วันเสาร์, พฤศจิกายน 9, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTSคืบหน้าบูรณะ..“พระธาตุเจดีย์มอญ”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คืบหน้าบูรณะ..“พระธาตุเจดีย์มอญ”

“เปรียญสิบ” ในชีวิตภูมิใจอย่างหนึ่งนั่นคือ นอกจากได้เป็นประธานสร้างเจดีย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและสนองความต้องการของมารดาที่อยากเห็นเจดีย์ทรงชะเวดากอง เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงเจดีย์ชะเวดากอง ที่บรรจุพระบรมสารีกธาตุไว้ที่กรุงย่างกุ้ง ซึ่งเป็นความต้องการแบบนี้ เป็นความต้องการของคนมอญทั่วไป เมื่อจากบ้านเมืองไกลเมืองนอน ต้องเร่ร่อนมาอยู่ต่างถิ่นแบบนี้ และนอกจากนี้แอบภูมิใจอยู่ลึกๆ อีกงานหนึ่งนั่นคือการได้บูรณะพระธาตุเจดีย์มอญทุ่งก้างย่าง ต.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

พระธาตุเจดีย์มอญทุ่งก้างย่าง เป็นเจดีย์ศิลปะแบบมอญที่สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.2516 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2519  ในยุคที่หมู่บ้านทุ่งก้างย่างมีความเจริญและรุ่งเรือง มีคนมอญอาศัยอยู่นับหมื่นคน รายร้อยครัวเรือน ในยุคที่รัฐบาลไทยต้องการ “ไม้กันชน” ปกป้องคุ้มครองจากภัยคอมมิวนิสต์ ประเภท “น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า” 

“ชาติพันธุ์มอญ” ได้ชื่อว่าเป็นชาติหนึ่งที่มีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา มีความศรัทธายิ่งยวดต้องพระรัตนตรัย คนเก่าแก่ที่เป็นมอญถึงขนาดนามตนเองว่า เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนา หรือบอกว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของพวกเราคือ คนมอญ

เหตุนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน มักสร้างวัด นิมนต์พระสงฆ์ไปอยู่ด้วยทุกที่ อดีตเป็นอย่างไร ปัจจุบันก็เป็นอย่างนั่น ไม่เสื่อมคลาย ไม่เชื่อลองดูมอญ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานหรือมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ไม่ว่าจะอยู่ชุมชนไหน หมู่บ้านใด เวลาวัดมีงานสำคัญหรือเทศกาลบุญอะไร เข้าวัด มากกว่าเข้าห้าง ในจังหวัดสมุทรสาคร สมุทปราการ ปทุมธานี หรือแม้กระทั่งกาญจนบุรี มอญแรงงาน หรือมอญที่คนไทยเรียกว่า “ไทยใหม่” คือคนชาติพันธุ์มอญที่พึ่งได้รับสัญชาติไทยได้ไม่นาน พวกนี้คือ เนื้อนาบุญที่แท้จริง..ของคณะสงฆ์

“เปรียญสิบ” เคยเล่าความเป็นมาของการบูรณะพระธาตุเจดีย์มอญทุ่งก้างย่างไว้แล้วว่า มูลเหตุนอกจากถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังต้องการรักษา สืบสาน ต่อยอด สิ่งที่บรรพบุรุษมอญได้สร้างเอาไว้ ในขณะเดียวกันเพื่อต้องการพัฒนาสถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ สร้างรายได้ให้กับชุมชนรอบข้างอีกทางหนึ่งด้วย

คืบหน้า..การบูรณะองค์เจดีย์ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย.2566 ตอนนี้เหลือแต่ตบแต่ง-ทาสี เท่านั้น และทั้งหมดทำด้วย “จิตอาสา” ไม่มีค่าแรง ว่างวันไหน “เอามื้อสามัคคี” วันนั้น ซึ่ง “เปรียญสิบ” พยายามที่สุดคือ การมีส่วนร่วม

สรุปใจความสำคัญในการร่วมพูดคุย ทั้งเรื่องความคืบหน้าและสิ่งที่จะต้องทำในอนาคตก็คือ ปีหน้าช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีงานทั้งบรรจุพระธาตุ..ยกฉัตรเจดีย์ และตั้งเสาหงษ์  ส่วนใครอยากจะมีส่วนร่วมทำบุญในการบูรณะในครั้งนี้ไม่ว่าเจ้าภาพกระเบื้อง รั้วกั้น การบรรจุพระธาตุหรือฉัตร ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือคฤหัสถ์ติดต่อได้ที่ชุมชนครับ

……………….

คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง

โดย…“เปรียญสิบ”: [email protected]

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img