วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTS“หนี้ครัวเรือน”ระเบิดเวลาในมือรัฐบาลใหม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“หนี้ครัวเรือน”ระเบิดเวลาในมือรัฐบาลใหม่

ช่วง 2-3 ปีมานี้ ยกเว้นเรื่องการเมือง เรื่องตั้งรัฐบาล ที่เป็นข่าวในหน้าสื่อมากที่สุดแล้ว ก็คงหนีไม่พ้น “หนี้ครัวเรือน” ทั้งนี้เนื่องจากยิ่งนับวัน สถานการณ์ยิ่งน่าห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เห็นภาพหนี้ครัวเรือน คือหนี้ของนาย ก. นายข. ที่กู้หนี้ยืมสินไม่ว่าจะเป็นบ้าน บัตรเครดิต ผ่อนรถ กู้ก่อนผ่อนทีหลังนั่นเอง

เฉพาะล่าสุดที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปรับข้อมูลหนี้ครัวเรือนไทยใหม่ให้ครอบคลุมมากขึ้น โดย นำหนี้ กยศ. ราว 4.83 แสนล้านบาท และหนี้สหกรณ์บางส่วน 2.65 แสนล้านบาท รวมไปถึงหนี้การเคหะเข้ามารวมอยู่ในหนี้ครัวเรือน ทำให้เห็นภาพหนี้ครัวเรือนที่สะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น

ที่น่าตกใจทุกวันนี้ หนี้ครัวเรือนไทยพุ่งอยู่ที่ระดับ 90.6% หรือ 17.62 ล้านล้านบาท ขณะที่ รายได้ประชาติคือรายได้รวมหรือผลิตภัณฑ์มลรวม (จีดีพี.) ทั้งประเทศ ของไทยมี 17.6 ล้านล้านบาท ลองนึกภาพดูว่าสมมติเปรียบเป็น “คน” คนๆ หนึ่งมีรายได้ปีละ 17.6 ล้านบาทต่อปี เป็นหนี้อยู่ 17.62 ล้านบาท เรียกว่า “รายได้” กับ “หนี้” พอๆกัน เผลอๆ อาจจะติดลบ แถมแต่ละเดือน-แต่ละวัน ต้องจ่ายดอกเบี้ยอีกต่างหาก รายได้ย่อมชักหน้าไม่ถึงหลังแน่ๆ แล้วจะอยู่กันยังไง

ต้องบอกว่า คนทั้งประเทศก่อหนี้ แบกหนี้ไว้เกินขีดอันตรายอย่างมาก ในทางสากลถือในการก่อหนี้ไม่ควรเกิน 80% ของจีดีพี.ของ 90% แต่ตอนนี้ กว่า 90% ของจีดีพี.แล้ว ยกตัวอย่างแค่ “อาชีพครู” อาชีพเดียว ตัวเลขจากเครดิตบุโร ระบุว่าหนี้ที่ครูกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ 8 แสนล้านบาท เป็นการกู้มากิน มาใช้จ่าย อาจจะมาลงทุนบ้าง

เท่านั้นยังไม่พอ แถมครูที่เกษียณแล้ว และครูที่ทำงานอยู่ ยังไปแอบไปกู้แบงก์เอกชน กู้แบงก์รัฐและเป็นหนี้นอนแบงก์มาแล้วราว 6 แสนล้านบาท ตอนนี้ครูที่ติดบ่วงหนี้  4-6 แสนคน เป็นหนี้ 1.4 ล้านล้าน เราเห็นภาพครูที่มีรายได้ 3.5 หมื่นบาท เมื่อหักกลบลบหนี้ เบ็ดเสร็จเหลือ 3,000-3,500 บาทต่อเดือน ตกวันละ 100 บาท ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ อย่างนี้จะทำให้การศึกษามีคุณภาพได้อย่างไร ยังไม่รวมอาชีพอื่นๆ

ทุกวันนี้มี “คนจมบ่อหนี้” ติดกับดักหนี้ ตามตัวเลขของเครดิตบุโร จำนวนคนเป็นหนี้เสีย 9 แสนล้านบาท ในหนี้จำนวนนี้ 3 แสนล้านบาทจาก 3 ล้านคน คนกลุ่มนี้เมื่อก่อนในปี 62 เป็นลูกหนี้เกรดเอ เมื่อเกิดโรคระบาด ไม่มีรายได้เข้ามา พอโรคหาย เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นเต็มที่ รายได้จึงยังไม่เท่าเดิม ดอกเบี้ยเก่าเคลียร์ไม่หมด ดอกใหม่ก็เพิ่มเข้ามาคนพวกนี้มี 3 ล้านคน หนี้กำลังเสียอีก 6 แสนล้านบาท

ในความเป็นจริง หนี้ครัวเรือนไทย ภายใต้ข้อมูลใหม่ของธปท. แม้จะดูน่ากลัว แต่นั่น ครอบคลุมหนี้ในระบบ เพียง 70% เท่านั้น แต่ยังมีหนี้อีกจำนวนมากราว 30% ที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแล

แต่ถ้าหากดูอัตราการเป็นหนี้ของคนไทย ในระบบของเครดิตบูโรที่มีราว 32 ล้านคน ซึ่งหากคิดเป็น 100 คน จะมีลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียราว 23 คน นั่นหมายถึงว่า 23 คนเหล่านี้ จะไม่สามารถเข้าสู่ระบบการเงินในระบบได้ เนื่องจากเป็นหนี้เสีย ส่วนใหญ่ที่คนเป็นหนี้ ที่มีปัญหา เช่น การกู้เพื่อไปกินไปใช้ ใน 100 บาท เป็นการกู้ยืมไปกินไปใช้ 26 บาท การที่คนไทยมีหนี้เยอะ แถมยังเป็นหนี้เสียสูง ถือเป็นตัวถ่วงที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังไม่ไปไหน

ทั้งนี้ ในลูกหนี้ทั้งหมด ที่น่าห่วงที่สุดคือ ลูกหนี้ในกลุ่มเจนวาย และ กลุ่มเจนเอ็กซ์ ที่เป็นกลุ่ม ที่มีอัตราการก่อหนี้ และเป็นหนี้เสียค่อนข้างสูง โดยเฉพาะช่วงอายุ 35-40 ปี ซึ่งส่วนใหญ่ลูกหนี้ที่มีปัญหา กระจายอยู่ในเมืองใหญ่ เพราะเป็นหนี้เพื่อการบริโภค พอการบริโภคไม่เพียงพอ ก็ต้องเติมด้วยหนี้หากดูไส้ในกลุ่มนี้ พบว่า กลุ่มเจนวาย ที่เป็นหนี้เสียแล้ว 3.7 แสนล้านบาท และ กลุ่มเจนเอ็กซ์ 2.7 แสนล้านบาท รวมทั้งกลุ่มเจนวายและเจนเอ็กซ์ เป็นหนี้เสียอยู่ทั้งสิ้น กว่า 6 แสนล้านบาท

การที่ปล่อยให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบกับกำลังซื้อของประชาชน การบริโภคน้อยลง เพราะไม่มีเงิน การออมก็ไม่มี เมื่อไม่มีการออม เศรษฐกิจก็ไม่มีการลงทุน รัฐบาลทีผ่านมาก็ไม่ได้ให้ความสนใจจะแก้หนี้อย่างจริงจัง ไม่กล้าแตะสถาบันการเงิน ไม่ว่าแบงก์พาณิชย์หรือแบงก์รัฐ แบงก์ก็ต้องการ์ดสูงตลอด

หนี้ครัวเรือนเป็นเรื่องที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาจัดการโดยเร่งด่วน ตั้งสถาบันหนี้แห่งชาติ เอาหนี้เข้ามาสำรวจหนี้ครัวเรือนทั้งหมด ว่ามีเท่าไหร่ แล้วเอามาอยู่ในหน่วยงานนี้ทั้งหมด ค่อยๆ คลี่ว่าหนี้เกิดจากแบงค์พาณิชย์เท่าไหร่ แบงก์รัฐเท่าไหร่ และนอนแบงก์เท่าไหร่ รวมถึงหนี้ที่รัฐเป็นหุ้นส่วน เช่น หนี้กยศ. หนี้กองทุนหมู่บ้าน

จับมาจัดกลุ่ม ว่ากลุ่มไหน มีหนี้เพราะอะไร เช่น หนี้เกษตรกร หนี้กู้เงินเรียนหนังสือ เงินกู้กองทุนหมู่บ้าน หากเป็นหนี้ด้วยความจำเป็นอาจจะยกหนี้ให้บางส่วน แต่หนี้แบงก์รัฐก็อาจจะดูเรื่องดอกเบี้ยผ่อนหนักเป็นเบา

ส่วน “หนี้นอกระบบ” ที่เป็นปัญหา อาจจะต้องมาดูว่า ดอกเบี้ยที่จ่ายสมเหตุสมผลหรือไม่ จ่ายซ้ำซ้อนหรือไม่ พวกนี้เรียกว่าเป็น “หนี้มาเฟีย” ต้องเอากฎหมายเข้ามาดำเนินการให้ถูกต้องและต้องลงโทษให้หนัก ต้องเอาจริงเอาจังก่อนที่จะระเบิดใส่มือ

………………………..

คอลัมน์ : เศรษฐศาสตร์ข้างทาง

โดย “ทวี มีเงิน”

สนับสนุนคอลัมน์ โดย :   บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img