วันอังคาร, เมษายน 30, 2024
หน้าแรกHighlightค่าไฟอัตราต่ำสุด4.77บ./หน่วยยังแพง “ส.อ.ท.”โอด-หวั่นนักลงทุนย้ายฐานหนี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ค่าไฟอัตราต่ำสุด4.77บ./หน่วยยังแพง “ส.อ.ท.”โอด-หวั่นนักลงทุนย้ายฐานหนี

“ส.อ.ท.” โอดค่าไฟอัตราต่ำสุด 4.77 บาท/หน่วย ยังสูงเกินไป ทำให้เสียเปรียบประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะ “เวียดนาม” หวั่นมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน-ย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนราย

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ค่าไฟที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดประชาพิจารณ์ออกมา 3 อัตรา โดยราคาต่ำสุดอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วยนั้น ตนมองว่า ยังสูงเกินไป แม้มีแนวโน้มจะปรับลดลงเหลือ 4.72 บาทต่อหน่วยตามค่าไฟเดิมของกลุ่มบ้านเรือนก็ตาม แต่ก็ยังดีกว่าไม่ปรับเลย จากเดิมที่ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ภาคเกษตร ต้องจ่าย 5.33 บาทต่อหน่วย

นายเกรียงไกร กล่าวว่า ที่สำคัญต่อไประยะกลาง และระยะยาว รัฐควรต้องหามาตรการทำให้ค่าไฟลดราคาต่ำที่สุด เนื่องจากหากเทียบกับประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะเวียดนาม ค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 2.80 บาทต่อหน่วย เป็นประเด็นที่น่ากังวลมากว่า มีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนรายใหม่ในหลายๆประเทศ ที่กำลังย้ายฐานการผลิต ซึ่งประเด็นค่าไฟฟ้า ค่าแรงงาน มีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน ขณะเดียวกันถ้าค่าไฟลดต่ำลงมากๆ จะเป็นผลดีต่อผู้บริโภคอีกด้วย

“เวลานี้เป็นช่วงการตัดสินใจการนักลงทุนที่จะย้ายฐานการผลิต ซึ่งไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่นักลงทุนต้องการมา โดยนักลงทุนกำลังพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ อยู่ โดยเฉพาะค่าไฟ เพราะเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญ เป็นหนึ่งในปัจจัยหลีกที่เขาจะตัดสินใจเข้ามาลงทุนด้วย ซึ่งค่าไฟเวียดนามถือว่าถูกมาก เมื่อเทียบกับไทย ทำให้ตอนนี้มีนักลงทุนหลายราย ตัดสินใจเข้าไปลงทุนเป็นจำนวนมาก และล่าสุดผลการสำรวจลงทุนโดยตรง ขององค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (เจโทร) พบว่า นักลงทุนญี่ปุ่นประมาณ 10% จากทั้งหมด 2,000 บริษัท มีโอกาสย้ายฐานการผลิตออกจากไทย เพราะปัญหาค่าแรงและค่าไฟฟ้าสูง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น สิ่งทอ และการ์เม้นท์ ถ้าไม่เร่งแก้ปัญหาค่าไฟในระยะต่อไป จะยิ่งกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันมากขึ้น”นายเกรียงไกร กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img