สศช.ประกาศลดเป้าจีดีพีปี 67 โตเพียง 2.7% จากเดิมคาดว่าโต 3.2% เหตุความเสี่ยงความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ส่งผลให้ประมาณการค้าโลกขยายตัวเพียง 3% ด้านนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 1.22 ล้านคน
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยใหม่ จากเดิมคาดว่า จะกลับมาขยายตัวได้ในระดับ 2.7-3.7% หรือขยายตัวเฉลี่ย 3.2% เหลือเพียง 2.2-3.2% หรือขยายตัวเฉลี่ย 2.7% เท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากได้ปรับลดสมมติฐานปริมาณการค้าโลกจากการขยายตัว 3.2% ในการประมาณการครั้งก่อน มาอยู่ที่ 3 %ในการประมาณการครั้งนี้ ตามแนวโน้มความล่าช้าในการฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในหลายประเทศ
ซึ่งสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคการผลิตที่แม้จะปรับตัวดีขึ้น แต่ยังอยู่ต่ากว่าระดับ 50 ประกอบกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางนับตั้งแต่ในช่วงเดือนธันวาคม 2566 ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการขนส่งทางทะเลและมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ปริมาณการค้าโลกขยายตัวต่ากว่าในสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยในกรณีฐานคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าในปี 2567จะขยายตัว 2.4% ลดลงจาก 3.3% ในการประมาณการครั้งก่อน แต่เป็นการปรับตัวดีขึ้นจากการลดลง 2.9% ในปี 2566
นอกจากนี้ได้ปรับสมมติฐานรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ จาก 1.30 ล้านล้านบาทในการประมาณการครั้งก่อน เป็น 1.22 ล้านล้านบาทในการประมาณการครั้งนี้ ตามการลดลงของรายจ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากจานวนนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งมีรายจ่ายต่อหัวสูงมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ล่าช้ากว่าในสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา รวมทั้งการลดลงของระยะเวลาการพานักของนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งส่งผลให้มีการปรับลดประมาณการขยายตัวของการส่งออกบริการจาก 15.6 %ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมาเป็น 11.5%
รวมถึงปรับสมมติฐานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำ ให้สอดคล้องกับการลดลงของเม็ดเงินเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในช่วงสามไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2567 ภายหลังจากที่ได้เร่งการเบิกจ่ายไปมากในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567สะท้อนจากอัตราการเบิกจ่าย 31% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด สูงกว่าที่คาดไว้ที่ 15 % ในการประมาณการครั้งก่อน โดยคาดว่าการอุปโภคภาครัฐบาลจะขยายตัวร้อยละ 1.5 ปรับลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน รัฐบาล การลงทุน การกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของการค้าโลกและการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว
ส่วนไตรมาสที่ 4/66 ขยายตัว 1.7% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 1.4% ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4/66 เทียบไตรมาสที่ 3/66ลดลง 0.6% ซึ่งทั้งปีคาดเศรษฐกิจไทย ขยายตัว 1.9% ชะลอตัวลงจากปี 65 ขยายตัว 2.5%