วันพุธ, ตุลาคม 9, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTS“วุฒิสภา”ควรมีต่อไป !?
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“วุฒิสภา”ควรมีต่อไป !?

ถึงฤดูเลือก สว.(สมาชิกวุฒิสภา) และฝ่ายการเมืองกำลังดำเนินการรื้อรัฐธรรมนูญปี 60 สังคมเริ่มตั้งโจทย์ใหญ่อีกครั้งว่า “วุฒิสภา” ควรมีต่อไปหรือไม่ ยิ่งตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญระบุชัดต้องการ “ผู้ทรงคุณวุฒิ” ที่ต้องมีความรู้ ความสามารถ บู้ บุ๋นมากกว่า สส.หรือสภาผู้แทนราษฎร

สมัยก่อนช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองยังพอเข้าใจได้ ต้องการ สว.หรือสภาสูงให้เป็นพี่เลี้ยงช่วย สส.หรือสภาล่าง ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ พอมาถึงยุคนี้

รวมถึงยุค “คสช.” ยึดอำนาจด้วย ช่วงก่อนคลอดรัฐธรรมนูญ 60 คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชุด “มีชัย ฤชุพันธุ์” เป็นประธาน ยังถกเถียงควรมี สว.ต่อไปหรือไม่ หากมี ควรมีที่มาแบบไหน เลือกตั้งตรงโดยตรงจากประชาชนก็แล้ว ได้สว.กลายเป็นลูก เมีย ญาติ คนของสส. ถึงได้รับฉายาสภาผัวเมีย แต่งตั้งก็ไม่ดี เหมือนชุดล่าสุด 250 สว.ถูกมองในภาพลบ ทำงานสนองความต้องของ 2 ลุงที่เป็นผู้แต่งตั้งเข้ามา

สุดท้ายยังเห็นมีความจำเป็นต้องมี สว.โดยเลือกกันเองตามสูตรพิสดารจาก 20 สาขาอาชีพที่กำลังเกิดขึ้น หลังมีพระราชกฤษฎีกาเลือกสว. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดประตูรับสมัคร 5 วันเต็มตั้งแต่ 20-24 พ.ค. กำหนดวันเลือกด่านแรก “ระดับอำเภอ” 9 มิ.ย. ด่านสองเลือก “ระดับจังหวัด” 16 มิ.ย. และด่านสาม “ระดับประเทศ” 26 มิ.ย.

200 คนที่ผ่าน 3 ด่านอรหันต์เข้ามาได้เป็นใครบ้าง ประมาณ 2 ก.ค.67 ได้เห็นโฉมหน้าเหลืองอร่ามเป็นทองคำหรือไม่ เดี๋ยวได้รู้กัน

ที่แน่ๆ หลังสะเด็ดน้ำ สังคมคงเอะใจถึงอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรที่แทบเป็นเงาตามตัวกัน

ทั้งกลั่นกรองกฎหมายหลังจากสภาผู้แทนราษฎรผ่านความเห็นชอบแล้ว เห็นเหมือนกันก็ไฟเขียว เห็นต่างก็ตั้งคณะกรรมาธิการร่วม หากคว่ำร่างกฎหมายนั้นเลย ต้องรอตามเงื่อนเวลารัฐบาลถึงเสนอร่างกฎหมายฉบับที่ถูกคว่ำเข้ามาใหม่ได้ ถึงจุดนี้มองได้ 2 แง่ “เชื่องช้าหรือรอบคอบ”

ส่วนหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาล ทำได้แค่อภิปรายทั่วไป ไม่ระคายผิวนายกรัฐมนตรี และบรรดารัฐมนตรี บทบาทในส่วนคณะกรรมาธิการสามัญชุดต่างๆ ตั้งกระทู้สดถาม ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาเรื่องต่างๆ มันก็ไม่เผ็ดร้อนเท่าของสภาผู้แทนราษฎร

ยกเว้นพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการองค์กรอิสระ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่เป็นหนังเสือสวมวุฒิสภาให้มีเขี้ยวเล็บ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นสมรภูมินิติสงคราม

ฝ่ายต่างๆ ของทุกขั้วการเมืองถึงวางแผน วางเกม งัดกลยุทธ์ เตรียมกำลังพลส่งสมัคร สว. ว่ากันว่าจำนวนผู้สมัครรวมทั่วประเทศจะมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ของการลงสมัครในทางการเมืองทุกระดับ

เมื่อ กกต.ประกาศรับรองผลเลือกสูตรพิสดาร 200 สว.ชุดใหม่ได้ทำหน้าที่ในช่วงเปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญพอดี เป็นจังหวะเหมาะเหม็งที่สังคมได้เห็นบทบาทของสว.ว่าควรมีต่อหรือพอแค่นี้

เขี้ยวเล็บของ สว.เป็นคะแนนชี้ขาดว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรกำหนดให้ประเทศไทยมีเพียงสภาผู้แทนราษฎร หรือมีวุฒิสภาด้วย

………………………………

คอลัมน์ : ไขกุญแจ-ไขแหลก

โดย #ราษฎรเต็มขั้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img