วันอาทิตย์, พฤษภาคม 5, 2024
หน้าแรกHighlight“สศช.”หั่นเป้าจีดีพีไทยโตเพียง 2.5%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สศช.”หั่นเป้าจีดีพีไทยโตเพียง 2.5%

สศช. เผยตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/66 โตเพียง 1.5% ชะลอลงจากไตรมาส 2/66 เติบโต 1.8% หลังส่งออกทรุดติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 คาดทั้งปีจีดีพีโตเพียง 2.5% จากเดิมคาดการณ์โต 2.5-3% ขณะที่การลงทุนภาครัฐหดตัวไปถึง 1.8% เหตุติดปัญหางบประมาณแผ่นดิน

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจไทย ไตรมาส 3 ของปี 2566 และแนวโน้มปี 2566-2567 ว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งเป็นตัวเลขจริงทางเศรษฐกิจของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2566 ขยายตัว 1.5% ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งขยายตัวอยู่ที่ 1.8%

ทั้งนี้เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยติดลบ 3.1% ทำให้สาขาอุตสาหกรรมติดลบไปด้วย 4% ขณะที่การบริโภคภาครัฐบาล ติดลบ 4.9% เป็นผลจากการโอนเพื่อสวัสดิการสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดลดลง 38.6% และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการขยายตัว 0.5% ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือน (มกราคม-กันยายน 2566) เศรษฐกิจไทยขยายตัว อยู่ที่ 1.9%

ส่วนแนวโน้มปี 2566 สศช.ได้ปรับประมาณการใหม่ จากเดิมประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้อยู่ในกรอบ 2.5-3% เป็นขยายตัว 2.5% ซึ่งเป็นกรอบล่างของการประมาณการครั้งก่อน โดยประเมินว่าการลงทุนภาครัฐหดตัวไปถึง 1.8% เพราะติดปัญหาเรื่องของงบประมาณแผ่นดิน โดยเฉพาะงบประมาณปี 2567 ยังไม่สามารถใช้ได้ ขณะที่ในปี 2567 คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ในระดับ 2.7-3.7% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 3.2%

สำหรับด้านการผลิต ชะลอลงทั้งภาคเกษตร และภาคนอกเกษตร โดยภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 0.9 ชะลอลงจาก  1.2% ในไตรมาสที่ 2/2566 ตามการลดลงของผลผลิตพืชผลเกษตรที่ส าคัญ ภาคนอกเกษตรขยายตัว 1.5% ชะลอลงจาก 1.8% เป็นผลจากภาคบริการขยายตัว 3.9% ปัจจัยสนับสนุนมาจากกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวขยายตัวได้

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมลดลง 2.8% เป็นผลจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนขยายตัว 8.1% การลงทุนรวม 1.5% และการส่งออกสินค้าและบริการ 0.2% การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลลดลง 4.9% และการนำเข้าสินค้าและบริการลดลง 10.2%  

สำหรับการลงทุนรวม ขยายตัว 1.5% จากการขยายตัว 0.4% ในไตรมาสที่ 2/2566 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.1% เร่งขึ้นจากขยายตัว 1% ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นการขยายตัวทั้งด้านการก่อสร้าง และด้านเครื่องจักรเครื่องมือ ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลง 2.6% ต่อเนื่องจากที่ลดลง 1.1% ในไตรมาสที่ 2/2566 เป็นการลดลง ทั้งด้านการก่อสร้างและด้านเครื่องจักรเครื่องมือ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img