วันศุกร์, ตุลาคม 4, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightคนไทยอ่วม!!หนี้ท่วม5.4แสนบาทต่อราย ซ้ำยังสุ่มเสี่ยงเป็นหนี้เรื้อรังถึง4.8ล้านคน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คนไทยอ่วม!!หนี้ท่วม5.4แสนบาทต่อราย ซ้ำยังสุ่มเสี่ยงเป็นหนี้เรื้อรังถึง4.8ล้านคน

คนไทยแบกหนี้หนัก ช่วง 12 ปีที่ผ่านมาหนี้หนี้คงค้าง 3.5 แสนบาทต่อราย เพิ่มเป็น 5.4 แสนบาทต่อราย โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้อุปโภคบริโภคเป็นหลัก สุ่มเสี่ยงเป็นหนี้เรื้อรังและมีหนี้เกินศักยภาพถึง 25% หรือ 4.8 ล้านคน

ดร.โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ร่ เปิดเผยว่า  หนี้ต่อหัวของครัวเรือนไทยช่วง 12 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 60% จากยอด หนี้คงค้าง 3.5 แสนบาทต่อราย เพิ่มเป็น 5.4 แสนบาทต่อราย โดยรายงานวิจัยต่างประเทศก็ชี้ให้เห็นชัดว่า ประเทศที่มีหนี้สูงจะทำให้การเจริญเติบโตในระยะสั้นช้าลง การฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจก็จะช้าลงไปด้วย แสดงให้เห็นว่า การก่อหนี้ในอดีต ที่ไม่ได้มองระยะยาวกำลังสร้างกับดักให้กับภายในประเทศในอนาคต 

สำหรับสถานการณ์หนี้ของคนไทยจากข้อมูลของเครดิตบูโรที่ครอบคลุมคนอยู่ในระบบกว่า 25.2 ล้านราย รวมประมาณ 38% ของประชากรไทย ซึ่งหนี้ตรงนี้ยังไม่รวม สินเชื่อที่อยู่นอกเครดิตบูโร และไม่รวมคนที่ไม่ได้กู้ในระบบด้วย ซึ่ง 38% ของประชากรไทยนั้น ปัจจุบันมีหนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 5.4 แสนบาทต่อราย โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้อุปโภคบริโภคเป็นหลัก เป็นการก่อหนี้ที่ไม่ได้มองยาวคือ เพื่อลงทุนหรือทำให้เกิดรายได้ ที่มากขึ้น ซึ่งต่างจากต่างประเทศชัดเจนที่หนี้ครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นหนี้ เพื่อซื้อบ้านหรือเพื่อลงทุนเป็นหลัก 

“ข้อเสียของการมีหนี้อุปโภคบริโภคอย่างเดียวคือ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เพื่อชำระหนี้ในอนาคต และดอกเบี้ยที่สูง หากผิดนัดไม่กี่งวดดอกเบี้ยอาจจะทบต้นแล้ว”

ส่วนปัญหาหนี้รุนแรงแค่ไหน พิจารณาใน 2 มิติคือ มิติแรก ดูพฤติกรรมการชำระหนี้ มิติที่ 2 ดูหนี้รายคนว่า เกินศักยภาพหรือยัง โดยใช้ข้อมูลรายสัญญา รายเดือนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาและจากฐานข้อมูล 100% พบว่า 22% อย่างน้อย 1 สัญญาที่เป็นหนี้ NPLแล้ว อีก 30% มีพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงที่จะจ่ายขั้นต่ำ และเสี่ยงจะเป็นหนี้เรื้อรัง ปิดจบหนี้ไม่ได้ และ 43% ที่ชำระหนี้ได้ตามปกติ

ส่วนมิติที่ 2.หนี้เกินศักยภาพหรือยัง พบว่าข้อมูล 46% เริ่มมีหนี้ที่เกินศักยภาพ, 30%ชำระหนี้ได้ตามปกติ แต่ 24% มีข้อมูลไม่พอที่จะบอกได้ว่ามีหนี้เกินหรือยัง เมื่อรวม 2 มิติ สามารถแยกลูกหนี้เป็น 6 กลุ่ม 

กลุ่มที่1. ชำระหนี้ได้ตามปกติ และมีหนี้ตามศักยภาพ (Healthy) ยอดหนี้คงค้าง 450,000 บาท จำนวน 3.6 บัญชีหรือสัญญา ซึ่งเราอยากให้คนไทยทุกคนเป็นอย่างนี้แต่ มีเพียง 25% หรือ 4.7 ล้านคน

กลุ่มที่2. ชำระหนี้ได้ปกติ แต่เริ่มมีหนี้เกิน ศักยภาพ (Over Leverage) ยอดหนี้คงค้าง 280,000 บาท จำนวน 2.3 สัญญา มีอยู่ 20% หรือ 3.8 ล้านคน

กลุ่ม3. สุ่มเสี่ยงเป็นหนี้เรื้อรัง แต่ยังมีศักยภาพในการชำระหนี้ (At Risk) ยอดหนี้คงค้าง 1,120,000 บาท จำนวน 5.2 สัญญา มีสัดส่วน 13% หรือ 2.4 ล้านคน 

กลุ่ม4. สุ่มเสี่ยงเป็นหนี้เรื้อรังและมีหนี้เกินศักยภาพ (Constrained/at risk) มีถึง 25% หรือ 4.8 ล้านคน ยอดหนี้คงค้าง 790,000 บาทจำนวน 4.8 สัญญา

กลุ่ม5. เป็นหนี้ NPL แล้ว อย่างน้อย 1 สัญญา และยังพอมีศักยภาพอยู่บ้าง (กลุ่ม NPL) มียอด หนี้คงค้าง 660,000บาท จำนวน 4 สัญญา แต่สัดส่วนน้อยมากเพียง 1% หรือ 3 แสนคน

กลุ่ม6. มีอย่างน้อย 1 สัญญาเป็น NPL และมีหนี้เกินศักยภาพ (Constrained NPL) มียอดหนี้คงค้าง 540,000 บาท จำนวน 3.9 สัญญา มีสัดส่วน 16% หรือ 3.1 ล้านคน 

“จาก 6 กลุ่มจะเห็นได้ว่า คนที่ชำระได้ปกติจริงๆมีเพียง 25% เท่านั้น ส่วนกลุ่มอื่นเริ่มมีความสุ่มเสี่ยงตามลำดับ โดยกลุ่ม 1 และ 2 เป็นกลุ่มที่มีหนี้น้อยที่สุด เป็นกลุ่มรายได้น้อย จำนวนสัญญาน้อย ขณะที่กลุ่ม 3 และ 4 น่ากลัว โดยมีหนี้เฉลี่ยสูงที่สุดและมีจำนวนสัญญามากที่สุด”

โดย ปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยเป็นปัญหาคนตัวเล็ก ในวงกว้าง คนไทยเป็นหนี้อายุยังน้อย ซึ่งคนอายุน้อยจะเป็นกำลังของชาติ และเป็นคนมีรายได้น้อยก็ยากที่จะแก้หนี้ และพบว่ากลุ่ม Healthy กระจุกตัวในกรุงเทพและปริมณฑล แต่กลุ่มที่เริ่มมีปัญหาน่าจะกระจายตัวในต่างจังหวัด 

สำหรับแนวทางแก้ปัญหาคือต้องแก้ปัญหาในทุกภาคส่วนครบวงจร และต้องแก้ให้ตรงจุด นโยบายต่างตรงกับกลุ่ม เพราะลูกหนี้มีหลายประเภท โดยครอบคลุม 3 ด้านคือ 1.นโยบายแก้หนี้เดิม 2.นโยบายปล่อยหนี้ใหม่ 3.นโยบายสร้างรายได้”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img