วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
หน้าแรกHighlight5สัญญาณเสี่ยงภาวะ‘หลอดเลือดอุดตัน’ แนะ‘เช็คร่างกาย’พร้อม‘ออกกำลังกาย’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

5สัญญาณเสี่ยงภาวะ‘หลอดเลือดอุดตัน’ แนะ‘เช็คร่างกาย’พร้อม‘ออกกำลังกาย’

แพทย์แนะนำเช็คร่างกายดู 5 สัญญาณเตือนความเสี่ยงภาวะหลอดเลือดอุดตัน (Thrombosis) พร้อมชวนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพิ่มการขยับร่างกาย และเช็คประเมินความเสี่ยง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหรือโรคต่าง ๆ ได้ก่อนจะสายเกินแก้ 

ศ.นพ.พลภัทร โรจน์นครินทร์ นายกสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย และผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวันลิ่มเลือดโลก (WTD) กล่าวว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันและรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในยุคนี้ ช่วยอำนวยความสะดวก และเข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้สร้างผลดีมหาศาล แต่ในขณะเดียวกัน ยังเพิ่มความเสี่ยงที่นำไปสู่ภาวะการเกิด ‘ลิ่มเลือด’ ที่จะไปชะลอการไหลเวียนของโลหิตในหลอดเลือด และนำมาสู่ภาวะ “หลอดเลือดอุดตัน” ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงได้

“หลอดเลือดอุดตัน (Thrombosis)” เป็นภาวะที่ลิ่มเลือดก่อตัวและไปอุดตันในหลอดเลือด จากการแข็งตัวของเลือดผิดปกติหรือผนังหลอดเลือดผิดปกติ สามารถเกิดได้ทั้งในหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ซึ่งหากลิ่มเลือดที่อุดตันหลุดไปตามกระแสเลือด จะเป็นอันตรายต่อร่างกายและโรคอื่น ๆ ตามมามากมาย จากรายงานของ International Society on Thrombosis and Haemostasis (ISTH) พบว่า 1 ใน 4 ของผู้คนทั่วโลก หรือราว 100,000 คนในแต่ละปีเสียชีวิตจากภาวะหลอดเลือดอุดตัน ถือเป็นจำนวนมากกว่าผู้เสียชีวิตทั้งหมดในแต่ละปีจากโรคเอดส์ มะเร็งเต้านม และอุบัติเหตุทางรถยนต์รวมกัน

ศ.นพ.พลภัทร กล่าวเพิ่มว่า ในขณะที่ประเทศไทยในช่วง 8 ปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยประมาณปีละ 12,900-26,800 คน คิดเป็นอัตราผู้ป่วย 200-400 คนในประชากรหนึ่งล้านคน (ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) ในขณะที่ทั่วโลกมีผู้ป่วยภาวะลิ่มเลือดราว 0.5 ต่อ 1,000 คนต่อปี ไม่เพียงเท่านี้ กว่า 30% ของผู้ป่วยที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous Thromboembolism : VTE) ในไทยเป็นผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่ง VTE ในผู้ป่วยมะเร็งจะดื้อต่อการรักษา การทำกายภาพบำบัด และมีความผิดปกติของเลือดมากกว่าผู้ป่วย VTE ทั่วไป

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงต่อ “ภาวะหลอดเลือดอุดตัน” สามารถแบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ได้ดังนี้

·การรักษาตัวในโรงพยาบาลและการผ่าตัด พบว่า กว่า 60% ของผู้ป่วยหลอดเลือดอุดตัน เกิดขึ้นระหว่างการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน หรือผู้ที่มีบาดเจ็บบริเวณหลอดเลือดจากการผ่าตัด ซึ่งการพักฟื้นเป็นระยะเวลานานจะทำให้ผู้ป่วยขยับตัวได้น้อยและนำไปสู่การเกิดลิ่มเลือดได้

·ความเสี่ยงจากโรคร้าย ซึ่งพบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีความเสี่ยงเกิดภาวะหลอดเลืออุดตันร้ายแรงสูงกว่าคนทั่วไปถึง 4 เท่า ผลการศึกษาในประเทศไทยพบว่า ประมาณ 2-3% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนและผลลัพธ์ในการรักษาอาจไม่ดีเท่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะลิ่มเลือด โดยความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันจะขึ้นอยู่กับ ประเภทของมะเร็ง ขณะเดียวกันผู้ป่วยโรคหัวใจ จะมีการทำงานของหัวใจและปอดที่จำกัด เพิ่มความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดและภาวะหัวใจล้มเหลว

·การใช้ยาคุมกำเนิดและการตั้งครรภ์ พบว่า การใช้ยาคุมกำเนิดหรือยาที่มีส่วนประกอบของเอสโตรเจน สามารถเพิ่มการแข็งตัวของเลือด โดยเฉพาะหากสูบบุหรี่หรือมีน้ำหนักเกินร่วมด้วย ในขณะที่ การตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เลือดข้นทันทีหลังจากการปฏิสนธิ และจะข้นไปตลอดจนถึงประมาณ 6 สัปดาห์หลังคลอด ประกอบกับน้ำหนักของมดลูกที่กดทับหลอดเลือดดำในกระดูกเชิงกรานอาจทำให้เลือดไหลออกจากขาได้ช้าลง เพิ่มความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดขึ้นได้

·ความเสี่ยงจากพฤติกรรม พบว่า การนั่งเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน หรือการนั่งในท่าที่เป็นตะคริวเป็นเวลานาน (มากกว่า 4 ชั่วโมง) จะทำให้เลือดไหลเวียนที่ขาช้าลง ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดลิ่มเลือด ในขณะเดียวกัน การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงของภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอุดตัน (VTE) และโรคร้ายแรงอื่น

·ความเสี่ยงทางกายภาพ พบว่า หากมีบุคคลในครอบครัวเป็นหลอดเลือดอุดตันจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ในเพศหญิง อายุ 20-40 ปี มีความเสี่ยงมากกว่าเพศชายจากการใช้ยาคุมกำเนิดและการตั้งครรภ์ ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุมีโอกาสหลอดเลือดอุดตันได้มากกว่า เพราะเลือดจะเหนียวมากขึ้น ในขณะที่ คนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป จะมีความเสี่ยงมากขึ้น 2-3 เท่า จากเซลล์ไขมันที่ผลิตสารทำให้เลือดเหนียวขึ้น ทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงพฤติกรรมส่วนบุคคลด้วย

“กุญแจสำคัญในการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ดีที่สุดคือ ‘การป้องกัน’ ซึ่งคนทั่วไปสามารถทำได้ด้วยตัวเอง อาทิ การเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง อย่างการสูบบุหรี่ และนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน การขยับร่างกายและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดอุดตันได้ง่ายและดีที่สุด นอกจากนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือเข้าข่ายความเสี่ยง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงเป็นประจำ การรู้ล่วงหน้าจะช่วยให้ผู้ป่วยรับมือกับภาวะหรือโรคร้ายแรงที่จะตามมาได้ทันท่วงที” ศ.นพ.พลภัทร กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img