. Arthur Leung ที่ปรึกษาด้านบริการทางการเงินของบริษัทที่ปรึกษา Egon Zehnder กล่าวในฮ่องกง อ้างโดย Bloomberg Green “พวกเขาเข้าใจถึงความสามารถที่หายาก และส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายแพงสำหรับบทบาทนี้” ..

Harvard Extension School เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทด้านความยั่งยืน Sustainability และมีประกาศนียบัตรมหาบัณฑิตมากถึง 6 ใบในสาขานี้ .. โปรแกรมการศึกษาเหล่านี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมพนักงานภาคการเงินสีเขียวสำหรับอนาคตที่ยั่งยืน เนื่องจากวิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชนมากขึ้น ..

ผลการประชุม COP26 ล่าสุดโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ รวมทั้ง 6 ข้อไขสำคัญ The Six-Sector Solution to the Climate Crisis ของ United Nations Environment Programme: UNEP ทำให้เกิดกรณีเร่งด่วนในการบูรณาหลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Environment, Social & Governance : ESG เข้ากับโครงการริเริ่มด้านพลังงานทดแทน Renewable Energy Initiatives รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ในการตัดสินใจลงทุน เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเชิงบวกอย่างรวดเร็ว และนำไปปฏิบัติได้ ..

แนวความคิดทางธุรกิจยั่งยืน ‘Sustainable Business’ มีอิทธิพลสูงมากต่อการดำเนินธุรกิจ .. ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภค มิได้เพียงเริ่มที่จะไม่ใช้ราคาเป็นเกณฑ์หลักในการตัดสินใจว่าจะซื้อ หรือไม่ซื้อสินค้าเท่านั้น แต่เริ่มมองลึกลงไปถึงที่มาของสินค้าว่าทำขึ้นมาจากอะไร การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต มีการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ผู้บริหารมีจริยธรรมหรือไม่ มีการศึกษาถึงคุณค่าของแบรนด์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ รวมถึงการมีความตระหนักรู้ ตื่นตัวมากขึ้นกับสภาพความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลันของโลก .. หากในกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน หรือขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง มีการละเมิด หรือไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว การรณรงค์ไม่สนับสนุนให้ซื้อสินค้าเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้น และข้อมูลเหล่านี้จะกระจายออกไปสู่สังคมอย่างรวดเร็ว ..

จนถึงวันนี้ พบว่า ธุรกิจยั่งยืน Sustainable Business ได้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมที่สร้างความปั่นป่วนในวงการธุรกิจมาพร้อมด้วย .. ครั้งหนึ่งผู้คนอาจคิดว่ามันเป็นเพียงการตลาด หรือการเล่าเรื่อง .. ขณะที่ ผู้นำในพื้นที่เศรษฐกิจสีเขียวกำลังแสดงให้เห็นว่า แนวคิดที่แตกต่างไปเกี่ยวกับประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ให้มูลค่าทางธุรกิจมากขึ้นได้ ในขณะที่องค์กรธุรกิจสามารถส่งมอบผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้คน และโลกใบนี้ได้มาพร้อมด้วยเช่นเดียวกัน ..

ทั้งนี้ หากการเรียนรู้ทักษะ และความสามารถทางธุรกิจยั่งยืนใหม่ๆ กำลังทำให้บริษัทฯต่างๆ ประสบความสำเร็จมากขึ้น เช่นเดียวกับภาคการเงินในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ บางทีอาจไม่มีที่ใดที่จะเป็นจริงมากไปกว่าในโลกของการบัญชี และการเงิน ..

ตัวอย่างเช่น ฝ่ายบัญชีจำเป็นต้องเพิ่มทักษะในการรวบรวม การจัดการ การวิเคราะห์ และการรายงานประเภทใหม่ๆ ของตัวชี้วัดทางธุรกิจ เช่น ต้นทุนพลังงานสะอาด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ช่องว่างรายได้ที่ต่างกันเพราะเพศสภาพ และตัวชี้วัดด้านจริยธรรม รวมทั้งการต่อต้านการทุจริต เป็นต้น ..

หน่วยงานด้านการเงินจำเป็นต้องจำลองความเสี่ยงตามสัญญาต่างๆ ที่ซับซ้อนเกี่ยวกับพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน จุดคุ้มทุนสำหรับโครงการระบบจัดเก็บพลังงานระยะทนยาวขนาดใหญ่ หรือทำการวิเคราะห์งบดุลเทียบกับผลกระทบของกำไร และขาดทุนของการลงทุนในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การแปลงรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle Conversion ไปจนถึงประสิทธิภาพพลังงาน Energy Efficiency รวมถึงการฝึกอบรมสำหรับพนักงาน Training for Employees .. พนักงานการเงิน และทีมธนารักษ์ Treasury teams จำเป็นต้องเข้าใจ Green Bonds และการประเมินความเสี่ยงด้านสภาพอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อสินเชื่อ หรือการพิจารณาด้านการประกันภัยอย่างไรที่สอดคล้องเหมาะสม ..

กล่าวโดยสรุป แนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Environment, Social & Governance: ESG กำลังเปลี่ยนแปลงงานของผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินอย่างรวดเร็วไปทั่วทั้งกระดาน .. ในขณะที่การหยุดชะงักนั้นอาจทำให้บางคนล้าหลัง .. ผู้ที่เรียนรู้ และเข้าใจพื้นที่ใหม่เหล่านี้ได้ก่อน จะช่วยให้บริษัทฯ ของพวกเขาสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม เร่งนวัตกรรมใหม่ๆ ของบริษัทฯ และสร้างโอกาสในการทำงานให้เกิดความแตกต่างได้อย่างมากในโลกยุคเศรษฐกิจ และสังคมสีเขียว Green Economy & Social จากนี้ไป ..

ในอดีต พฤติกรรมทางธุรกิจโดยทั่วไปมีศูนย์กลางอยู่ที่ธุรกิจที่แสวงหาผลกำไรให้ได้มากที่สุด ในขณะที่ผลักดันต้นทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้สู่สังคม และสู่ธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น พลาสติกที่ผลิตขึ้นเพียง 9% เท่านั้นที่เคยถูกรีไซเคิล .. ความจริงก็คือว่า ทุกชีวิต และวิถีชีวิตถูกสร้างขึ้นบนดาวดวงเดียว โดยอาศัยมนุษย์ในการผลิต ทำ ซื้อ ขายสิ่งของ และด้วยหลักนิติธรรม รวมทั้งข้อกฎหมาย เพื่อปกป้องความสัมพันธ์ตามพันธะสัญญาของผู้เข้าร่วมในตลาดทั้งหมด ..

การบูรณาการแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Environmental, Social & Governance : ESG ที่กำลังเพิ่มขึ้นในไม่ช้าจากนี้ไป โครงการ Climate Action 100+ ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มที่นำโดยนักลงทุนเพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะดำเนินการที่จำเป็นต่อการต่อสู้กับเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือเพื่อกอบกู้วิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis .. โครงการดังกล่าว ได้กระตุ้นนักลงทุนรายใหญ่อย่างน้อย 575 รายที่บริหารเงินมากกว่า 54 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ .. นักลงทุนเหล่านี้ เรียกร้องให้บริษัทฯ ที่มีพอร์ตโฟลิโออย่างน้อย 167 แห่ง ซึ่งคิดเป็น 80% ของมลพิษทางสภาพอากาศในอุตสาหกรรมทั่วโลก  Global Industrial Climate Pollution ดำเนินการด้วยมาตรการที่จำเป็น Necessary Action เพื่อบรรเทาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis และใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน Sustainable Resources เพื่อชีวิตที่ดีกว่าสำหรับอนาคตของมนุษยชาติจากนี้ไป ..

คาดการณ์ตลาดการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลทั่วโลก Global Environmental Social & Governance : ESG Investing Market ..

ตลาดการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลทั่วโลก Global Environmental Social & Governance : ESG Investing Market นั้น เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การลงทุนที่พิจารณาแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนของบริษัทฯ ผลกระทบทางสังคม และประสิทธิภาพการกำกับดูแลกิจการควบคู่ไปกับผลตอบแทนทางการเงิน โดยพยายามปรับค่านิยมของนักลงทุนให้สอดคล้องกับตัวเลือกการลงทุนที่มีความรับผิดชอบ และมีจริยธรรม ส่งเสริมผลลัพธ์เชิงบวกด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม ..

Demand for Financing Use in Environmental Projects in the ASEAN Countries will Top USD 3 Trillion over 2016-2030 | Credit :  DBS Bank, Krungsri Research

อ้างถึงข้อมูลการสำรวจตลาดของ Custom Market Insights พบว่า ขนาดธุรกิจที่เกี่ยวข้องในตลาดการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลทั่วโลก Global Environmental Social & Governance: ESG Investing Market มีมูลค่ามากถึง 17.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 และคาดว่ามูลค่าตลาดจะสูงถึง 46.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2575 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลทั่วโลก Global Environmental Social & Governance: ESG Investing Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 9.4% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2566-2575 ..

ธรรมชาติของตลาดการลงทุน ESG Investing Market มีรากฐานมาจากความยั่งยืน Sustainability, ความรับผิดชอบต่อสังคม Social Responsibility และการสร้างมูลค่าในระยะยาว Long-Term Value Creation .. ทั้งนี้ การส่งเสริมแนวทางการลงทุนแบบองค์รวม โดยเน้นปัจจัยที่นอกเหนือไปจากตัวชี้วัดทางการเงิน ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมขององค์กร นั้น มีส่วนช่วยสำคัญ ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีความยั่งยืนมากขึ้น More Sustainable Global Economy .. แนวโน้มที่สำคัญในตลาด ได้แก่ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการลงทุน และการผนวกผลกระทบการบูรณาการแนวปฏิบัติ ESG Practices เข้ากับการตัดสินใจลงทุน Investment Decision-Making, การเพิ่มขึ้นของกองทุนที่ยั่งยืนสีเขียว Sustainable Green Funds และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Energy Technologies คือ แรงผลักสำคัญสำหรับการเติบโตในตลาดการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ ..

นอกจากนี้ กฎระเบียบที่ส่งเสริมการเงินที่ยั่งยืนสีเขียว Sustainable Green Finance และการมุ่งเน้นที่องค์กรเติบโตในเรื่องแนวปฏิบัติ ESG Practices กำลังกำหนดภูมิทัศน์ของการลงทุน Landscape of ESG Investing ..

สำหรับประเด็นตามการใช้งานนั้น ในด้านสิ่งแวดล้อม Environmental การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้งานด้านสิ่งแวดล้อม ESG Investing in the Environmental Application มุ่งเน้นไปที่องค์กร และบริษัทฯที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change, การอนุรักษ์ทรัพยากร Resource Conservation, พลังงานทดแทน Renewable Energy และแนวปฏิบัติที่ยั่งยืน Sustainable Practices .. แนวโน้มดังกล่าวรวมถึงการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในเทคโนโลยีสีเขียว Investments in Green Technologies และบริษัทฯ ที่มีการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด Companies with Strong Environmental Stewardship โดยได้แรงหนุนจากความตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้น Growing Awareness เกี่ยวกับความเสี่ยง และโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ Climate-Related Risks & Opportunities ..

ในด้านสังคม Social นั้น การลงทุนในแอปพลิเคชันทางสังคม ESG Investing in the Social Application มุ่งเป้าไปที่องค์กร และบริษัทฯที่ส่งเสริมสวัสดิการสังคม ความหลากหลาย แนวปฏิบัติด้านแรงงาน และการมีส่วนร่วมของชุมชน .. แนวโน้มแสดงให้เห็นถึงการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในองค์กร และบริษัทฯ ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน Employee Well-Being, ความเท่าเทียมทางเพศ Gender Equality และการพัฒนาชุมชน Community Development ซึ่งสะท้อนถึงการที่นักลงทุนให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อสังคมเพิ่มมากขึ้น Increasing Focus on Societal Impact ..

ในด้านการกำกับดูแล และธรรมาภิบาล Governance ชี้ให้เห็นถึงการลงทุนในแอปพลิเคชันการกำกับดูแล ESG Investing in the Governance Application จะประเมินความเป็นผู้นำ Leadership, โครงสร้างคณะกรรมการ Board Structure และแนวปฏิบัติด้านจริยธรรม Ethical Practices ของบริษัทฯ .. แนวโน้มเผยให้เห็นความต้องการการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในองค์กร และบริษัทฯ ที่มีโครงสร้างการกำกับดูแลที่โปร่งใส และสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยได้แรงหนุนจากการเน้นความรับผิดชอบขององค์กร ..

ทั้งนี้ ภาพรวมการลงทุนตามเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Environmental, Social & Governance : ESG Criteria ซึ่งสอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals: SDGs ของสหประชาชาติ United Nations: UN นั้น มีเป้าหมายหลักเพื่อจัดการกับความท้าทายระดับโลก เช่น ความยากจน Poverty, สุขภาพ Health, การศึกษา Education และการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ Climate Action เป็นต้น .. แนวโน้มบ่งชี้ถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นในองค์กร และบริษัทฯที่มีส่วนร่วมใน Sustainable Development Goals : SDGs โดยเฉพาะ เนื่องจากนักลงทุน Investors ทั่วโลก พยายามที่จะปรับการลงทุนของตนให้สอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนระดับโลก ซึ่งส่งผลให้ตลาดได้รับการคาดหมายว่าจะเติบโตได้ด้วยความเร่งในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ..

สรุปส่งท้าย ..

จนถึงปัจจุบัน ปริมาณเม็ดเงินหลั่งไหลเข้าสู่ภาคการเงินสีเขียวที่ยั่งยืน Sustainable Green Finance ในจังหวะที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน .. ขณะที่บริษัทข้ามชาติฯ มากมาย และประเทศต่าง ๆ ด้วยการลงทุนจากภาครัฐ บริการสาธารณะ และภาคเอกชน Public Sector & Private Sector ได้อัดฉีดเงินสดปริมาณมหาศาลเข้าสู่โครงการด้านสภาพอากาศ ระบบพลังงานสะอาด และโครงการเกี่ยวเนื่องอื่นๆ .. ทั้งนี้การแยกแยะความแตกต่างระหว่างผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง และผู้รับผลกำไรได้ชัดเจนอย่างไรจึงจะเหมาะสมสอดคล้องตรงกับวัตถุประสงค์ และเป็นธรรม ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อให้บรรลุความสำเร็จไปสู่สังคมโลกด้วยคุณภาพชีวิตที่เหนือชั้นกว่า ..

ESG & Green Financing | Credit : UNEP / United Nations Environment Programme

การเงินสีเขียว Green Finance คือ การเพิ่มระดับการไหลของกระแสการเงิน จากการธนาคาร สินเชื่อขนาดเล็ก การประกันภัย และการลงทุน จากภาครัฐ เอกชน และแสวงหาผลกำไรอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ไปจนถึงลำดับความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Priorities .. ส่วนสำคัญของสิ่งนี้ ได้แก่ การจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมให้ดีขึ้น รวมทั้งใช้โอกาสที่ให้ทั้งอัตราผลตอบแทนที่เหมาะสม ผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม และรับมอบความรับผิดชอบต่อสังคมที่สูงขึ้น ..

การจัดหาเงินทุน Green Financing ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถส่งเสริมผ่านการเปลี่ยนแปลงในกรอบการกำกับดูแลของประเทศต่างๆ ประสานแรงจูงใจทางการเงินสาธารณะ การเพิ่มการจัดหาเงินทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมจากภาคส่วนต่าง ๆ การปรับแนวทางการตัดสินใจด้านการลงทุนของภาครัฐกับมิติด้านสิ่งแวดล้อมของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพิ่มการลงทุนในด้านพลังงานสะอาด และเทคโนโลยีสีเขียว การจัดหาเงินทุนสำหรับเศรษฐกิจสีเขียวตามทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน และเศรษฐกิจสีน้ำเงินอัจฉริยะด้านสภาพอากาศ รวมทั้งเพิ่มการใช้พันธบัตรสีเขียว และอื่นๆ อีกมากมาย เป็นต้น ..

Thailand’s ESG & Bio-Circular-Green : BCG Economy 2021-2027 | Credit : Bangkok Post

ผู้ลงทุน ได้แก่ ผู้ลงทุนรายย่อย บริษัทประกันภัย และบริษัทจัดการการลงทุน มีส่วนร่วมในการจัดสรรสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์เพื่อจัดพอร์ตให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนในระยะยาว .. การเชื่อมโยงความต้องการของผู้ระดมทุน และของนักลงทุน ข้อกำหนดที่เปิดเผยของ ESG Criteria จะส่งเสริมประสิทธิภาพเชิงธุรกิจโดยการให้ข้อมูล Environmental, Social & Governance : ESG ที่ถูกต้อง และทันเวลาสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประเมินความเสี่ยง และโอกาสสำหรับ ESG Practices ที่เกี่ยวข้อง .. นอกจากนี้การสร้างแรงจูงใจโดยมาตรการต่างๆ จากภาครัฐ จะสามารถกำหนดทิศทางของประเภทกิจกรรม และการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน Sustainable Activities ตามที่ต้องการได้ ..

ดังนั้น สำหรับประเทศไทยนั้น แผนงาน และโครงการ เพื่อสร้าง Bio-Circular-Green : BCG Economy หมายถึง เศรษฐกิจสีเขียว Green Economy ของชาติที่สะอาด ยั่งยืน และแข็งแกร่งกว่าในอดีตที่ผ่านมา ให้บรรลุความสำเร็จนั้น ภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งภาคประชาสังคม จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเปลี่ยนความคิดริเริ่มให้เป็นการกระทำที่เป็นรูปธรรมด้วยการบูรณาการหลักการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล Environment, Social & Governance : ESG และผนวกรวมภาคการเงินสีเขียว Green Finance เข้ากับโครงการริเริ่มด้านพลังงานทดแทน Renewable Energy Initiatives อันถือเป็นแนวทางการเปลี่ยนแปลงในการจัดการกับความท้าทายหลายแง่มุมของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate change, ความเท่าเทียมทางสังคม Social Equity และการกำกับดูแลกิจการ Corporate Governance กลายเป็นความจำเป็นสำคัญที่ขาดไม่ได้ของไทยมาพร้อมด้วย ซึ่งไม่เพียงจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งยวดต่อความมั่นคงทางพลังงาน และความมั่นคงทางสังคมของไทยแล้ว ยังรวมไปถึงการมีส่วนร่วมกับนานาประเทศในการพัฒนาระบบพลังงานโลกให้มีความสมดุล และยั่งยืน ตามสัตยาบันต่อข้อตกลงปารีส Paris Agreement ด้วยคำมั่นสัญญาว่า จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20-25% ภายในปี 2573 จากฐานการดำเนินธุรกิจสีเขียวที่ยั่งยืน Green & Sustainable Business as Usual และเข้าสู่เส้นทางศูนย์สุทธิ Net Zero ด้วยระบบพลังงานสะอาด ภายในปี 2593 ให้สำเร็จร่วมกันได้ในที่สุด ..

………………………………………

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Environmental, Social & Governance | Wikipedia :-

https://en.wikipedia.org/wiki/Environmental,_social,_and_governance

แนวคิด ESG คืออะไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในกลุ่มนักลงทุน :-

https://www.tris.co.th/esg

รู้จัก ‘ESG & SDGs’ 2 แนวคิดสร้างโอกาสและความท้าทายธุรกิจสู่ความยั่งยืน :-

https://www.bangkokbanksme.com/en/esg-sdgs-sustainability

Global Environmental Social and Governance (ESG) Investing Market 2024 – 2033 :-

Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-

https://photos.app.goo.gl/Qnj3eGJobkzRHx7a9

The Renewable Energy & How to Save the World Documentary :-

https://goo.gl/photos/TusY3UndbtWjDfXx9

World ESG Trends 2021 : Rise of Green Finance :-

https://photos.app.goo.gl/epfvDnGpZ3BeH9fp7

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img