วันอาทิตย์, มิถุนายน 16, 2024
หน้าแรกNEWSยอดตายนิวไฮต่อเนื่องคือ‘ความสูญเสีย’ ควรทำ Provincial ล็อคดาวน์ระยะสั้น!!
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ยอดตายนิวไฮต่อเนื่องคือ‘ความสูญเสีย’ ควรทำ Provincial ล็อคดาวน์ระยะสั้น!!

“หมอธีระ” สะท้อนชัด การไม่ล็อคดาวน์ระยะสั้น ทั้งมาตรการที่มีอยู่ไม่สามารถตัดวงจรการระบาดได้ และจะทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบสังคมและเศรษฐกิจ จำนวนการตายนิวไฮต่อเนื่อง คือความสูญเสียที่ไม่ต้องพิสูจน์ ได้เวลาตัดสินใจเปลี่ยนกลไก “นโยบายสุขภาพท่องเที่ยว”

เมื่อวันที่ 27 พ.ค.64 ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ของรัฐบาล และศูนย์ EOC กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานข้อมูลเบื้องต้นสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันว่า พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่วันนี้เพิ่ม 3,323 ราย จำแนกเป็นติดเชื้อใหม่ 2,104 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 1,219 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,063 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 112,354 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) และเสียชีวิตเพิ่ม 47 ราย ซึ่งเป็นสถิติใหม่ที่มีผู้ป่วยเสียชีวิตรายวันสูงสุด รวมยอดผู้ป่วยสะสมระลอกใหม่(เมษายน) 112,354 และรวมผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 141,217 ราย และเสียชีวิตสะสม 920 ราย

ด้าน รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า…“การไม่ล็อคดาวน์ระยะสั้น ทั้งๆ ที่เห็นชัดเจนว่ามาตรการที่มีอยู่นั้น ไม่สามารถตัดวงจรการระบาดได้ จะส่งผลให้ศึกยืดเยื้อยาวนาน “ความเสียหายต่อระบบสังคมและเศรษฐกิจ” จะมากมายมหาศาลครับ

จำนวนติดเชื้อหลายพันต่อวัน จำนวนการตายที่นิวไฮต่อเนื่อง คือความสูญเสียที่ไม่ต้องพิสูจน์ แต่ปัญหาเศรษฐกิจระยะยาวจะตามมา จนยากที่จะกู้เพิ่มมาฟื้นฟูได้ ได้เวลาที่ต้องตัดสินใจแล้วครับ

เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ…ทำในสิ่งที่ควรทำ และ ควรเปลี่ยนกลไกนโยบายสุขภาพท่องเที่ยวเดินทาง ครับ”

รศ.นพ.ธีระ ยังโพสต์ด้วยว่า…“สถานการณ์ทั่วโลก 27 พฤษภาคม 2564…ทะลุ 169 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มถึง 541,670 คน รวมแล้วตอนนี้ 169,055,810 คน ตายเพิ่มอีก 11,936 คน ยอดตายรวม 3,511,520 คน 5 อันดับแรกที่มีจำนวนติดเชื้อต่อวันสูงสุดยังเป็นเช่นเดิม คือ อินเดีย บราซิล อาร์เจนตินา โคลอมเบีย และอเมริกา

อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 20,888 คน รวม 33,968,595 คน ตายเพิ่ม 567 คน ยอดเสียชีวิตรวม 606,139 คน อัตราตาย 1.8% ข้อมูลจาก US CDC ตอนนี้เฉลี่ยแล้วมีอัตราการตรวจพบว่าติดเชื้อ (positive rate) เฉลี่ยอยู่ที่ 3% ถือว่าลดลงกว่าสัปดาห์ก่อนซึ่งอยู่ที่ 3.4% บ่งถึงแนวโน้มการระบาดที่ดีขึ้นของอเมริกา โดยจำนวนการตรวจเฉลี่ยราว 1,000,000 ครั้งต่อวัน ตรวจมากกว่าไทยราว 100 เท่า ส่วนอัตราการนอนโรงพยาบาลก็ลดลงราว 15% อัตราการเสียชีวิตลดลง 10.5%

อินเดีย ติดเพิ่มมากถึง 211,553 คน รวม 27,367,935 คน ตายเพิ่ม 3,842 คน ยอดเสียชีวิตรวม 315,263 คน อัตราตาย 1.2% เพิ่มขึ้นกว่าเดิมเนื่องจากเสียชีวิตจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง แต่ละวันมากกว่าไทย 100 เท่า, บราซิล ติดเพิ่ม 79,459 คน รวม 16,275,440 คน ตายเพิ่มถึง 2,399 คน ยอดเสียชีวิตรวม 454,623 คน อัตราตาย 2.8%, ฝรั่งเศส ติดเพิ่ม 12,646 คน ยอดรวม 5,621,696 คน ตายเพิ่ม 144 คน ยอดเสียชีวิตรวม 109,023 คน อัตราตาย 1.9%, ตุรกี ติดเพิ่ม 8,738 คน รวม 5,212,123 คน ตายเพิ่ม 166 คน ยอดเสียชีวิตรวม 46,787 คน อัตราตาย 0.9%

อันดับ 6-10 เป็น รัสเซีย สหราชอาณาจักร อิตาลี เยอรมัน และสเปน ติดกันหลักพัน, แถบอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างอาร์เจนติน่า โคลอมเบีย ชิลี บาห์เรน โบลิเวีย รวมถึงฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เนปาล และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น ส่วนเนเธอร์แลนด์ แคนาดา บังคลาเทศ ญี่ปุ่น แนวโน้มลดลงต่อเนื่อง แต่ยังเป็นหลักพันเช่นเดิม, ตอนนี้มาเลเซียติดเชื้อเพิ่มสูงถึง 7,478 คน ตายเพิ่ม 63 คน ยังเป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง, แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็มีการติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่อยู่หลักร้อย ยกเว้นคาซักสถาน ยูเครน เบลารุส และจอร์เจีย ที่ยังหลักพัน, แถบตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่ยังติดเพิ่มหลักร้อยถึงหลักพัน อิหร่านเกินหมื่นมานิดหน่อย, เกาหลีใต้ ไต้หวัน เวียดนาม และกัมพูชา ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน ออสเตรเลีย และสิงคโปร์ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ฮ่องกงติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ

…ภาพรวมของโลก จำนวนการติดเชื้อใหม่ลดลงเหลือราวห้าแสนกว่าต่อวัน จากเดิมที่เคยพีคไปถึงแปดแสนกว่าต่อวัน ลดลงประมาณ 30% นอกจากนี้จำนวนการเสียชีวิตต่อวันก็ลดลงมาเช่นกัน เฉลี่ยแล้วลดลงประมาณ 15%

แต่ที่ต้องพึงระวังคือ จากระลอกก่อนมาถึงระลอกนี้ มีช่วงคงที่อยู่ไม่นานนัก คือราว 4 สัปดาห์ จึงต้องจับตาดูว่าไวรัสกลายพันธุ์ตัวใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์อินเดีย B.1.617 (1,2,3) แอฟริกาใต้ (B.1.351) บราซิล (P.1) หรือแม้แต่สายพันธุ์แคลิฟอร์เนีย (B.1.427/429) นั้น จะมีส่วนในการทำให้เกิดระลอกสี่ของโลกหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์อินเดีย ที่มีข่าวจากอังกฤษว่ามีความสามารถในการแพร่ไวกว่าสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) ถึง 50% แต่อย่างไรเสียก็คงต้องรอผลการวิจัยออกมาอย่างเป็นทางการยืนยันอีกครั้ง

สำหรับไทยเรานั้น การระบาดยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ที่น่ากังวลคือจำนวนการเสียชีวิตก็เพิ่งทำสถิติ new high 41 คนไปเมื่อวันก่อน ด้วยสถานการณ์จำนวนการติดเชื้อหลายพันต่อวัน และมีจำนวนผู้ติดเชื้อ active case ในระบบราว 45,000 คน หากเทียบกับสถิติต่างประเทศ ก็พอทำนายได้ว่าจำนวนการติดเชื้อต่อวันจะอยู่ทีสองหลักเช่นนี้ไปอย่างต่อเนื่อง

เรื่องสำคัญที่ต้องตระหนักไว้ คือ หากจำนวน active case มากขึ้นจนใกล้แสนหรือเกินแสน จำนวนการเสียชีวิตจะเพิ่มเป็นหลักร้อยได้ คาดว่ามีโอกาสเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายมิถุนายน หากการระบาดยังมีจำนวนมากเช่นนี้

สิ่งที่เราควรทำคือ

หนึ่ง เร่งขยายศักยภาพ และดำเนินการตรวจคัดกรองโรคให้ครอบคลุม ต่อเนื่อง

สอง เร่งหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง และปลอดภัย เข้ามาในประเทศอย่างหลากหลาย และมีปริมาณมากเพียงพอสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัคซีนประเภท mRNA ที่มีข้อมูลชัดเจนต่อเรื่องสายพันธุ์กลายพันธุ์ และการใช้ได้ในแทบทุกกลุ่มอายุ

สาม ควรพิจารณาทำ regional or provincial lockdown ระยะสั้น เพื่อตัดวงจรการระบาดให้ได้

สิ่งที่ต้องระวังจากบทเรียนต่างประเทศคือ ปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดในสถานพยาบาลหรือสถานบริการที่ดูแลหรือให้บริการคนจำนวนมาก, ปัญหาการ burnout, และปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เกิดจากการไม่ตัดวงจรการระบาด และทำให้ต้องเผชิญการระบาดยาวนานเกินไป ขอให้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ด้วยรักและห่วงใย”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img