วันอาทิตย์, มิถุนายน 16, 2024
หน้าแรกHighlight“กกต.”เผยพบ“ผู้สมัครสว.”เป็นกลุ่มก้อน จับตาเข้มหวั่นฮั้ว-จองเก้าอี้ประธานวุฒิฯ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กกต.”เผยพบ“ผู้สมัครสว.”เป็นกลุ่มก้อน จับตาเข้มหวั่นฮั้ว-จองเก้าอี้ประธานวุฒิฯ

กกต. ชี้แจงผู้แทนสถานทูต ปมจัดเลือก สว. ผยสมัครสว.วันสุดท้ายคึกคัก พบสมัครเป็นกลุ่มก้อน จับตาเข้มหวั่นฮั้ว การเมืองเอี่ยวจองเก้าอี้ประธาน

เมื่อวันที่ 24 พ.ค.67 ที่โรงแรมอัศวิน เขตหลักสี่ กทม. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จัดประชุมชี้แจง เรื่องการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (สว.) แก่ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ และองค์กรระหว่างประเทศประจำประเทศไทย โดยมีนายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. เป็นประธานในการประชุมชี้แจง และนายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ร่วมประชุมชี้แจง

นายแสวง กล่าวว่า วันนี้เป็นการประชุมชี้แจงผู้แทนสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ และองค์กรระหว่างประเทศประจำประเทศไทย ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเพื่อให้ทราบว่า การดำเนินการจัดเรื่องสวเป็นไปด้วยความโปร่งใส ซึ่งเป็นการชี้แจงตามปกติอยู่แล้ว อีกทั้ง ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุล สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ และองค์กรระหว่างประเทศประจำประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยก็ทราบถึงควาทศิวิไลย์ของเราอยู่แล้ว แต่เรื่องการเลือกสว.อาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย และทูตด้วย เพราะมีความสลับซับซ้อน จึงถือโอกาสในการชี้แจงทำความเข้าใจว่ากระบวนการได้มาซึ่งสว.ของไทยมีความโปร่งใสอย่างไร

นายแสวง กล่าวต่อว่า สำหรับสถานการณ์ การรับสมัครสว. ซึ่งวันนี้เป็นวันสุดท้าย ได้รับรายงานจากผอ. สำนักงาน กกต. ในแต่ละจังหวัด การสมัครวันนี้ (24 พ.ค.) เป็นวันที่คึกคักมากที่สุดในช่วง 5 วันที่ผ่านมา แต่ยังไม่ทราบยอดผู้สมัครทั้งหมดจำนวนเท่าไหร่ ยืนยันภาพรวมการสมัครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และระบบสามารถรองรับหากมีผู้มาสมัครจำนวนจำนวนมาก ทั้งนี้หากผู้สมัครไปถึงสถานที่รับสมัครก่อนเวลาปิด รับสมัคร 16.30 น. รับสมัครให้กับทุกคนจนเสร็จสิ้น

ทั้งนี้ แม้จะสมัครไม่ครบทุกกลุ่ม ในระดับอำเภอ กฎหมายก็รองรับไว้ให้สามารถเดินหน้ากระบวนการเลือกได้ หรือในอำเภอไหนไม่มีผู้สมัครเลยก็ไม่ต้องดำเนินการเลือกในอำเภอนั้น โดยไม่กระทบกับการเลือก ของกลุ่มหรืออำเภออื่น

อย่างไรก็ตาม มีบางพื้นที่พบว่ามีการไปสมัครเป็นกลุ่มก้อน แต่การสมัครเช่นนั้นไม่ได้ชี้ชัดว่าเป็นความผิด ก่อนที่จะวินิจฉัยถูกหรือผิดจะต้องดูพฤติกรรมว่ามีการกระทำอันอันเป็นความผิดหรือไม่ ซึ่ง กกต.มีข้อมูลรายงานเรื่องการสมัครเป็นกลุ่ม แต่ไม่ได้ชี้ชัดว่าผู้สมัครดังกล่าวเป็นการฮั้ว การเลือกหรือไม่ และกกต.ต้องจับตาเป็นพิเศษต่อบุคคลกลุ่มดังกล่าว ว่ามีการทำที่เข้าข่ายการฮั้ว การให้คะแนนกัน หรือมีพฤติกรรมอย่างไร

“จะต้องพิจารณาพิจารณาพฤติกรรมจากวันรับสมัคร ซึ่ง กกต. มีเจ้าหน้าที่ติดตามในแต่ละพื้นที่อยู่แล้วว่า เมื่อผู้สมัครได้สมัครแล้วยังคงอยู่ในพื้นที่หรือมีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งคนที่จะติดต่อกันคือผู้สมัครกับผู้สมัคร มั่นใจว่ากกต. สามารถดูแลเรื่องนี้ได้ ขณะเดียวกันชี้ว่าประชาชนและสื่อมวลชนก็ต้องมีมีส่วนร่วมติดตามจับตาด้วยหากพบว่ามีกลุ่มใดหรือคณะใดมีพฤติกรรมดังกล่าวสามารถแจ้ง กกต. เพื่อช่วยให้การเลือกเป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรม” นายแสวง กล่าว

เมื่อถามถึงขณะนี้มีกระแสข่าวว่ามีพรรคการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องรวมถึงมีการวางตัวบุคคลบางคนเป็นประธานวุฒิสภา นายแสวง กล่าวว่า ตนก็ฟังจากข่าว แต่กฎหมายห้ามพรรคการเมือง สมาชิกพรรคการเมือง เข้ามาช่วยผู้สมัคร และผู้สมัครต้องไม่ยินยอมให้พรรคการเมืองเข้ามาช่วยเนื่องจากขัดต่อกฎหมาย ซึ่งจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์แสดงความเห็นความ กกต. ได้ติดตามรับฟัง.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img