วันอาทิตย์, ตุลาคม 6, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSวอนอย่าเรียก ช็อปปิ้งรพ.” ชี้เป็นการให้สิทธิปชช.เข้าถึงบริการได้ทุกที่ที่สะดวก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

วอนอย่าเรียก ช็อปปิ้งรพ.” ชี้เป็นการให้สิทธิปชช.เข้าถึงบริการได้ทุกที่ที่สะดวก

รมว.สาธารณสุข วอนอย่าเรียก “ช็อปปิ้งรพ.” ชี้เป็นนโยบายเข้าได้ทุกที่ เป็นการเปิดโอกาสลดภาวะเจ็บป่วย ภาวะแทรกซ้อนได้ รักษาอย่างทันท่วงที

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 14 ก.ย.66 ที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึง จากกรณีโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงภายหลังการประชุม ครม.นัดแรกวันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมา ให้ตั้งคณะทำงานยกระดับหลักประกันสุขภาพ ไม่ต้องมี รพ.ประจำสิทธิ์ หากชอบใจ มั่นใจ รพ.ไหนไปได้ทันที หรือช็อปปิ้ง รพ.ได้ตามใจ ว่า คำว่าช็อปปิ้งเป็นภาษาตลาดและการสื่อสารก็ไม่ว่ากัน แต่ในระบบเราให้สิทธิประชาชนเข้าถึงบริการได้ทุกที่ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย คนเราไม่มีใครอยากป่วย แต่จำเป็นจริงๆ ที่ต้องเข้า รพ. ซึ่งก็ต้องเข้าด้วยความมั่นใจว่า ทั่วถึง เป็นธรรมและทันท่วงที เป็นหลักที่เราวางเอาไว้ การใช้บัตรประชาชนใบเดียว สามารถเข้าถึงสถานบริการได้ทุกที่ทุกแห่งก็เป็นการเปิดโอกาสลดภาวะเจ็บป่วย ภาวะแทรกซ้อนได้ รักษาอย่างทันท่วงที ตรงนี้เป็นเป้าหมายหลัก ส่วนเรื่องกระจายการเข้าถึง เมื่อระบบเราอยู่ตัว ข้อมูลเราพร้อม จะทำให้การดูแลสุขภาพพี่น้องประชาชนทั่วถึง โดยเฉพาะปัจจุบันมีการเคลื่อนย้ายแรงงานจำนวนมาก

เมื่อถามย้ำว่า ยังจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมี รพ.ประจำหรือ รพ.ตามสิทธิ  นพ.ชลน่านกล่าวว่า รพ.ทุกแห่งที่เข้าอยู่ในโครงการจะถือว่าเป็น รพ.ตามสิทธิ เดิมเราใช้ รพ.เป็นเสมือนกับการขึ้นทะเบียนสิทธิในแต่ละที่แต่ละแห่งเป็นการเฉพาะแล้วมีระบบส่งต่อ พอระบบเราเสถียรทุกที่ในเครือข่ายถือเป็น รพ.ที่จะใช้สิทธิได้ การขึ้นทะเบียนก็อาจจะมีสถานบริการมารองรับเพื่อให้มีตัวตนชัดเจน แต่ว่าไปใช้ตามโอกาส อย่าเรียกว่าช็อปปิ้งเลย ไม่อยากให้ใช้คำนี้ เพราะเป็นภาษาตลาด และเป็นการดูถูกสภาวะความเป็นไม่มนุษย์ ไม่มีใครอยากป่วยทุกคนอยากมีสุขภาพดี

เมื่อถามว่า จากคำแถลงที่ว่าให้ประชาชนสะดวก ไม่ใช่ให้ผู้ให้บริการสะดวก จะทำให้ผู้ให้บริการน้อยใจหรือไม่ เพราะทุกวันนี้ภาระงานก็เยอะอยู่แล้ว  นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เป็นภาษาของสื่อมวลชนใช้ นโยบายตนสะดวกทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ การกระจายงานไม่ไปกองที่ใดที่หนึ่ง ก็จะทำให้ผู้ให้บริการมีขีดความสามารถ มีศักยภาพในการให้บริการได้อย่างสะดวก ถ้าเราจัดระบบได้ดี แทนที่จะไปกองจุดใดจุดหนึ่งจะมีการกระจายตัวที่ดี เพราะฉะนั้น ความสะดวกของผู้ให้บริการและผู้รับบริการต้องควบคู่กันไป ไม่ทิ้งด้านใดด้านหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ต้องมีการขับเคลื่อนเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชนมากขึ้นด้วย

ถามถึงกรณีมีบุคลากรทางการแพทย์เคยเรียกร้องว่าให้มีการร่วมจ่ายบางรายการหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ระบบเดิมมีความไม่ชัดเจน ระบบเดิมเราวางเงื่อนไขว่า เสมอภาค เท่าเทียม ทั่วถึง ดังนั้น สิทธิการเข้ารับการดูแลรักษาในโครงการ 30 บาทต้องมีมาตรฐานที่เท่ากัน ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดที่เรามอบให้ สิ่งที่นอกเหนือจากนั้นก็มาอยู่ในการพูดคุยกัน เราจะไม่ปิดกั้นความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ นิ้ว 5 นิ้วยังไม่เท่ากัน ถ้าจะมีศักยภาพเติมเต็มเรื่องคิ้ว หนวดต่างๆ ถามว่าหนวดจำเป็นหรือไม่ บางคนจำเป็น ถ้าไม่จำเป็นไม่มีในธรรมชาติ มันต้องมีความจำเป็นในแต่ละมุมมองก็จะไปดูในรายละเอียด แต่ไม่ลดละสิทธิประโยชน์ที่เป็นมาตรฐานสูงสุดที่เรามอบให้

เมื่อถามย้ำว่า แปลว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเปิดให้มีการร่วมจ่ายในบางรายการหรือไม่  นพ.ชลน่านกล่าวว่า อย่าพูดคำว่าร่วมจ่าย เดี๋ยวจะเข้าใจผิดอีก เพราะเรื่องนี้เป็นประเด็นที่มีข้อถกเถียงกัน เพียงแต่เข้าใจผิดในเรื่องของคำพูดก็เป็นประเด็นแล้ว แค่เราใช้คำว่า “30 บาทพลัส” ก็บอกว่าว่าจะจ่าย 30 บาทอีกเหรอ เรียนว่านี่เป็นชื่อโครงการ เป็นแบรนด์ ยี่ห้อ ไม่ได้มีการร่วมจ่าย 30 บาท วินาทีนี้ยืนยันว่ายังไม่มีการร่วมจ่าย แต่วิธีการ การให้บริการแต่ละระดับ แต่ละกลุ่ม เราจะไปดูในรายละเอียด เพราะสิ่งที่เราเติมเต็มเข้ามาในนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ คือ ทำให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นกระทรวงที่สามารถหารายได้ให้แก่ประเทศได้ ไม่กระทบสิทธิประชาชน.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img