วันพุธ, กันยายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightห่วงเงินบาทแข็งกระทบส่งออก'ข้าวไทย' ราคาแพงกว่าคู่แข่งทั้ง'เวียดนาม-อินเดีย'
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ห่วงเงินบาทแข็งกระทบส่งออก’ข้าวไทย’ ราคาแพงกว่าคู่แข่งทั้ง’เวียดนาม-อินเดีย’

“ชูเกียรติ” เผยส่งออกข้าวปีหน้าลำบาก เหตุกำลังการผลิตโลกล้นตลาดโดยเฉพาะอินเดีย-เวียดนาม ยอมรับเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ราคาข้าวไทยแพงกว่าคู่แข่ง แนะรัฐดูแลค่าเงินให้มีเสถียรภาพ

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า ส่งออกข้าวปี 2568 จะเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับข้าวไทย เนื่องจากทั่วโลกมีผลผลิตข้าวออกมาพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ทั้งอินเดียและเวียดนาม โดยเฉพาะอินเดียมีความเป็นไปได้สูงที่อินเดียจะยกเลิกมาตรการแบนข้าว (ห้ามส่งออก) เพราะผลผลิตภายในประเทศสูงมาก ประกอบกับแรงกดดันจากผู้ส่งออกในประเทศที่เร่งให้เปิดการส่งออกข้าว คาดว่าอินเดียอาจมีการส่งออกเร็วสุดน่าจะช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า

อย่างไรก็ตาม หากอินเดียเปิดการส่งออกจะทำให้มีข้าวขาวออกสู่ตลาดโลก 5 ล้านตัน และถ้าค่าเงินอินเดียอ่อนค่า 1% ยิ่งทำให้ราคาข้าวอินเดียถูกลงและกดดันราคาข้าวในตลาดโลกลดลงอีก ขณะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าแม้ราคาข้าวในประเทศลดลง แต่ราคาข้าวนึ่งอินเดียตันละ 520 ดอลลาร์ ส่วนไทยตันละ 570 ดอลลาร์ ราคาถูกกว่าไทยถึง 50 ดอลลาร์

สำหรับการส่งออกข้าวไทยในปีนี้เฉลี่ยเดือนละ 7-8 แสนตัน บางเดือนแตะ 9 แสนตัน จนถึงปัจจุบันไทยส่งออกข้าวไปแล้ว 7 ล้านตัน เหลือเวลาอีก 3 เดือนถึงสิ้นปี หากไทยส่งออกข้าวเฉลี่ยเดือนละ 5 แสนตัน ทั้งปีจะส่งออกข้าวได้ 8.5 ล้านตัน

ทั้งนี้ปัจจุบันเงินบาทที่เคยเป็นปัจจัยสนับสนุนการส่งออกข้าวกลับมาแข็งค่าขึ้น 10% ส่งผลกระทบมากทำให้การส่งออกลำบากขึ้น ขณะที่ประเทศคู่แข่งอย่างเวียดนามแข็งค่าเพียง 3% อินเดียอ่อนค่า 1% ซึ่งความต่างของค่าเงินทำให้การเสนอราคาข้าวไทยห่างคู่แข่งมาก

“เงินบาทแข็งค่าทำให้ไทยเสียเปรียบการตั้งราคา เป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข ซึ่งค่าเงินเป็นปัจจัยสำคัญต่อการส่งออกข้าวไทย ยกเว้นราคาในประเทศจะลดฮวบเหลือตันละ 5-6 พันบาทต่อตัน และผู้ส่งออกไม่อยากให้เกิดขึ้นเพราะเกษตรกรจะเดือนร้อน ดังนั้นวิธีการดีที่สุดรัฐบาลรักษาเสถียรภาพเงินบาท อย่าให้อ่อนค่ามากจนเกินไปและเร่งลดดอกเบี้ย “

นางกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง 10% ในช่วงที่ผ่านมามากกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ เช่น เวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน  โดยค่าเงินที่แข็งค่าทุก 1 บาท ทำให้ราคาข้าวที่รวมค่าขนส่งถึงปลายทาง (FOB) เพิ่มขึ้นถึงตันละ 15 ดอลลาร์ ทั้งนี้เงินบาทแข็งค่าเร็ว และรุนแรง โดยไม่รู้ทิศทางว่าจะแข็งกว่าอีกแค่ไหนหรือผันผวนเร็วอีกนานไหมทำให้ผู้ส่งออกปรับตัวได้ยาก 

“ข้าวเป็นสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตกว่า 90% เป็นต้นทุนในประเทศ ปีนี้เป้าส่งออกข้าว 8.5 ล้านตันไม่น่าจะมีปัญหา เพราะภัยแล้งสร้างความเสียหาย ทำให้หลายประเทศเพิ่มนำเข้าเพื่อความมั่นคงทางอาหาร”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img