วันจันทร์, มิถุนายน 17, 2024
หน้าแรกHighlight“ชลน่าน”ลั่นไม่มีใครมาดิวถอดชื่อรมต. ออกจากบัญชีรายชื่อซักฟอก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ชลน่าน”ลั่นไม่มีใครมาดิวถอดชื่อรมต. ออกจากบัญชีรายชื่อซักฟอก


ชลน่าน’ยืนยันไม่มีใครมาดิวถอดรมต.ออกจากบัญชีรายชื่อซักฟอก มีการทำงานเป็นทีมตัดสินใจคนเดียวไม่ได้ เผยไม่เพิ่มชื่อ 2 รมต. ‘กนกวรรณ-นิพนธ์’


เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 65 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการวางผู้อภิปรายในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 ที่จะยื่นญัตติต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ ว่า จนถึงตอนนี้ตนยังไม่มีการติดต่อขอเอาชื่อรัฐมนตรีคนนี้ออกจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือข้อมูลการซักฟอกรัฐมนตรี ส่วนคนอื่นตนไม่ทราบ เราทำงานกันเป็นทีม ไม่ได้มีใครคนใดคนหนึ่งตัดสิน ซึ่งตอนนี้ในส่วนของรายชื่อรัฐมนตรีที่จะถูกอภิปรายไม่วางใจมีแต่คนจะให้เพิ่มชื่อเข้ามา แต่เราดูแล้วหลักฐานข้อมูลไม่ได้แน่นขนาดนั้น อย่างไรก็ตามสำหรับข้อมูลในการอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่ที่ตัวผู้อภิปราย ซึ่งในญัตติจะเป็นกล่าวหาแบบรวมๆ เช่น ปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยทุจริต กระทำฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรม แต่ รายละเอียดในประเด็นที่กล่าวหาอยู่ที่ตัวผู้อภิปราย ฉะนั้นเราไม่ได้ห่วงถึงเรื่องการล้วงข้อมูลเท่าไหร่ ถ้าตัวผู้อภิปรายไม่ปล่อยเองก็ไม่มีใครปล่อย


นพ.ชลน่าน กล่าวว่า อย่างไรก็ตามพรรคเพื่อไทยเราเน้นทุกกรอบที่เราได้กำหนดไว้ แต่ในแต่ละคนจะเจาะลึกในแต่ละประเด็นไป ส่วนตนจะเป็นคนเปิดญัตติพูดภาพกว้างชี้ให้เห็นว่า เรากล่าวหาเขาด้วยเรื่องอะไร ซึ่งอาจจะมีการอภิปรายประกอบเจาะลึกหรือในบางเรื่องบางประเด็นที่จำเป็นต้องอภิปรายก็จะอภิปรายไปเลย

ส่วนจะเพิ่มรายชื่อนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ และรองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย (ภท.) กรณีออกโฉนดที่ดินในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และนายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กรณีการไม่อนุมัติเบิกจ่ายเงินค่าซ่อมรถบำรุงทางอเนกประสงค์ให้แก่บริษัท เอกชน ในสมัยดำรงตำแหน่งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลา ที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดด้วยหรือไม่ นั้น หลักระหว่างอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ ถ้าอะไรที่อยู่ในหน้าที่ของแต่ละฝ่ายแล้วเราจะไม่ก้าวล่วงซึ่งกันและกัน เช่น ถ้าเป็นคดีที่อยู่ในศาลอยู่ในกระบวนการยุติธรรมแล้ว

โดยหลักการแบ่งแยกอำนาจแล้วเราจะไม่ก้าวล่วงเข้าไป อย่างป.ป.ช. ก็ถือเป็นกึ่งยุติธรรม ถ้าเราตีความว่านี่ก็อยู่ในกระบวนการ ยุติธรรมแล้วเราก็ไม่ควรจะก้าวล่วง และคำว่าไม่ควรคือเป็นหลักการในการแบ่งแยกการปกครอง ซึ่งถ้าอยู่ในกระบวนการยุติธรรมแล้วก็ปล่อยให้กระบวนการยุติธรรม ดำเนินการไป นี่ก็เป็นหลักที่เรายึด ถามว่ารัฐมนตรีที่ถูกป.ป.ช.ชี้ขึ้นศาลไปแล้วจะนำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ โดยหลักแล้วไม่ แต่สามารถนำข้อมูลไปอภิปราย ตัวคนที่กำกับดูแลเขาได้ ฐานปล่อยปละละเลยและไม่ดำเนินการอะไร ปล่อยให้มีลักษณะที่เกิดขึ้น อันนี้ได้ ซึ่งเราจะไม่อภิปรายผู้นั่นโดยตรง เช่น อภิปรายนายกฯได้ แต่ตัวรัฐมนตรีที่ถูกชี้แล้วไม่ได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img