วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกNEWS“ก้าวไกล”จี้“ปธ.รัฐสภา”กล้าหาญหน่อย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ก้าวไกล”จี้“ปธ.รัฐสภา”กล้าหาญหน่อย

‘ก้าวไกล’ จี้ ‘ปธ.รัฐสภา กล้าหาญหน่อย อย่ายื่นดาบ-ยื่นคอไปให้เขาตัดสิน “อดิศร” หนุนแก้รธน. โวยสมาชิกรัฐสภาไม่มีปัญญาตีความอำนาจตัวเอง ต้องอาศัยบริการ 9 คน

เมื่อวันที่ 29 มี.ค.67 เวลา 14.20 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม พิจารณาญัตติ เรื่อง ขอเสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ31 ให้รัฐสภามีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา210 (2) ที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และคณะ เป็นผู้เสนอ ต่อมานายธีรัจชัย พันธุมาศ สส.กทม. พรรคก้าวไกล ในฐานะสมาชิกรัฐสภา อภิปรายว่า ถ้ารัฐสภาเอาญัตตินี้ ไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ หมายความว่าไปให้อำนาจ ยื่นดาบ ยื่นคอ ไปให้เขาตัดสิน ทั้งที่รู้อยู่แล้ว ธงคือจะทำให้แก้ยาก หรือไม่ให้แก้ ประธานรัฐสภา จะถอดใจไม่กล้าหาญ และหวาดกลัวต่ออำนาจ ที่ไม่ได้ทำตามกฎหมายไม่ได้ จะต้องกล้าหาญกว่านี้ ประธานรัฐสภาไม่กล้า ไปเชื่อฝ่ายสำนักเลขาธิการสภาฯ มีอำนาจอะไร มาวินิจฉัยเบื้องต้นว่าการขอแก้ไข มาตรา 256 เป็นการแก้ไขทั้งฉบับ

“ความสง่างามของประธานรัฐสภาไปไหน กลัวอะไรหนักหนา หากประธานรัฐสภา เป็นตัวของตัวเอง มั่นใจในอำนาจนิติบัญญัติสามารถยื่นร่างรัฐธรรมนูญเข้าไปได้เลย และพิจารณาไปเลย อำนาจมันมักจะทำให้คนเสียคน แต่ถ้าอำนาจเด็ดขาดอยู่กับมือของใคร มักจะทำให้คนนั้นเสียคนอย่างเด็ดขาด” นายธีรัจชัย กล่าว

ต่อมาเวลา 15.50 น. นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า อำนาจตุลาการ และอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร แยก และถ่วงดุลกัน ไม่ใช่คล่อมเลน มีบางครั้งจะยื่นญัตติได้ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น นั่นฝ่ายตุลาการ แต่เราฝ่ายนิติบัญญัติ เราคิดของเราเองได้ จะทำอะไรแต่กลัวองค์กรอื่น ถามว่าจะมีรัฐสภาไปทำพระแสงอะไร ในเมื่อร่างกฎหมายและเสนอกฎหมายไม่ได้ ขอถอนคำว่าพระแสง

“ผมเห็นใจและเห็นด้วยกับนายชูศักดิ์ที่มีความจำเป็นต้องเสนอญัตตินี้เข้ามา เพราะขวากหนามต่างๆ ถ้าเราไม่ยกย่องอำนาจตัวเอง แล้วปล่อยให้อำนาจอื่น ซึ่งเป็นปลาคนละน้ำมาวินิจฉัยอำนาจของเรา เราจะอ่อนข้อเกินไปหรือไม่ แล้วประชาชนจะอยู่อย่างไร ถ้าอำนาจเหล่านี้ไม่มี อยากให้สภาฯมีโอกาสแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ วันนี้เรามาสงสัยอำนาจของตัวเอง สมาชิกรัฐสภาทั้งหมดไม่มีปัญญาตีความอำนาจของตัวเอง เลยไปอาศัยบริการ 9 คน” นายอดิศร กล่าว

นายอดิศร กล่าวด้วยว่า รัฐธรรมนูญต้องแก้ไข ปล่อยไว้แบบนี้ไม่ได้ แต่วิธีแก้ไขริบหรี่เหมือนเข้าอุโมงค์ ตนสนับสนุนนายชูศักดิ์และคณะ เพื่อไม่ให้มีปัญหาใดๆ และเผื่อ 9 คน(ตุลาการ)ไม่เห็นด้วยจะเดินต่อไม่ได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img