วันเสาร์, กรกฎาคม 27, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVE1 ปีการใช้“ก.ม.JSOC”ป้องกันทำผิดซ้ำ! คกก.ชงสำนวนช้า-ปล่อย‘นักโทษ’ไม่ทัน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

1 ปีการใช้“ก.ม.JSOC”ป้องกันทำผิดซ้ำ! คกก.ชงสำนวนช้า-ปล่อย‘นักโทษ’ไม่ทัน

ภายหลังจากวันที่ 23 ม.ค.66 มีแถลงข่าว “การบังคับใช้พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ.2565” โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และกรมคุมประพฤติ เข้าร่วม

สำหรับ “พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือ ที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ.2565” ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 ต.ค.65 และมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 23 ม.ค.66

มาตรการพิเศษของกฎหมายและการปฏิบัติ 4 มาตรการสำคัญ ได้แก่

1) มาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด รวมถึงมาตรการทางการแพทย์
2) มาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ
3) มาตรการคุมขังภายหลังพันโทษ
4) การคุมขังฉุกเฉิน

โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ
-ผู้ที่ทําความผิดในคดีฆาตกรรม
-การข่มขืนกระทําชําเรา
-การกระทําความผิดทางเพศกับเด็ก
-การทําร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
-การนําตัวบุคคลไปเรียกค่าไถ่

สำหรับระยะเวลาในการใช้ 4 มาตรการสำคัญ บังคับใช้ได้ตั้งแต่ 7 วัน ถึง 10 ปี และทุกมาตรการรวมกันจะต้องไม่เกิน 10 ปี เพื่อป้องกันสังคมและผู้เสียหายจากการกระทำความผิด ที่อาจเกิดขึ้นซ้ำอีก เป็นการฟื้นฟูผู้กระทำความผิด รวมถึงการเฝ้าระวังการก่ออาชญากรรมสะเทือนขวัญ

ภายหลังกฎหมายป้องกันการทำผิดซ้ำในคดีความผิดทางเพศฯ (Justice Safety Observation ad hoc) หรือกฎหมาย JSOC บังคับใช้มาได้ราวๆ 1 ปีเศษ กลับพบปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายนี้เกิดขึ้นเช่นกัน

รายงานประชุม กมธ.ตำรวจ วุฒิสภา มีการชี้แจงจาก สำนักงานอัยการ ว่า สำนวนที่นักโทษเด็ดขาดที่กำลังจะพ้นโทษออกจากเรือนจำ จะต้องถูกคุมประพฤติหลังพ้นโทษ ตามมาตรา 22 ก.ม.ป้องกันทำผิดซ้ำฯ สำนวนดังกล่าวจะถูกส่งมายังพนักงานอัยการ เพื่อให้ยื่นคำร้องต่อศาล

โดยพนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอต่อศาล ก่อนที่นักโทษเด็ดขาดจะพ้นโทษออกจากเรือนจำ ปราฎว่าเกิดปัญหาที่พบจากการปฏิบัติงานคือ คณะกรรมการพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ

ประชาสัมพันธ์ กรมราชทัณฑ์

ตามกฎกระทรวงมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ มาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ มาตรการฉุกเฉิน พ.ศ.2566 ข้อ 10 จะต้องส่งเรื่องมายังพนักงานอัยการ ก่อนนักโทษเด็ดขาดพ้นโทษไม่น้อยกว่า 180 วัน

แต่ปัจจุบันคณะกรรมการฯ ส่งสำนวนให้พนักงานอัยการก่อนนักโทษเด็ดขาดออกจากเรือนจำ ประมาณ 1-10 วันเท่านั้น

เมื่อพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว โดยศาลนัดพิจารณาคดีนักโทษเด็ดขาดดังกล่าวได้ออกจากเรือนจำไปแล้ว ทำให้ศาลจำหน่ายคดีหรือออกหมายจับ ซึ่งทำให้จำนวนคดีอยู่ในชั้นศาลจำนวนมาก

อีกทั้งไม่ต้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ หรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ.2565 ที่จะเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษ

……………

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img